Saturday, January 25, 2014

เภสัชกรรมไทย คณาเภสัช (จุลพิกัด - พิกัด 4 สิ่ง)

เภสัชกรรมไทย
คณาเภสัช (จุลพิกัด-พิกัด 4 สิ่ง)




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย

คณาเภสัช (จุลพิกัด - พิกัด 4 สิ่ง)

คณาเภสัช คือ การจัดหมวดหมู่ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่าง เป็นการศึกษาให้รู้จักพิกัดยา เพราะตัวยาตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไปนำมารวมกัน สามารถเรียกเป็นชื่อเดียว เรียกเป็นคำตรงตัวยา และเรียกเป็นคำศัพท์ได้ การจัดคณาเภสัชนี้ หากได้รับการรับรองให้เป็นตำรา เพื่อการศึกษาองคนรุ่นหลังจะต้องมีการประชุมเพื่อตั้งชื่อใหม่ ใช้เรียกชื่อหมู่ยานั้นๆ เป็นอย่างเดียวกัน ตามคำศัพท์หรือคำตรงต่อไป

การจัดหมวดหมู่ตัวยา เป็นกลุ่ม เป็นพวก ก็เพื่อความสะดวกแก่การจดจำ หรือเขียนตำรา ที่เรียกว่า “พิกัดยา” คือ การจำกัด หมายถึง “จำกัดจำนวน” ซึ่งจะเป็นจำนวนของสิ่งใดก็ตาม ที่ได้จำกัดจำนวนไว้แล้วจะเพิ่มหรือจะลดจำนวนที่จำกัดของสิ่งของนั้นไม่ได้ ในจำนวนที่จำกัดไว้ดังนี้ จึงสมมุตินามเรียกว่า พิกัด ถ้าจะนำไปใช้จำกัดสิ่งใด ก็เติมนามของสิ่งนั้นเข้าข้างท้ายคำว่าพิกัด เช่น พิกัดยา พิกัดอายุ พิกัดเดือน และพิกัดสมุฏฐาน เป็นต้น

สำหรับในพิกัดยาต่างๆ นั้น ตัวยาแต่ละสิ่งในพิกัดเดียวกัน ยังได้จำกัดส่วนหรือน้ำหนักของตัวยาไว้เท่า ๆ กัน เว้นแต่ในหมวดมหาพิกัด ซึ่งจำกัดส่วนของตัวยาไว้ไม่เท่ากัน แต่ก็อยู่ในขอบเขตของจำนวนที่ได้จำกัดไว้ และในการที่จะใช้น้ำหนักของยาที่คิดเป็นส่วนนี้ ถ้าจะทำเป็นยาต้มใช้น้ำหนักส่วนละ 1 บาท ถ้าจะทำเป็นผงใช้น้ำหนักส่วนละ 1 สลึง ถ้าจะทำเป็นยาดองใช้น้ำหนัก ส่วนละ 1 เฟื้อง และถ้าจะทำเป็นยาแทรกก็ให้แทรกกึ่งส่วน

การจัดตั้งพิกัดยาขึ้นมานั้น ก็เพื่อสะดวกในการจดจำและเขียนตำรา ตลอดถึงความสะดวกในการปรุงยาและการที่จัดตั้งเป็นพิกัดแต่ละอย่างนั้น ก็มิได้ตั้งขึ้นตามความพอใจ แต่ผู้ที่จัดตั้งยาแต่แรกนั้น จะต้องมีหลักในการพิจารณา โดยอาศัยหลักดังนี้

1.รสยาจะต้องไม่ขัดกัน
2.จะต้องเสมอหรือคล้ายคลึงกัน


ด้วยสาเหตุสองประการดังกล่าวมานี้ จึงจะรวมตัวยาเข้าเป็นพิกัดเดียวกันได้ พิกัดยาต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นมานั้น มีเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะให้สะดวก จึงได้ตั้งนามขึ้นมาใช้เรียกพิกัดยาแต่ละอย่าง เป็นชื่อตรงบ้าง เรียกชื่อเป็นศัพท์บาลีบ้าง ในคำศัพท์บาลีนั้น ถ้าแปลออกเป็นภาษาไทยแล้ว ก็จะได้ใจความไปตามจำนวน และสรรพคุณของพิกัดยานั้น

พิกัดยา ได้กำหนดแบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ

จุลพิกัด หมายถึง การจำกัดจำนวนตัวยาน้อยชนิด โดยมากเป็นตัวยาที่มีชื่อเรียกอย่างเดียวกัน แต่จะมีข้อแตกต่างจากถิ่นที่เกิด ต่างกันที่สี ต่างกันที่ชนิด ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่รส เป็นต้น
พิกัด หมายถึง การจำกัดจำนวนตัวยาตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกันจะเป็นคำตรงหรือคำศัพท์ โดยที่ตัวยาที่นำมารวมกัน ต้องใช้น้ำหนักเสมอภาค คือ ขนาดน้ำหนักเท่ากัน
มหาพิกัด หมายถึง การจำกัดจำนวนตัวยาหลายสิ่ง รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกัน แต่ตัวยาแต่ละอย่างในมหาพิกัดมีน้ำหนักไม่เท่ากันเพราะเหตุว่ามหาพิกัดนี้ ท่านสงเคราะห์เอาไปแก้ตามสมุฏฐานต่างๆ คือ ใช้แก้ในกองฤดู กองธาตุกำเริบ หย่อน และพิการ โรคแทรกโรคตาม

จุลพิกัด
จุลพิกัด คือ จำกัดตัวยาน้อยอย่าง หรือพิกัดที่เรียกชื่อตรงตามตัวยา มักจะเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน หรือส่วนมากมีตัวยาเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่เป็นตัวยาชนิดเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ต่างกันที่สี ต่างกันที่รส ต่างกันที่ชนิด (เพศผู้ – เพศเมีย) ต่างกันจากถิ่นที่เกิด ตัวอย่าง เช่น

พวกที่ต่างกันที่ขนาด
1) กระพังโหมทั้ง 2  คือ กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่
2) ข่าทั้ง 2                 คือ ข่าเล็ก ข่าใหญ่
3) ตับเต่าทั้ง 2          คือ ตับเต่าน้อย ตับเต่าใหญ่
4) เปล้าทั้ง 2             คือ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่
5) เร่วทั้ง 2                คือ เร่วน้อย เร่วใหญ่
6) ส้มกุ้งทั้ง 2           คือ ส้มกุ้งน้อย ส้มต้มกุ้งใหญ่

กระพังโหมน้อย

 กระพังโหมใหญ่

ข่าเล็ก

 ข่าเล็ก

 ข่าใหญ่

 ตับเต่าน้อย

 ตับเต่าใหญ่

 เปล้าน้อย




 ส้มกุ้งน้อย

 ส้มกุ้งใหญ่

--------------------------------------------------

พวกที่ต่างกันที่สี
1) การบูรทั้ง 2          คือ การบูรดำ การบูรขาว
2) กะเพราทั้ง 2        คือ กะเพราแดง กะเพราขาว
3) กระดูกไก่ทั้ง 2     คือ กระดูกไก่ดำ กระดูกไก่ขาว
4) กระวานทั้ง 2        คือ กระวานดำ กระวานขาว
5) หัวกระดาดทั้ง 2   คือ หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว
6) ต้นก้างปลาทั้ง 2  คือ ต้นก้างปลาแดง ต้นก้างปลาขาว
7) กำมะถันทั้ง 2       คือ กำมะถันแดง กำมะถันเหลือง
8) ขี้กาทั้ง 2              คือ ขี้กาแดง ขี้กาขาว
9) ขอบชะนางทั้ง 2  คือ ขอบชะนางแดง ขอบชะนางขาว
10) แคทั้ง 2              คือ แคแดง แคขาว
11) จันทน์ทั้ง 2         คือ จันทน์แดง จันทน์ขาว
12) เจตมูลเพลิงทั้ง 2 คือ เจตมูลเพลิงแง เจตมูลเพลิงขาว
13) เทียนทั้ง 2          คือ เทียนแดง เทียนขาว
14) บัวหลวงทั้ง 2      คือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว
15) ผักเป็ดทั้ง 2        คือ ผักเป็ดแดง ผักเป็นขาว
16) ผักแพวทั้ง 2       คือ ผักแพวแดง ผักแพวขาว
17) ฝ้ายทั้ง 2             คือ ฝ้ายแดง ฝ้ายขาว
18) พริกไทยทั้ง 2     คือ พริกไทยดำ พริกไทยขาว (ล่อน)
19) เถามวกทั้ง 2      คือ เถามวกแดง เถามวกขาว
20) ละหุ่งทั้ง 2           คือ ละหุ่งแดง ละหุ่งขาว
21) สัตตบงกชทั้ง 2  คือ สัตตบงกชแดง สัตตบงกชขาว
22) หางไหลทั้ง 2      คือ หางไหลแดง หางไหลขาว



การบูรทั้ง 2

กระเพราแดง

กระเพราขาว

กระดูกไก่่ดำ

กระดูกไก่ขาว

กระวานดำ

กระวานขาว

ห้วกระดาดแดง

หัวกระดาดขาว

ก้างปลาแดง

ก้างปลาขาว

กำมะถันแดง

กำมะถันเหลือง


ขี้กาขาว




แคแดง

แคขาว

แก่นจันทน์แดง



เจตมูเพลิงแดง



เทียนแดง

เทียนขาว

บัวหลวงแดง

บัวหลวงขาว



ผักเป็ดขาว

ผักแพวแดง

ผักแพวขาว

ฝ้ายแดง

ฝ้ายขาว

พริกไทยดำ

พริกไทยขาว


ละหุ่งแดง

ละหุ่งขาว

สัตตบงกชแดง

สัตตบงกชขาว

หางไหลแดง

หางไหลขาว
-------------------------------------------------

พวกที่ต่างกันที่รส
1) มะขามทั้ง 2          คือ มะขามเปรี้ยว มะขามหวาน
2) มะขามเทศ 2        คือ มะขามเทศฝาด มะขามเทศมัน
3) มะปรางทั้ง 2         คือ มะปรางเปรี้ยว มะปรางหวาน
4) มะเฟืองทั้ง 2         คือ มะเฟืองเปรี้ยว มะเฟืองหวาน




มะขามทั้ง 2


มะขามเทศทั้ง 2

มะปรางทั้ง 2


 มะเฟืองทั้ง 2

-------------------------------------------------

พวกที่ต่างชนิดกัน (เพศผู้ – เพศเมีย)
1) กระพังโหมทั้ง 2    คือ กระพังโหมตัวผู้ กระพังโหมตัวเมีย
2) เกลือทั้ง 2             คือ เกลือตัวผู้ เกลือตัวเมีย
3) ตำแยทั้ง 2             คือ ตำแยตัวผู้ ตำแยตัวเมีย
4) เบี้ยทั้ง 2                คือ เบี้ยตัวผู้ เบี้ยตัวเมีย
5) ผักปอดทั้ง 2          คือ ผักปอดตัวผู้ ผักปอดตัวเมีย
6) มะยมทั้ง 2             คือ มะยมตัวผู้ มะยมตัวเมีย
7) หมากทั้ง 2             คือ หมากผู้ หมากเมีย
8) ศิลายอนทั้ง 2        คือ ศิลายอนตัวผู้ ศิลายอนตัวเมีย



กระพังโหมตัวผู้

 กระพังโหมตัวเมีย




ตำแยตัวเมีย

 หอยเบี้ยผู้

หอยเบี้ยเมีย

 ผักปอดตัวผู้

ผักปอดตัวเมีย

 มะยมตัวผู้ไม่ติดผล

มะยมตัวเมีย

หมากผู้ หรือหมากผู้หมากเมีย

 หมากผู้ 

 หมากเมีย

(เรียกหมากผู้หมากเมีย เพราะการผสมพันธุ์ขาย)



ศิลายอนทั้ง 2 

-------------------------------------------------

พวกที่ต่างกันที่ถิ่นที่เกิด
1) กระท้อนทั้ง 2        คือ กระท้อนบ้าน กระท้อนป่า
2) กะทือทั้ง 2            คือ กะทือบ้าน กะทือป่า
3) หัวข้าวเย็นทั้ง 2     คือ หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้
4) ขี้เหล็กทั้ง 2           คือ ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กป่า
5) เขาวัวทั้ง 2            คือ เขาวัวบ้าน เขาวัวป่า
6) ชะมดทั้ง 2             คือ ชะมดเช็ด ชะมดเชียง
7) ชะเอมทั้ง 2            คือ ชะเอมเทศ ชะเอมไทย
8) ชำมะเรียงทั้ง 2       คือ ชำมะเรียงบ้าน ชำมะเรียงป่า
9) ชุมเห็ดทั้ง 2            คือ ชุมเห็ดเทศ ชุมเห็ดไทย
10) หญ้าเกล็ดหอยทั้ง2 คือหญ้าเกล็ดหอยเล็ก หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
11) ดีเกลือทั้ง 2           คือ ดีเกลือไทย ดีเกลือฝรั่ง
12) ปรงทั้ง 2                คือ ปรงบ้าน ปรงป่า
13) ประยงค์ทั้ง 2         คือ ประยงค์บ้าน ประยงค์ป่า
14) ผักหวานทั้ง 2        คือ ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า
15) มะระทั้ง 2              คือ มะระขี้นก มะระจีน
16) ยอทั้ง 2                 คือ ยอบ้าน ยอป่า
17) สลอดทั้ง 2            คือ สลอดบก สลอดน้ำ
18) แสมทั้ง 2               คือ แสมสาร แสมทะเล
19) สะเดาทั้ง 2            คือ สะเดาบ้าน สะเดาป่า
20) สีเสียดทั้ง 2           คือ สีเสียดแขก สีเสียดไทย
21) หัศคุณทั้ง 2           คือ ทัศคุณเทศ หัศคุณไทย
22) อบเชยทั้ง 2           คือ อบเชยเทศ อบเชยไทย



กระท้อนบ้าน


กะทือบ้าน

กระทือป่า



ขี้เหล็กบ้าน

ขี้เหล็กป่า

วัวบ้าน

วัวป่า






ชำมะเรียงบ้าน


ชำมะเรียงป่า


ชุมเห็ดไทย


หญ้าเกล็ดหอยใหญ่




ปรงบ้าน

ปรงป่า

ประยงค์บ้าน


ผักหวานบ้าน

ผักหวานป่า


มะระจีน

 ยอบ้าน

 ยอป่า

 สลอดบก


 สลอดน้ำ

 แสมสาร

แสมทะเล

 สะเดาบ้าน





 สีเสียดเทศ

สีเสียดไทย










----------------------------------------------
พิกัดยา 2 สิ่ง (มี 2 พิกัด)

1) พิกัดทเวคันธา (ทเวสุคนธ์) คือ จำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอม 2 อย่างคือ

1.รากบุนนาค ขับลมในลำไส้
2.รากมะซาง   แก้โลหิต แก้กำเดา


รากบุนนาค



รากมะซาง
--------------------------------------------------

2) พิกัดทเวติคันธา คือ จำกัดจำนวนตัวยา
ที่มีกลิ่นหอม 3 อย่างในยา 2 สิ่ง คือ
1. ดอกบุนนาค บำรุงโลหิตแก้กลิ่นเหม็น
สาบสางในร่างกาย
    แก่นบุนนาค แก้รัตตะปิตตะโรค
    รากบุนนาค  ขับลมในลำไส้



 ดอกบุนนาค





--------------------------------------------------

2. ดอกมะซาง ทำใจให้ชุ่มชื่นชูกำลัง
    แก่นมะซาง แก้คุดทะราด แก้เสมหะ 
แก้ไข้สัมประชวร
    รากมะซาง  แก้โลหิต แก้กำเดา



ดอกมะซาง






 
--------------------------------------------------------------

พิกัดยา 3 สิ่ง (มี 30 พิกัด)


1) พิกัดตรีผลา คือ จำกัดจำนวนผลไม้ 3 อย่าง คือ
  1.  ลูกสมอพิเภก 
  2.  ลูกสมอไทย 
  3.  ลูกมะขามป้อม
 ลูกสมอพิเภก

 ลูกสมอไทย

ลูกมะขามป้อม

สรรพคุณ แก้ปิตตะ (ดี) แก้วาตะ (ลม) 
แก้เสมหะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ 
และกองสมุฏฐาน

--------------------------------------------------


2) พิกัดตรีกฏุก คือ จำกัดจำนวนตัวยา
ที่มีรสเผ็ดร้อน 3 อย่าง คือ
  1.  เหง้าขิงแห้ง 
  2.  เมล็ดพริกไทย 
  3.  ดอกดีปลี

เหง้าขิงแห้ง

 เมล็ดพริกไทย

 ดอกดีปลี

สรรพคุณ แก้วาตะ (ลม) แก้เสมหะ 
แก้ปิตตะ (ดี) ในกองธาตุ ฤดู อายุ 
และกองสมุฏฐาน

--------------------------------------------------


3) พิกัดตรีสาร คือ จำนวนตัวยาที่ให้คุณ
ในฤดูหนาว 3 อย่าง คือ
  1. รากเจตมูลเพลิง 
  2. เถาสะค้าน 
  3. รากช้าพลู
รากเจตมูลเพลิงแดง

เถาสะค้าน

รากช้าพลู

สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ปิตตะ(ดี) 
แก้วาตะ (ลม) ในกองธาตุ ฤดู อายุ 
และกองสมุฏฐาน

--------------------------------------------------

4) พิกัดตรีสุคนธ์ คือ จำนวนตัวยา
มีกลิ่นหอม 3 อย่าง คือ
  1. ใบกระวาน 
  2. รากอบเชยเทศ 
  3. รากพิมเสนต้น

ใบกระวาน

รากอบเชยเทศ

รากพิมเสนต้น

สรรพคุณ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้เซื่องซึม 
แก้ไข้จุกเสียด แก้ริดสีดวง

--------------------------------------------------


5) พิกัดตรีทิพรส คือ จำนวนตัวยารสดี 
หรือรสเลิศ 3 อย่าง คือ
  1. โกฐกระดูก 
  2. กระลำพัก 
  3. ขอนดอก 
โกฐกระดูก

 กระลำพัก

 ขอนดอก

สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด และหัวใจ 
บำรุงกระดูก บำรุงครรภ์รักษา ทำให้ชุ่มชื่น

-------------------------------------------------

6) พิกัดตรีสมอ คือ จำนวนสมอ 3 อย่าง คือ
  1. ลูกสมอไทย 
  2. ลูกสมอเทศ     
  3. ลูกสมอพิเภก
 ลูกสมอไทย

 ลูกสมอเทศ

ลูกสมอพิเภก

สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้ไข้ บำรุงธาตุ 
ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง

-------------------------------------------------

7) พิกัดตรีมธุรส คือ จำนวนตัวยา
รสหวาน 3 อย่าง คือ

  1. น้ำตาล 
  2. น้ำผึ้ง 
  3. น้ำมันเนย
 น้ำตาล


 น้ำผึ้ง

น้ำมันเนย

สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้สะอึก 
และแก้ไข้ตรีโทษ ผายธาตุ เจริญอาหาร

--------------------------------------------------

8) พิกัดตรีสินธุรส คือ จำนวนตัวยา
รสน้ำ 3 อย่าง คือ
  1. รากมะตูม 
  2. เทียนขาว     
  3. น้ำตาลกรวด
 รากมะตูม

 เทียนขาว

น้ำตาลกรวด

สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้ 
พิษฝี แก้ดีพิการ แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ

--------------------------------------------------

9) พิกัดตรีญาณรส คือ จำนวนตัวยา
ที่มีรสสำหรับรู้ 3 อย่าง คือ
  1. ไส้หมาก 
  2. รากสะเดา 
  3. เถาบอระเพ็ด
 ไส้หมาก

 รากสะเดา

เถาบอระเพ็ด

สรรพคุณ แก้ไข้ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ 
ขับเสมหะ บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร

--------------------------------------------------

10) พิกัดตรีเพชรสมคุณ คือ จำนวนของ
ตัวยาที่มีคุณเสมอเพชร 3 อย่างคือ
  1. รากว่านหางจระเข้ 
  2. ฝักราชพฤกษ์ 
  3. รงทอง
 รากว่านหางจระเข้

 ฝักราชพฤกษ์

รงทอง

สรรพคุณ แก้ปวดหัว แก้กำเดา ถ่ายเสมหะ 
ถ่ายอุจจาระ แก้โลหิตและน้ำเหลืองเสีย

--------------------------------------------------

11) พิกัดตรีฉินทลมกา คือ จำนวนตัวยา
แก้ธาตุลามกให้ตกไป 3 อย่าง คือ
  1. โกฐน้ำเต้า 
  2. ลูกสมอไทย 
  3. รงทอง
โกฐน้ำเต้า

ลูกสมอไทย

รงทอง

สรรพคุณ ถ่ายท้อง บำรุงธาตุ ขับลม ถ่ายไข้
เพื่อเสมหะ ถ่ายโลหิตและน้ำเหลืองเสีย

-------------------------------------------------

12) พิกัดตรีเกสรเพศ คือ จำนวนของตัวยา
มีรสแห่งเกสร 3 อย่าง คือ
  1. เปลือกฝิ่นต้น 
  2. เกสรบัวหลวงแดง 
  3. เกสรบัวหลวงขาว
เปลือกฝิ่นต้น

 เกสรบัวหลวงแดง

เกสรบัวหลวงขาว

สรรพคุณ คุมธาตุ แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุกำเริบ 
ทำตัวให้เย็น 
แก้คลื่นเหียนอาเจียน


-------------------------------------------------

13) พิกัดตรีเกสรมาศ คือ จำนวนตัวยา
เกสรทอง 3 อย่าง
  1. เปลือกฝิ่นต้น 
  2. เกสรบัวหลวงแดง 
  3. ลูกมะตูมอ่อน
 เปลือกฝิ่นต้น

เกสรบัวหลวงแดง

ลูกมะตูมอ่อน


สรรพคุณ เจริญอาหาร บำรุงธาตุ คุมธาตุ 
บำรุงกำลัง แก้ท้องเดิน


------------------------------------------------

14) พิกัดตรีอมฤต คือ จำนวนตัวยา
ที่ไม่ตาย 3 อย่าง คือ
  1. รากมะกอก 
  2. รากกล้วยตีบ 
  3. รากกระดอม

รากมะกอก
 รากกล้วยตีบ

รากกระดอม

สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ 
ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ 
เจริญอาหาร

------------------------------------------------

15) พิกัดตรีสัตกุลา (รัตตกุลา) 
คือ จำนวนตัวยาที่มีตระกูลสามารถ 3 อย่าง
  1. เทียนดำ 
  2. ลูกผักชีลา 
  3. เหง้าขิงสด

เทียนดำ

ลูกผักชีลา

เหง้าขิงสด


สรรพคุณ บำรุงไฟธาตุ ขับลมในลำไส้ 
แก้อากาศธาตุ 10 ประการ แก้อาเจียน

------------------------------------------------

16) พิกัดตรีทุรวสา คือ จำนวนตัวยา
แก้มันเหลวพิการ 3 อย่าง
  1. เมล็ดโหระพา 
  2. ลูกกระวาน 
  3. ลูกราชดัด
เมล็ดโหระพา

ลูกกระวาน 

ลูกราชดัด


สรรพคุณ แก้บิด บำรุงน้ำดี แก้ลม 
แก้พิษตานซาง

------------------------------------------------

17) พิกัดตรีสุคติสมุฏฐาน คือ จำนวนตัวยา
ทำให้มีความสุขเป็นที่ตั้ง 3 อย่าง คือ
  1. รากมะเดื่อชุมพร 
  2. รากเพกา 
  3. รากแคแดง

 รากมะเดื่อชุมพร


 รากเพกา

รากแคแดง

สรรพคุณ แก้ไข้พิษต่างๆ 
บำรุงไฟธาตุ คุมธาตุ

-------------------------------------------------

18) พิกัดตรีผลสมุฏฐาน คือ จำนวนผลไม้
เป็นที่ตั้ง 3 อย่าง (ที่เกิดแห่งผล 3 อย่าง) คือ
  1. ลูกมะตูม 
  2. ลูกยอ 
  3. ลูกผักชืลา
ลูกมะตูม

ลูกยอ

ลูกผักชีลา

สรรพคุณ แก้สมุฏฐานแห่งตรีโทษ 
ขับลมต่างๆ แก้อาเจียน 
แก้โรคไตพิการ

------------------------------------------------

19) พิกัดตรีเสมหะผล คือ จำนวนตัวยา
ที่มีคุณแก้เสมหะ 3 อย่าง คือ
  1. ลูกช้าพลู 
  2. รากดีปลี 
  3. รากมะกล่ำเครือ
ลูกช้าพลู

รากดีปลี

รากมะกล่ำเครือ


สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้สะอึก 
แก้เส้นอัมพฤกษ์อัมพาต แก้ลม

------------------------------------------------

20) พิกัดตรีปิตตะผล คือ จำนวนผล
แก้ลม 3 อย่าง คือ
  1. รากเจตมูลเพลิง 
  2. รากกะเพรา 
  3. รากผักแพวแดง (บอระเพ็ด)
 รากเจตมูลเพลิง

รากกะเพรา

รากผักแพวแดง

(บอระเพ็ด)

สรรพคุณ แก้จตุกาลเตโช บำรุงธาตุ แก้ลม 
แก้เส้นประสาทพิการ ปวดเมื่อยตามข้อ

------------------------------------------------

21) พิกัดตรีวาตะผล คือ จำนวนผล
แก้ลม 3 อย่าง คือ
  1. ลูกสะค้าน 
  2. รากพริกไทย 
  3. เหง้าข่า
ลูกสะค้าน

 รากพริกไทย

เหง้าข่า

สรรพคุณ แก้กองลม แก้เสมหะ 
แก้แน่นในทรวงอก แก้เลือด บำรุงไฟธาตุ

------------------------------------------------

22) พิกัดตรีอากาศผล คือ จำนวนผล
แก้อากาศธาตุ 3 อย่าง คื
  1. เหง้าขิง 
  2. กระลำพัก 
  3. อบเชยเทศ
เหง้าขิงแห้ง

กระลำพัก

อบเชยเทศ

สรรพคุณ แก้อากาศธาตุ 10 ประการ 
แก้ตรีสมุฏฐาน แก้แน่นในอก 
แก้โลหิตเป็นพิษ แก้ไข้จับ ขับลม ปลูกธาตุไฟ

------------------------------------------------

23) พิกัดตรีธารทิพย์ คือ จำนวนตัวยา
ที่มีรสดังน้ำทิพย์ 3 อย่าง คือ
  1. รากไทรย้อย 
  2. รากราชพฤกษ์ 
  3. รากมะขามเทศ
รากไทรย้อย

รากราชพฤกษ์

รากมะขามเทศ


สรรพคุณ บำรุงน้ำนม แก้กระษัย 
ฆ่าเชื้อคุดทะราด แก้ท้องร่วง

-------------------------------------------------

24) พิกัดตรีพิษจักร คือ 
จำนวนจักรพิษ 3 อย่าง คือ
  1. ลูกผักชีล้อม 
  2. ลูกจันทน์เทศ 
  3. กานพลู

ลูกจันทน์เทศ
กานพลู

สรรพคุณ แก้ลม แก้พิษเลือด บำรุงโลหิต 
แก้ปวดท้อง จุกเสียด

------------------------------------------------

25) พิกัดตรีชาต (ธาตุ) 
คือ
จำนวนวัตถุ 3 อย่าง คือ
  1. ดอกจันทน์ 
  2. กระวาน 
  3. อบเชย
ดอกจันทน์

กระวาน


สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้ลม เสมหะ 
แก้วิงเวียน บำรุงดวงจิต

-----------------------------------------------

26) พิกัดตรีกาฬพิษ คือ 
จำนวนตัวยาแก้พิษตามกาล 3 อย่าง
  1. รากกระเพราแดง 
  2. หัวกระชาย 
  3. เหง้าข่า
รากกระเพราแดง

 หัวกระชาย

เหง้าข่า

สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด 
ขับลม แก้ไข้สันนิบาต แก้เลือดเสีย
-------------------------------------------------


27) พิกัดตรีคันธวาต (กันธวาต) คือ 
จำนวนตัวยามีกลิ่นหอมแก้ลม 3 อย่าง คือ
  1. ลูกเร่วใหญ่ 
  2. ลูกจันทน์เทศ 
  3. ดอกกานพลู
ลูกเร่วใหญ่ 

 ลูกจันทน์

ดอกกานพลู

สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้คลื่นเหียน
อาเจียน แก้ริดสีดวงทั้ง 9 แก้ไอหืด
------------------------------------------------


28) พิกัดตรีผลธาตุ คือ 
จำนวนผลแก้ธาตุ 3 อย่าง คือ
  1. เหง้ากะทือ 
  2. หัวตะไคร้หอม 
  3. เหง้าไพล
เหง้ากะทือ 

 หัวตระไคร้หอม

เหง้าไพล

สรรพคุณ บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้ตัวร้อน 
แก้กำเดา แก้ฟกบวม ปวดเมื่อย

------------------------------------------------


29) พิกัดตรีสันนิบาตผล (ตรีโลหิตะพละ) คือ 
จำนวนผลแก้สันนิบาต 3 อย่างคือ
  1. ผลดีปลื 
  2. รากกะเพรา 
  3. รากพริกไทย
 ผลดีปลี

รากกระเพรา

รากพริกไทย

สรรพคุณ แก้ไข้สันนิบาต แก้ในกองลม 
บำรุงธาตุ แก้ปถวี 20 ประการ

------------------------------------------------

30) พิกัดตรีสุรผล คือ 
จำนวนยามีรสกล้า 3 อย่าง คือ
  1. สมุลแว้ง 
  2. เนื้อไม้ 
  3. เทพทาโร

สมุลแว้ง 

 เนื้อไม้

เทพทาโร

สรรพคุณ แก้ลมสัมประชวร บำรุงธาตุ 
โลหิต แก้ลมสลบ แก้ลมในท้อง 
ทำให้ปวดท้อง จุกเสียดแน่น

-----------------------------------------------------------

พิกัดยา 4 สิ่ง (มี 4 พิกัด)

1) พิกัดจตุกาลธาตุ คือ 
จำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลา 4 อย่าง คือ
  1. หัวว่านน้ำ 
  2. รากเจตมูลเพลิง 
  3. รากแคแตร 
  4. รากนมสวรรค์
หัวว่านน้ำ

 รากแคแตร

รากนมสวรรค์


สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ 
แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้โลหิตในท้อง 
ขับลมในท้อง แก้ไข้

--------------------------------------------------

2) พิกัดจตุทิพยคันธา คือ จำนวนยา
ที่มีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ 4 อย่าง คือ
  1. รากมะกล่ำเครือ 
  2. รากชะเอมเทศ 
  3. ดอกพิกุล 
  4. เหง้าขิงแครง
 รากมะกล่ำเครือ

รากชะเอมเทศ

 ดอกพิกุล

เหง้าขิงแครง


สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ แก้เสมหะ 
แก้ลมปั่นป่วน แก้พรรดึก

--------------------------------------------------

3) พิกัดจตุผลาธิกะ คือ จำนวนผลไม้
ให้คุณ 4 อย่าง คือ
  1. ลูกสมอไทย 
  2. ลูกสมอภิเภก 
  3. ลูกมะขามป้อม 
  4. ลูกสมอเทศ
 
ลูกสมอไทย

 ลูกสมอพิเภก

 ลูกมะขามป้อม

ลูกสมอเทศ

สรรพคุณ ถ่ายไข้ ถ่ายลม แก้โรคตา 
บำรุงธาตุ ผายธาตุ 
รู้ถ่ายรู้ปิดธาตุ

---------------------------------------------------


4) พิกัดจตุวาตะผล คือ จำนวนตัวยา
แก้ลมได้ผล 4 อย่าง คือ
  1. เหง้าขิง 
  2. กระลำพัก 
  3. เปลือกอบเชย 
  4. โกฐหัวบัว
เหง้าขิง
 กระลำพัก

 เปลือกอบเชย

โกฐหัวบัว

สรรพคุณ แก้ไข้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน 
ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมในกองริดสีดวง

-------------------------------------


คณาเภสัช 2 (พิกัดยา 5 -10)


คณาเภสัช 3 (พิกัดพิเศษ – มหาพิกัด)
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/3.html

เวชกรรม เล่ม 1 บทที่ 1 กิจของหมอ 4 ประการ


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 
--------------------------------------------------

อ้างอิง  ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ


Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share 
กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง 
เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทย
ให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน 
และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรค
พึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ 
ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล 
เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนา
ในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

ตรวจทานแล้ว    

                                   









   













No comments:

Post a Comment