Saturday, January 25, 2014

เภสัชกรรมไทย คณาเภสัช (พิกัดพิเศษ-มหาพิกัด)

เภสัชกรรมไทย
คณาเภสัช  
(พิกัดพิเศษ-มหาพิกัด)



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย
คณาเภสัช 
(พิกัดพิเศษ-มหาพิกัด)
     
พิกัดพิเศษ

1) พิกัดโกฐพิเศษ คือ 
กำหนดจำนวนโกฐพิเศษ 3 อย่าง คือ
  1. โกฐกะกลิ้ง
  2. โกฐกักกรา
  3. โกฐน้ำเต้า
1. โกฐกะกลิ้ง

2. โกฐกักกรา

3. โกฐน้ำเต้า

สรรพคุณ แก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ 
แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้ไข้ในกองอติสาร 
ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน ขับระดูร้าย 
แก้ริดสีดวงทวาร 

--------------------------------------------------------------

2) พิกัดเทียนพิเศษ คือ 
กำหนดจำนวนเทียนพิเศษ 3 อย่าง คือ
  1. เทียนลวด หรือ เทียนหลอด
  2. เทียนขม
  3. เทียนแกลบ
1. เทียนลวด หรือเทียนหลอด

2. เทียนขม

3. เทียนแกลบ

สรรพคุณ แก้ลม เสมหะดีละคนกัน แก้พิษโลหิต 
แก้ดีพิการ แก้ลมขึ้นเบื้องสูงทำให้หูอื้อตาลาย 
แก้ไข้ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ลม

---------------------------------------------------

3) พิกัดบัวพิเศษ คือ 
จำกัดจำนวนดอกบัวพิเศษ 6 อย่าง คือ
  1. บัวหลวงแดง
  2. บัวหลวงขาว
  3. บัวสัตตบงกชแดง
  4. บัวสัตตบงกชขาว
  5. บัวเผื่อน
  6. บัวขม
  1. ดอกบัวหลวงแดง
2. ดอกบัวเหลืองขาว

 3. ดอกบัวสัตตบงกชแดง

4. ดอกบัวสัตตบงกชขาว

5. ดอกบัวเผื่อน

6. ดอกบัวขม

สรรพคุณ แก้ไข้อันเกิดแก่ธาตุทั้ง 4 แก้ลม 
เสมหะ โลหิต และบำรุงกำลัง

------------------------------------------------------------

4) พิกัดเกลือพิเศษ คือ 
จำกัดจำนวนเกลือพิเศษ 7 อย่าง คือ
  1. เกลือสมุทร
  2. เกลือสุนจะละ
  3. เกลือสุวสา
  4. เกลือเยาวกาษา
  5. เกลือวิธู
  6. เกลือด่างคลี
  7. เกลือกะตังมูตร

1.      เกลือสมุทร รสเค็ม บำรุงธาตุทั้ง 4 
แก้น้ำดีพิการ แก้โรคท้องมาน
2.      เกลือสุนจะละ  บำรุงน้ำเหลือง
3.      เกลือสุวสา รสเค็ม ระงับเสมหะ 
แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
4.      เกลือเยาวกาษา บำรุงเสมหะ แก้หืด ไอ
5.      เกลือวิธู ช่วยย่อยอาหาร บำรุงน้ำเหลือง
6.      เกลือด่างคลี ชำระล้างลำไส้ แกปัสสาวะพิการ
7.      เกลือกระตังมูตร รสเค็มกร่อย แก้ลม 
แก้ปวดท้อง แก้โลหิต เสมหะ แก้ผอมเหลือง

สรรพคุณ ล้างลำไส้ แก้เสมหะ แก้ปัสสาวะ 
แก้โรคท้องมาน กัดเมือกมันในลำไส้ 
แก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงธาตุทั้ง 4 และแก้ธาตุทั้ง 4

(อ้างอิง ประมวลสรรพคุณเภสัช ภาค 1  
.แพทย์แผนโบราณ วัดโพธิ์ ท่าเตียน กทม.)
==================================

มหาพิกัด

           มหาพิกัด หรือมหาพิกัดยา คือ 
พิกัดใหญ่กว่าพิกัดธรรมดา
โดยเอาตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างมารวมกันเข้า 
เรียกชื่อเดียวกัน แต่น้ำหนักของตัวยา
ในมหาพิกัดหนักสิ่งละไม่เท่ากัน 
หนักมากบ้าง หนักน้อยบ้าง 
ซึ่งสงเคราะห์ไว้แก้ในกองธาตุ กำเริบ หย่อน 
พิการ หรือแก้ในลักษณะโรคแทรก โรคตาม 
แต่ก็อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ 
แบ่งมหาพิกัดได้ดังนี้

มหาพิกัดตรี (ยา 3 สิ่ง)

มหาพิกัดตรีผลา 

ตรีผลาเป็นพิกัดยาในคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) 
ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยา
ในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้ 

1) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้เสมหะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ลูกสมอภิเภก          8 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. ลูกสมอไทย            4 ส่วน   (วาตะ)
  3. ลูกมะขามป้อม      12 ส่วน   (เสมหะ)
2) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ลูกสมอภิเภก         12 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. ลูกสมอไทย             8 ส่วน   (วาตะ)
  3. ลูกมะขามป้อม        4 ส่วน   (เสมหะ)
3) มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ลูกสมอภิเภก           4 ส่วน   (ปิตต)
  2. ลูกสมอไทย           12 ส่วน   (วาตะ)
  3. ลูกมะขามป้อม        8 ส่วน   (เสมหะ)

ตัวยา/น้ำหนัก
              (ส่วน)

 ธาตุ
มหาพิกัดตรีผลา
ลูกสมอพิเภก
(ฤดูร้อน)
ลูกสมอไทย
(ฤดูฝน)
ลูกมะขามป้อม
(ฤดูหนาว)
ปิตตะ / เตโชธาตุ
12
8
4
วาตะ
วาโยธาตุ
4
12
8
เสมหะ
อาโปธาตุ
8
4
12
อุจจาระ
ปถวีธาตุ
มหาพิกัดตรีผลา ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ 
ให้เอาสิ่งละเสมอภาค
         
 1. ลูกสมอพิเภก

 2. ลูกสมอไทย

3. ลูกมะขามป้อม

 ==================================

มหาพิกัดตรีกฏุก 

ตรีกฏุกเป็นพิกัดยาในวสันตฤดู (ฤดูฝน) 
ถ้าจะใช้แก้สมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยา
ในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้ 

1) มหาพิกัดตรีกฏูก ถ้าจะแก้เสมะหะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. เหง้าขิงแห้ง           8 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เมล็ดพริกไทย       4 ส่วน   (วาตะ)
  3. ดอกดีปลี             12 ส่วน   (เสมหะ)
2) มหาพิกัดตรีกฏุก ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. เหง้าขิงแห้ง         12 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เมล็ดพริกไทย       8 ส่วน   (วาตะ)
  3. ดอกดีปลี               4 ส่วน   (เสมหะ)
3) มหาพิกัดตรีกฏุก ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. เหง้าขิงแห้ง         4  ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เมล็ดพริกไทย    12 ส่วน   (วาตะ)
  3. ดอกดีปลี              8 ส่วน   (เสมหะ)

ตัวยา/น้ำหนัก
              (ส่วน)
          ธาตุ
มหาพิกัดตรีกฏุก
เหง้าขิงแห้ง
(ฤดูร้อน)
เมล็ดพริกไทย
(ฤดูฝน)
ดอกดีปลี
(ฤดูหนาว)
ปิตตะ / เตโชธาตุ
12
8
4
วาตะ
วาโยธาตุ
4
12
8
เสมหะ
อาโปธาตุ
8
4
12
อุจจาระ
ปถวีธาตุ
มหาพิกัดตรีกฏุก ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ 
ให้เอาสิ่งละเสมอภาค

1. เหง้าขิงแห้ง

  2. เมล็ดพริกไทย

3. ดอกดีปลี
------------------------------------------------------------

มหาพิกัดตรีสาร

ตรีสารเป็นพิกัดยาในเหมันตฤดู (ฤดูหนาว) 
ถ้าจะใช้แก้ในสมุฏฐานต่างๆ จะใช้ส่วนของตัวยา
ในพิกัดแตกต่างกัน ดังนี้ 


1) มหาพิกัดตรีสาร ถ้าจะแก้เสมหะสมุฎฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง   8 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เถาสะค้าน             4 ส่วน   (วาตะ)
  3. รากช้าพลู            12 ส่วน   (เสมหะ)
2) มหาพิกัดตรีสาร ถ้าจะแก้ปิตตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง   12 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เถาสะค้าน               8 ส่วน   (วาตะ)
  3. รากช้าพลู               4 ส่วน   (เสมหะ)
3) มหาพิกัดตรีสาร ถ้าจะแก้วาตะสมุฏฐาน 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง    4 ส่วน   (ปิตตะ)
  2. เถาสะค้าน            12 ส่วน   (วาตะ) 
  3. รากช้าพลู              8 ส่วน   (เสมหะ)

ตัวยา/น้ำหนัก
             (ส่วน)
          
         ธาตุ
มหาพิกัดตรีสาร
รากเจตมูลเพลิง
(ฤดูร้อน)
เถาสะค้าน
(ฤดูฝน)
รากช้าพลู
(ฤดูหนาว)
ปิตตะ / เตโชธาตุ
12
8
4
วาตะ
วาโยธาตุ
4
12
8
เสมหะ
อาโปธาตุ
8
4
12
อุจจาระ
ปถวีธาตุ
มหาพิกัดตรีสาร ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ 
ให้เอาสิ่งละเสมอภาค


1. รากเจตมูลเพลิง

2. เถาสะค้าน

  3. รากช้าพลู


===================================

มหาพิกัดเบญจ (ยา 5 สิ่ง)
  1.  มหาพิกัดเบญจกูล
  2.  อภิญญาณเบญจกูล 
  3.  ทศเบญจกูล
  4.  โสฬสเบญจกูล
  5.  ทศเบญจขันธ์ 

1. มหาพิกัดเบญจกูล  มีส่วนตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง           4  ส่วน
  2. เถาสะค้าน                     ส่วน
  3. เหง้าขิงแห้ง                10  ส่วน
  4. รากช้าพลู                   12  ส่วน
  5. ดอกดีปลี                     20  ส่วน
สรรพคุณ แก้ธาตุทั้งปวงให้บริบูรณ์


1. รากเจตมูลเพลิง

2. เถาสะค้าน

3. เหง้าขิงแห้ง

  4. รากช้าพลู

5. ดอกดีปลี
  ----------------------------------------------------------

2. อภิญญาณเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้
  1. ใบ ดอก ราก เจตมูลเพลิง      สิ่งละ     4   ส่วน
  2. ใบ ดอก ราก สะค้าน               สิ่งละ     6   ส่วน
  3. ใบ ดอก ราก ขิงแห้ง              สิ่งละ    10  ส่วน
  4. ใบ ดอก ราก ช้าพลู                สิ่งละ    12  ส่วน      
  5. ใบ ดอก ราก ดีปลี                   สิ่งละ    20  ส่วน
1.  ใบ ดอก ราก เจตมูลเพลิง

 2. ใบ ดอก ราก เถาสะค้าน

 3. ใบ ดอก ราก ขิงแห้ง

 4. ใบ ดอก ราก ช้าพลู

5. ใบ ดอก ราก ดีปลี

สรรพคุณ แก้ในกองอภิญญาณธาตุ คือ 
ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง 

-----------------------------------------------------------

3. ทศเบญจกูล มีส่วนตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                        10     ส่วน
  2. เถาสะค้าน                      10     ส่วน
  3. เหง้าขิงแห้ง                   10     ส่วน
  4. รากช้าพลู                      10     ส่วน
  5. รากเจตมูลเพลิง            10     ส่วน
1. ดอกดีปลี

2. เถาสะค้าน

3. เหง้าขิงแห้ง


 4. รากช้าพลู

5. รากเจตมูลเพลิง

สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้งปวง
และสงเคราะห์ไปแก้ในโรคสตรี

------------------------------------------------------------

4. โสฬสเบญจกูล  
สรรพคุณ แก้ในกองธาตุทั้ง 4 และอากาศธาตุ

1) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                16    ส่วน
  2. รากช้าพลู                8    ส่วน
  3. เถาสะค้าน                6    ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง      4    ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง             2    ส่วน
2) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้กองอาโปธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                 2    ส่วน
  2. รากช้าพลู             16    ส่วน
  3. เถาสะค้าน               8    ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง     6    ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง            4    ส่วน
3) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองวาโยธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                 4    ส่วน
  2. รากช้าพลู               2    ส่วน
  3. เถาสะค้าน             16    ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง     8    ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง            6    ส่วน
4) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองเตโชธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                6   ส่วน
  2. รากช้าพลู              4   ส่วน
  3. เถาสะค้าน              2   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง  16   ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง           8   ส่วน
5) โสฬสเบญจกูล ถ้าจะแก้ในกองอากาศธาตุ
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                8   ส่วน
  2. รากช้าพลู              6   ส่วน
  3. เถาสะค้าน              4   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง    2   ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง         16   ส่วน
           รวมกันได้ 36 ส่วนโดยพิกัด 
แก้ในกองธาตุสมุฏฐาน ขอให้พิจารณาดูว่าโรค
จะอยู่ในสมุฏฐานใด แก้ด้วยโสฬสเบญจกูล 
พิกัดใด จึงจะเหมาะแก่การบำบัดโรคนั้น 

ตัวยา /
น้ำหนัก
        (ส่วน)

ธาตุ
โสฬสเบญจกูล
ดอกดีปลี
รากช้าพลู
เถาสะค้าน
รากเจตมูลเพลิง
เหง้าขิงแห้ง
ปถวีธาตุ
16
8
6
4
2
อาโปธาตุ
2
16
8
6
4
วาโยธาตุ
4
2
16
8
6
เตโชธาตุ
6
4
2
16
8
อากาศธาตุ
8
6
4
2
16

1. ดอกดีปลี

   2. รากช้าพลู

3. เถาสะค้าน

4. รากเจตมูลเพลิง

5. เหง้าขิงแห้ง

-----------------------------------------------

5. ทศเบญจขันธ์ 
แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ คือ 
ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง 
ให้ระส่ำระสายในกองธาตุทั้ง 4 
ทำให้อุจจาระมีกลิ่นต่างๆตามธาตุที่พิการ

1) ทศเบญจขันธ์ถ้าจะแก้ในกองปถวีธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี                         5   ส่วน
  2. รากเจตมูลเพลิง             4   ส่วน
  3. เถาสะค้าน                       3   ส่วน
  4. รากช้าพลู                       2   ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง                    1   ส่วน
2) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองเตโชธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง             5   ส่วน
  2. เถาสะค้าน                      4   ส่วน
  3. รากช้าพลู                       3   ส่วน
  4. เหง้าขิงแห้ง                    2   ส่วน
  5. ดอกดีปลี                         1   ส่วน
3) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองวาโยธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. เถาสะค้าน                       5   ส่วน
  2. รากช้าพลู                       4   ส่วน
  3. เหง้าขิงแห้ง                    3   ส่วน
  4. ดอกดีปลี                         2   ส่วน
  5. เจตมูลเพลิง                    1   ส่วน
4) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองอาโปธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. รากช้าพลู                      5   ส่วน
  2. เหง้าขิงแห้ง                   4   ส่วน
  3. ดอกดีปลี                        3   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง            2   ส่วน
  5. เถาสะค้าน                      1   ส่วน 
5) ทศเบญจขันธ์ ถ้าจะแก้ในกองอากาศธาตุ 
มีส่วนและตัวยาดังนี้
  1. เหง้าขิงแห้ง                    5   ส่วน
  2. ดอกดีปลี                         4   ส่วน
  3. รากเจตมูลเพลิง              3   ส่วน
  4. เถาสะค้าน                       2   ส่วน
  5. รากช้าพลู                        1   ส่วน
รวมกันได้  15 ส่วน  โดยพิกัด  
แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ

มหาพิกัดทศเบญจขันธ์ 
แก้ในกองอสุรินธัญญาณธาตุ คือ
ธาตุสำแดงให้รู้ดุจผีสิง ให้ระส่ำระสาย 
ในกองธาตุทั้ง 4 ทำให้มีกลิ่นต่างๆ 
ตามธาตุที่พิการ
                             ปถวี    เตโช   วาโย   อาโป   อากาศ
ดอกดีปลี             5         1        2        3        4
รากเจตมูลเพลิง    4         5        1        2        3
เถาสะค้าน           3         4        5        1        2
รากช้าพลู            2         3        4        5        1
เหง้าขิงแห้ง         1         2        3        4        5
            
ซากศพ  หญ้าเน่า  ข้าวบูด  ปลาเน่า  รวม 15 ส่วน


ตัวยา/น้ำหนัก
                       (ส่วน)
ธาตุ
มหาพิกัดทศขันธ์
ดอกดีปลี
รากเจตมูลเพลิง
เถาสะค้าน
รากช้าพลู
เหง้าขิงแห้ง
ปถวีธาตุ
5
4
3
2
1
เตโชธาตุ
1
5
4
3
2
วาโยธาตุ
2
1
5
4
3
อาโปธาตุ
3
2
1
5
4
อากาศธาตุ
4
3
2
1
5

1. ดอกดีปลี

2. รากเจตมูลเพลิง

3. เถาสะค้าน

 4. รากช้าพลู


5. เหง้าขิงแห้ง

=====================================


มหาพิกัดทั่วไป (ยา 6 สิ่ง)

             มหาพิกัดทั่วไป คือ พิกัดที่กำหนดเอาตัวยา 6 สิ่ง ใช้สำหรับแก้ธาตุกำเริบหย่อนพิการโดยกำหนดตัวยาเป็น 16, 8, 4, 3, 2 และ 1 ตามลำดับ ในทางธาตุจะมีตัวยาระคน (เจือปน) โดยกำหนดน้ำหนักตัวยานี้ใช้ทั่วไปในธาตุทั้ง 4 กอง โดยนำตัวยาในพิกัดตรีผลา ตรีสาร ตรีกฏุกรวมกับตัวยาประจำธาตุจะเป็น 6 ตัวยา มหาพิกัดทั่วไปจึงใช้แก้กองธาตุทั้ง 4 แบ่งออกได้เป็น 4 กอง ได้แก่
  1. แก้เตโชธาตุ   กำเริบ   หย่อน   พิการ
  2. แก้วาโยธาตุ   กำเริบ   หย่อน   พิการ
  3. แก้อาโปธาตุ  กำเริบ   หย่อน   พิการ
  4. แก้ปถวีธาตุ    กำเริบ   หย่อน   พิการ


พิกัดกองเตโชธาตุ 
ประจำสมุฏฐานอัคคี (ธาตุไฟ 4 กอง)

1) แก้เตโชธาตุกำเริบ มีส่วนตัวยาดังนี้
  1. ลูกสมอพิเภก        หนัก      16   ส่วน    
  2. รากเจตมูลเพลิง   หนัก        8   ส่วน
  3. เหง้าขิงแห้ง          หนัก        4   ส่วน
  4. รากช้าพลู             หนัก        3   ส่วน
  5. ดอกดีปลี               หนัก        2   ส่วน
  6. เถาสะค้าน             หนัก        1   ส่วน
2) แก้เตโชธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้
  1. รากเจตมูลเพลิง  หนัก     16   ส่วน
  2. เหง้าขิงแห้ง        หนัก       8   ส่วน
  3. ลูกสมอพิเภก      หนัก       4   ส่วน
  4. เถาสะค้าน          หนัก        3   ส่วน
  5. รากช้าพลู           หนัก       2   ส่วน
  6. ดอกดีปลี            หนัก        1   ส่วน
3) แก้เตโชธาตุพิการ มีตัวยาดังนี้
  1. เหง้าขิงแห้ง       หนัก      16   ส่วน
  2. ลูกสมอพิเภก     หนัก        8   ส่วน
  3. รากเจตมูลเพลิง หนัก       4   ส่วน
  4. ดอกดีปลี            หนัก        3   ส่วน
  5. เถาสะค้าน          หนัก        2   ส่วน
  6. รากช้าพลู          หนัก        1   ส่วน

มหาพิกัดทั่วไป 
แก้ในกองเตโชธาตุ 
กำเริบ  หย่อน  พิการ

ตารางเตโชธาตุ  กองเตโชธาตุ 
พระอาทิตย์สถิตอยู่ในราศี
เมษ, ราศีสิงห์, ราศีธนู
เป็นราศีแห่งเตโช

เตโช

ธาตุ

ตรี

ผลา

ลูกสมอพิเภก

ตรี

สาร

รากเจต

มูล

เพลิง 

ตรี

กฏุก

เหง้า

ขิง

แห้ง

ราก

ช้า

พลู

ดอก

ดี

ปลี

เถา

สะ

ค้าน

 

ฤดู

กำเริบ

16

8

4

3

2

1

ร้อน

หย่อน

4

16

8

2

1

3

ฝน

พิการ

8

4

16

1

3

2

หนาว




1. ลูกสมอพิเภก

2. รากเจตมูลเพลิง

3. เหง้าขิงแห้ง

  4. รากช้าพลู 

5. ดอกดีปลี

6. เถาสะค้าน

-----------------------------------------------------------


พิกัดกองวาโยธาตุ 
ประจำสมุฏฐานวาตะ (ธาตุลม 6 กอง)

1) แก้วาโยธาตุกำเริบ มีตัวยาดังนี้
  1. ลูกสมอไทย        หนัก      16   ส่วน
  2. เถาสะค้าน          หนัก        8   ส่วน
  3. เมล็ดพริกไทย    หนัก       4   ส่วน
  4. ดอกดีปลี             หนัก       3   ส่วน   
  5. รากเจตมูลเพลิง หนัก       2   ส่วน
  6. รากช้าพลู           หนัก       1   ส่วน
  7. เหง้าขิงแห้ง        หนัก    1/2   ส่วน (ใช้ระคนกัน)
2) แก้วาโยธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้
  1. เถาสะค้าน           หนัก    16   ส่วน
  2. เมล็ดพริกไทย    หนัก      8   ส่วน
  3. ลูกสมอไทย        หนัก      4   ส่วน
  4. รากช้าพลู           หนัก      3   ส่วน
  5. ดอกดีปลี             หนัก      2   ส่วน
  6. รากเจตมูลเพลิง หนัก      1   ส่วน
  7. เหง้าขิงแห้ง        หนัก   1/2   ส่วน (ใช้ระคนกัน)
3) แก้วาโยธาตุพิการ มีตัวยาดังนี้
  1. เมล็ดพริกไทย    หนัก    16   ส่วน
  2. ลูกสมอไทย        หนัก      8   ส่วน
  3. เถาสะค้าน          หนัก      4   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง หนัก     3   ส่วน
  5. รากช้าพลู          หนัก      2   ส่วน
  6. ดอกดีปลี            หนัก      1   ส่วน
  7. เหง้าขิงแห้ง       หนัก   1/2   ส่วน (ใช้ระคนกัน)

มหาพิกัดทั่วไป แก้ในกองวาโยธาตุ  
กำเริบ  หย่อน  พิการ 

ตารางวาโยธาตุ  กองวาโยธาตุ 
พระอาทิตย์สถิตอยู่ในราศีเมถุน, ราศีตุลย์, 
ราศีกุมภ์ เป็นราศีแห่งวาโย

วาโย

ธาตุ

ตรี

ผลา

ลูกสมอไทย

ตรี

สาร

เถาสะ

ค้าน

ตรีกฏุก

เมล็ดพริก

ไทย

ดอกดีปลี

รากเจตมูล

เพลิง

รากช้า

พลู

 

ฤดู

กำเริบ

16

8

4

3

2

1

ร้อน

หย่อน

4

16

8

2

1

3

ฝน

พิการ

8

4

16

1

3

2

หนาว

เหง้าขิงแห้ง ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ ½ ส่วน

 

   1. ลูกสมอไทย
   
2. เถาสะค้าน


3. เมล็ดพริกไทย

4. ดอกดีปลี

5. รากเจตมูลเพลิง

6. รากช้าพลู


7. เหง้าขิงแห้ง

เหง้าขิงแห้ง 1/2 ส่วน ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ

-----------------------------------------------------------


พิกัดกองอาโปธาตุ 

ประจำสมุฏฐานอาโป (ธาตุน้ำ12กอง) 

1) แก้อาโปธาตุกำเริบ มีตัวยาดังนี้
  1. ลูกมะขามป้อม     หนัก   16   ส่วน
  2. รากช้าพลู            หนัก     8   ส่วน
  3. ดอกดีปลี             หนัก     4   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง  หนัก     3   ส่วน
  5. เถาสะค้าน           หนัก     2   ส่วน
  6. เหง้าขิงแห้ง        หนัก     1   ส่วน
  7. เมล็ดพริกไทย     หนัก   1/2  ส่วน (ใช้ระคนกัน)
2) แก้อาโปธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้
  1. รากช้าพลู            หนัก   16   ส่วน
  2. ดอกดีปลี             หนัก     8   ส่วน
  3. ลูกมะขามป้อม     หนัก     4   ส่วน
  4. เหง้าขิงแห้ง         หนัก     3   ส่วน
  5. รากเจตมูลเพลิง   หนัก     2   ส่วน
  6. เถาสะค้าน            หนัก     1   ส่วน
  7. เมล็ดพริกไทย หนัก 1/2 ส่วน (ใช้ระคนกัน)
3) แก้อาโปธาตุพิการ มีตัวยามีดังนี้
  1. ดอกดีปลี             หนัก   16   ส่วน
  2. ลูกมะขามป้อม    หนัก     8   ส่วน
  3. รากช้าพลู            หนัก     4   ส่วน
  4. เถาสะค้าน           หนัก     3   ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง         หนัก     2   ส่วน
  6. รากเจตมูลเพลิง  หนัก     1   ส่วน
  7. เมล็ดพริกไทย     หนัก  1/2   ส่วน (ใช้ระคนกัน)
 
    มหาพิกัดทั่วไป แก้ในกองอาโปธาตุ  
    กำเริบ  หย่อน  พิการ

              ตารางอาโปธาตุ  กองอาโปธาตุ 
พระอาทิตย์สถิตอยู่ในราศี
กรกฎ, ราศีพิจิก, ราศีมีน 
เป็นราศีแห่งอาโป

อาโป

ธาตุ

ตรี

ผลา

ลูก

มะ

ขาม

ป้อม

ตรี

สาร

ราก

ช้า

พลู

ตรี

กฏุก

ดอกดีปลี

ราก

เจต

มูล

เพลิง

เถา  สะ

ค้าน

เหง้า

ขิง

แห้ง

 

ฤดู

กำเริบ

16

8

4

3

2

1

ร้อน

หย่อน

4

16

8

2

1

3

ฝน

พิการ

8

4

16

1

3

2

หนาว

เมล็ดพริกไทย ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ ½ ส่วน



   1. ลูกมะขามป้อม

 2. รากช้าพลู

3. ดอกดีปลี

4. รากเจตมูลเพลิง

5. เถาสะค้าน


6. เหง้าขิงแห้ง

7. เมล็ดพริกไทย


เมล็ดพริกไทย 1/2 ส่วน ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ

-----------------------------------------------------------


พิกัดกองปถวีธาตุ 
ประจำสมุฏฐานปถวี (ธาตุ 20 กอง) 

1) แก้ปถวีธาตุกำเริบ มีตัวยาดังนี้
  1. รากช้าพลู           หนัก    16   ส่วน
  2. ดอกดีปลี            หนัก      8   ส่วน
  3. เถาสะค้าน          หนัก      4   ส่วน
  4. รากเจตมูลเพลิง  หนัก     3   ส่วน
  5. เหง้าขิงแห้ง        หนัก     2   ส่วน
  6. เมล็ดพริกไทย    หนัก      1   ส่วน
  7. ลูกสมอพิเภก      หนัก   1/2  ส่วน  -   มหาพิกัด
  8. ลูกสมอไทย        หนัก   1/2  ส่วน   }  ตรีผลา
  9. ลูกมะขามป้อม    หนัก   1/2  ส่วน  - (ใช้ระคนกัน)
2) แก้ปถวีธาตุหย่อน มีตัวยาดังนี้
  1. ดอกดีปลี              หนัก 16   ส่วน
  2. เถาสะค้าน            หนัก  8   ส่วน
  3. รากช้าพลู            หนัก  4   ส่วน
  4. เมล็ดพริกไทย     หนัก  3   ส่วน
  5. รากเจตมูลเพลิง  หนัก  2   ส่วน
  6. เหง้าขิงแห้ง        หนัก   1   ส่วน
  7. ลูกสมอพิเภก      หนัก  1/2  ส่วน  -  มหาพิกัด
  8. ลูกสมอไทย        หนัก  1/2  ส่วน   }  ตรีผลา
  9. ลูกมะขามป้อม   หนัก  1/2  ส่วน  -  (ใช้ระคนกัน)
3) แก้ปถวีธาตุพิกา มีตัวยาดังนี้ 
  1. เถาสะค้าน              หนัก    16   ส่วน
  2. รากช้าพลู              หนัก      8   ส่วน
  3. ดอกดีปลี               หนัก      4   ส่วน
  4. เหง้าขิงแห้ง          หนัก      3   ส่วน
  5. เมล็ดพริกไทย      หนัก      2   ส่วน
  6. รากเจตมูล หนัก      1   ส่วน
  7. ลูกสมอพิเภก     หนัก   1/2   ส่วน  -  มหาพิกัด
  8. ลูกสมอไทย       หนัก   1/2   ส่วน   } ตรีผลา
  9. ลูกมะขามป้อม  หนัก   1/2   ส่วน  - (ใช้ระคนกัน)

         มหาพิกัดทั่วไป แก้ในกองปถวีธาตุ  
กำเริบ  หย่อน  พิการ

             ตารางปถวีธาตุ  กองปถวีธาตุ 
พระอาทิตย์สถิตอยู่ในราศี
พฤษภ, ราศีกันย์, ราศีมังกร 
เป็นราศีแห่งปถวี

ปถวี

ธาตุ

รากช้า

พลู

ดอก

ดี

ปลี

เถา

สะ

ค้าน

ราก

เจต

มูล

เพลิง

เหง้า

ขิง

แห้ง

เมล็ด

พริก

ไทย

 

ฤดู

กำเริบ

16

 8

  4

  3

  2

  1

ร้อน

หย่อน

 4

16

  8

  2

  1

  3

ฝน

พิการ

 8

 4

16

  1

  3

  2

หนาว

พิกัดตรีผลา (สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม)

ระคนทั้งกำเริบ หย่อน  พิการ ½ ส่วน




  1. รากช้าพลู

2. ดอกดีปลี
3. เถาสะค้าน


4. รากเจตมูลเพลิง

5. เหง้าขิงแห้ง

  6. เมล็ดพริกไทย

7. ลูกสมอพิเภก

ลูกสมอพิเภก 1/2 ส่วน ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ


8. ลูกสมอไทย

ลูกสมอไทย 1/2 ส่วน ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ

9. ลูกมะขามป้อม

ลูกมะขามป้อม 1/2 ส่วน ระคนทั้งกำเริบ หย่อน พิการ

-----------------------------------------------------------

 ตารางธาตุทั้ง 4 กำเริบ หย่อน พิการ 
 ตามสุริยะคติ ในจักราศี

หมายเหตุ 1 ปี = 12 ราศี = 12 เดือน 
(บางปี มี เดือน 8 สองหน
1 ราศี = 1 เดือน =29-30 วัน  
(บางเดือน มีดับ 14 ค่ำ )

ราศีธาตุ

      ช่วงเวลา

     แต่ละราศี

    พระ

     อาทิตย์ 

    สถิตย์

    ในราศี

    พิกัดสมุฏฐาน

    (ระคน

     ให้เป็นเหตุ)

  พิกัดราศีธาตุ
กำเริบ

    หย่อน

    พิการ

     ธาตุไฟ

      แรม 1 ค่ำ เดือน 4

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5

    เมษ

 

    พัทธปิตตะ

    (ดีในฝัก)

    เตโชธาตุกำเริบ

     (ธาตุไฟ 

    แรงขึ้นกว่าเดิม)

    ธาตุไฟ

    แรม 1 ค่ำ เดือน 8

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9

   สิงห์

 

   อพัทธปิตตะ

   (ดีนอกฝัก)

   เตโชธาตุหย่อน

     (ธาตุไฟ 

    ถอยลงกว่าเดิม )

    ธาตุไฟ

  แรม 1 ค่ำ เดือน 12

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1

   ธนู

 

กำเดา

    (เปลวแห่งวาโย โลหิต)

    เตโชธาตุพิการ

    (ธาตุไฟ 

   ผิดปกติ / เสียสภาพเดิม)

 

 

 

 

 

     ธาตุดิน

      แรม ค่ำ เดือน  5

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน  6

     พฤษภ

 

     หทัยวัตถุ

      (ก้อนเนื้อหัวใจ

    ปถวีธาตุกำเริบ

   (ธาตุดิน 

    แรงขึ้นกว่าเดิม)

    ธาตุดิน 

   แรม 1 ค่ำ เดือน  9

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10

  กันย์

 

   อุทริยะ

   (อาหารใหม่)

    ปถวีธาตุหย่อน

   (ธาตุดิน 

     ถอยลงกว่าเดิม )

     ธาตุดิน

      แรม 1 ค่ำ เดือน 1

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน  2

  มังกร

   (มกราคม)

    กรีสะ

    (อาหารเก่า)

    ปถวีธาตุพิการ

  (ธาตุดิน

    ผิดปกติ / เสียสภาพเดิม)

 

 

 

 

 

    ธาตุลม 

     แรม ค่ำ เดือน  6

     ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7

     เมถุน

 

    หทัยวาตะ

      (ลมที่หัวใจ)   

    วาโยธาตุกำเริบ

     (ธาตุลม 

      แรงขึ้นกว่าเดิม)

    ธาตุลม 

      แรม 1 ค่ำ เดือน 10

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน  11

    ตุลย์

 

    สัตถกวาตะ

    (ลมมีพิษ)

   วาโยธาตุหย่อน

    (ธาตุลม 

     ถอยลงกว่าเดิม )

     ธาตุลม

      แรม  ค่ำ เดือน  2

     ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

   กุมภ์

 

     สุมนาวาตะ

   (ลมในเส้น)

  วาโยธาตุพิการ

    (ธาตุลม

   ผิดปกติ / เสียสภาพเดิม)

 

 

 

 

 

    ธาตุน้ำ

     แรม  1 ค่ำ เดือน 7

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน  8

     กรกฎ

   

    ศอเสมหะ

    (เสมหะ

     ในลำคอ)

    อาโปธาตุกำเริบ

    (ธาตุน้ำ 

    แรงขึ้นกว่าเดิม)

     ธาตุน้ำ

  แรม  1 ค่ำ เดือน  11

     ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

    พิจิก

 

     อุระเสมหะ

    (เสมหะ

      ในทรวงอก)

    อาโปธาตุหย่อน

   (ธาตุน้ำ 

  ถอยลงกว่าเดิม )

    ธาตุน้ำ

    แรม 1 ค่ำ เดือน 3

    ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

  มีน

 

      คูถเสมหะ

   (เสมหะ

    ที่ทวารหนัก)

    อาโปธาตุพิการ

(ธาตุน้ำ

    ผิดปกติ / เสียสภาพเดิม)





--------------------------------------------------------------




------------------------------------------------------------

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
 สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ

Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ




No comments:

Post a Comment