Sunday, January 26, 2014

เภสัชกรรมไทย ภาคผนวก-การสับยา-การอบยา-การบดยา-การร่อนยา-วิธีปรุงยา-ทำยาลูกกลอน

เภสัชกรรมไทย
ภาคผนวก
การสับยา-การอบยา-การบดยา-การร่อนยา
วิธีปรุงยา-ทำยาลูกกลอน




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย
การสับยา-การอบยา-การร่อนยา
วิธีปรุงยา-ทำยาลูกกลอน



การสับยา

การสับยา คือ การนำสมุนไพรสดหรือแห้งในส่วนต่างๆ เช่น แก่น,เปลือก,ราก,ลูก.ใบ,ดอกมาทำให้มีขนานเล็กลงโดยการใช้มีดสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตามที่ต้องการใช้ในการปรุงยา

อุปกรณ์การสับยา
  1. มีด 
  2. เขียง 
  3. ถาด (ใบใหญ่) 
  4. กระสอบป่าน 
  5. ผ้าขนหนู 
  6. ยาสมุนไพร 
ขั้นตอนในการสับยา

1. ปูกระสอบป่านบนโต๊ะยา 

2. วางถาด (ใบใหญ่) บนกระสอบป่าน 

3. วางเขียงในถาด (ใบใหญ่) โดยใช้ผ้านหนูพับรองเขียงกับถาด (ใบใหญ่) เพื่อป้องกันมิให้เกิดเสียงมากเวลาสับยา

4. วางยาสมุนไพรบนเขียง ใช้มีดสับยาออกเป็นชิ้นแล็กๆ ตามขนาดที่ต้องการและ ความเหมาะสม (ในขณะสับยาไม่ควรให้ยากระเด็นออกนอกถาด)



ขั้นตอนการเก็บยาที่สับเสร็จแล้ว

1. ให้นำยาที่ได้ใส่ในลิ้นชักยาตามชื่อยานั้นๆ

2. ให้นำยาที่ได้ใส่ในปี๊บยาสำรอง เขียนชื่อยาติดไว้แล้วเก็บให้เรียบร้อยเป็นหมวดหมู่

การเก็บรักษาอุปกรณ์การสับยา

1. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์การสับยา

2. เก็บอุปกรณ์ของใช้เช้าที่

การอบยา

ขั้นตอนการอบยาที่ปรุงเป็นตำรับ

1. นำยาที่ปรุงเป็นตัวตำรับไว้แล้วใส่ในถาดสแตนเลสใบใหญ่ในปริมาณที่เหมาะสมกับถาดที่จะอบ

2. เขียนชื่อยา,น้ำหนักยา,วัน/เดือน/ปี “ที่เตรียมปรุงยา”, จำนวนถาดยา (ถาดที่ 1, ถาดที่ 2......) ของตำรับยานั้น ติดไว้ข้างถาดยาด้วยเทปใส

3. นำยาแต่ละถาด เรียงจำนวนถาดยา (ถาดที่ 1, ถาดที่ 2......) ของยาแต่ละตำรับเข้าตู้อบ (ยกเว้น) พวกสารที่ระเหยได้ เช่น เมนทอล พิมเสน และพวกยางไม้)

4. อบยาที่อุณหภูมิ 50 – 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง (เพื่อให้ยากรอบเปราะและบดได้ง่ายขึ้น)


                                         
ตู้อบยาไฟฟ้า

ตู้อบยาสมุนไพรก่อนบดยา

ตู้อบยาสมุนไพรที่บดแล้ว

การบดยา

ขั้นตอนการบดยา (ด้วยเครื่องบดยา เครื่องที่ 1)

1. นำยาที่อบแล้ว ใส่เครื่องบดยาเครื่องที่ 1 จำนวน 2 ถาด

2. บดยาครั้งที่ 1 เริ่มเปิดเครื่องบดยา นาน 1/2 ชั่วโมง

3. นำยาที่เหลือถาดที่ 3, 4 ....... ทยอยใส่เครื่องบดยา จนครบตามตำรับยานั้น

4. บดยานาน ครั้งละ 3 ชั่วโมง

5. เขียนชื่อยา, น้ำหนักยา, เวลาที่เริ่มบดยา, เวลาที่บดยาเสร็จ, วัน/เดือน/ปี, ชื่อผู้บดยาปิดไว้บนฝาเครื่องบด  เครื่องที่ 1

6. เมื่อบดยาเสร็จแล้ว ตักยาออกจากเครื่องบดยาใส่ไว้ในกะละมัง เพื่อเตรียมร่อน

ขั้นตอนการบดยา (ด้วยเครื่องบดยา เครื่องที่ 2)

1. นำยาที่อบแล้ว ใส่เครื่องบดยาเครื่องที่ 2 จำนวน 2 ถาด

2. บดยาครั้งที่ 2 เริ่มเปิดฝาเครื่องบดยาใช้เกียร์ 2 นาน 1 ชั่วโมง

3. นำยาที่เหลือถาดที่ 3, 4 ..... ทยอยใส่เครื่องบดยาจนครบตำรับนั้น บดต่อไปอีก 1/2 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนเป็น เกียร์ 3

4. บดยานาครั้งละ 3 ชั่วโมง

5. เขียนชื่อยา, น้ำหนักยา, เวลาที่เริ่มบดยา, เวลาที่บดยาเสร็จ, วัน/เดือน/ปี, ชื่อผู้บดยาปิดไว้บนฝาเครื่องบดเครื่องที่ 2 6. การบดครั้งที่ 2 (กากยา) เริ่มเปิดเครื่องบดยาใช้เกียร์ 3)

ขั้นตอนการดูแลรักษาเครื่องบดยา

1. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเครื่องบดยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้งให้เครื่องบดยาแห้งสนิท  (อาจจะใช้พัดลมเป่าให้แห้ง)

2. ปิดฝาเครื่องบดยา


เครื่องบดยา
เครื่องบดยาและฝาครอบ

การร่อนยา

การร่อนยา คือ การนำยาที่บดละเอียดแล้ว มาร่อนผ่านตะแกรง (หรือ แร่ง) ให้ได้ผงยาที่ละเอียดมากขึ้นตามความต้องการ ตระแกรงหรือแร่ง ที่ใช้ร่อนยา มี 3 ขนาด คือ

1. ขนาดเบอร์ 100 ละเอียดมาก
2. ขนาดเบอร์ 80 ละเอียดปานกลาง
3. ขนาดเบอร์ 60 ละเอียดน้อย 

(ขนาดที่ใช้ประจำในการร่อนยา คือ เบอร์ 100 และเบอร์ 80)


ตะแกรงร่อนยา (แร่ง)

การร่อนยา 

1. นำยาที่บดเสร็จแล้ว ร่อนผ่านตะแกรงตามขนาดเบอร์ที่ต้องการ (เบอร์ 100 หรือ เบอร์ 80)

2. ชั่งเนื้อยาที่ร่อนเสร็จแล้ว ใส่กะละมัง เขียนชื่อยา น้ำหนัก เนื้อยาวัน/เดือน/ปี ชื่อผู้ร่อนยา ใส่กะละมัง ปิดฝามิดชิด 

3. ชั่งกากยาใส่ ถุงพลาสติก (ซ้อน 2 ถุง) เขียนชื่อยา, น้ำหนักกากยา, วัน/เดือน/ปี, ชื่อ ผู้ร่อนยาใส่ไว้ในถุงกากยา  ผูกไว้ให้แน่น

4. เมื่อร่อนยาครั้งต่อๆ ไป (ครั้งที่ 2, 3, 4......) ให้เอาน้ำหนักเนื้อยาที่ร่อนได้ในแต่ละครั้งของยาขนานนั้น ๆ มาใส่รวมในภาชนะเดียวกัน โดยเขียนชื่อยา, น้ำหนักเชื้อยา, วัย/เดือน/ปี, ชื่อ ผู้ร่อนยาในแต่ละครั้ง ใส่ไว้ในภาชนะเนื้อยาขนานนั้น ปิดฝาให้มิดชิด

5. ยาร่อนเสร็จแล้วในขนานหนึ่งๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ก่อนนำใส่ภาชนะที่สะอาดเขียนชื่อยา (เบอร์ยา) วัน/เดือน/ปี ที่ผลิตยาเสร็จ ปิดไว้ข้างๆภาชนะ นั้นๆ

6. บันทึกบันชีการบดร่อนยา ในแต่ละขนานทุกครั้ง ลงในแบบฟอร์มบัญชีการบดร่อนยาประจำวัน

การดูแลรักษาเครื่องร่อนยา

1. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเครื่องร่อนยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ให้เครื่องร่อนยาแห้ง (อาจจะใช้พัดลมเป่าแห้ง) 

2. ปิดผาเครื่องร่อนยา


เครื่องร่อนยา

การเก็บรักษาตะแกรงหรือแร่ง

1. ใช้แปรงปัดทำความสะอาดผงยา ที่ติดอยู่ที่ตะแกรง และขอบตระแกรงร่อนยา

2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดที่ตะแกรง และขอบตะแกรงร่อนยา และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้ง ให้ตะแกรงร่อนยาแห้ง (อาจจะใช้พัดลมเป่าให้แห้ง)

3. ใช้ช้อนสแตนเลส (หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยม) ขูดตะแกรงร่อนยาเบาๆ เพื่อให้เสี้ยนยาที่ติดตะแกรงหลุดออก หรือใช้แหนมถอดเสี้ยนยาที่ติดตะแกรงร่อนยาออกให้หมด

4. เก็บตะแกรงร่อนยาไว้ในตู้

ข้อควรระวัง
ห้ามนำตะแกรงร่อนยาล้างน้ำ เพราะทำให้ตะแกรงชำรุดและอายุการใช้งานสั้นลง

วิธีการปรุงยาตามหลักการปรุงยา
แผนโบราณ มี 28 วิธี คือ

1. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอน 

2. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงละเอียด ปั้นเม็ด หรือใช้ยาผง 

3. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ต้มพอเดือด หรือเคี่ยวรินน้ำกิน

4. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงหยาบ แช่น้ำ หรือดองสุรากินแต่น้ำ

5. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงหยาบ กัดด้วยหัวเหล้าและหยดลงในน้ำเติมน้ำกิน

6. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว เผาเป็นถ่าน ทำน้ำด่าง รินแต่น้ำกิน 

7. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว สุม เผาหรือคั่วไฟ บดเป็นผงละเอียด ปั้นเม็ดหรือใช้ยาผง 

8. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงหยาบ บรรจุภาชนะเอาไว้ดม

9. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว กลั่นเอาไอ (น้ำเหงื่อ) เช่น กลั่นสุรา เอาน้ำเหงื่อกิน

10. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงละเอียดมาก ใช้เป่าจมูก และคอ เช่น ยานัตถุ์ 

11. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว มวนเป็นบุหรี่สูบ หรือสูดเอาควัน

12. ยาตากแห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นผงหยาบ เผาไฟหรือโยนบนถ่านไฟ ใช้ควันรม

13. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว บดเป็นหงหยาบ หุงด้วยน้ำมัน เป็นยาน้ำมัน

14. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว ต้ม ใช้น้ำยาอมบ้วนปาก

15. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ต้ม ใช้น้ำอาบ

16. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ต้ม ใช้น้ำแช่

17. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ตัม ใช้น้ำชะ 

18. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ต้ม ใช้ไอรม

19. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว ตำ ใช้เป็นยาสุมหรือพอก 

20. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ใช้เป็นยาทา 

21. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ทำเป็นลูกประคบ

22. ยาสด,แห้ง ปรุงแล้ว ใช้เหน็บทวารหนัก 

23. ยาสด, แห้ง ปรุงแล้ว ใช้สวนทวารหนัก

24. ยาผสมแล้ว ใช้เป็นยาพอก

25. ยาผสมแล้ว ทำเป็นยากวน หรือยาขี้ผึ้งปิดแผล

26. ยาผสมแล้ว ทำเป็นยาแคปซูล

27. ยาผสมแล้ว ทำเป็นยาตอกเม็ด

28. ยาผสมแล้ว ทำเป็นยาเคลือบเม็ด

ยาลูกกลอน

ยาลูกกลอน เป็นรูปแบบหนึ่งของยาสมุนไพร มีรูปร่างกลม ทำจากผงยาชนิดเดียวหรือ หลายชนิด ผสมสารที่ทำให้ผงเกาะตัว เช่น น้ำ น้ำแป้ง น้ำผึ้ง เป็นต้น

ยาลูกกลอนอบน้ำผึ้ง เป็นยาลูกกลอนที่ทำจากผงยาและน้ำผึ้งผสมกัน มีลักษณะกลม มีน้ำอยู่น้อยการแตกตัวช้า ออกฤทธิ์ได้นานน้ำผึ้งใช้ผสมช่วยปรับรสและช่วยบำรุงร่างกาย มักใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อรังและโรคที่ต้องทำการบำรุงด้วย แต่มีข้อเสียที่ยาลูกกลอนน้ำผึ้งใช้น้ำผึ้งจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนสูง

วิธีการเตรียมยาลูกกลอนน้ำผึ้ง 

มีกรรมวิธี และเทคนิคที่จะทำให้ยาลูกกลอนเป็นเม็ดสวยได้ แบ่งออกเป็นขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้





1. ขั้นตอนการเคี่ยวน้ำผึ้ง ขั้นตอนนี้นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การเคี่ยวน้ำผึ้งมีประโยชน์ที่ช่วยฆ่าเชื้อโรค และไล่น้ำที่อยู่ในน้ำผึ้ง ทำให้ลูกกลอนไม่ขึ้นยา ยาที่ปั้นเม็ด จะเก็บได้นาน หรือเก็บได้ไม่นานขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ ในการเคี่ยวน้ำผึ้งต้องใช้ภาชนะที่แห้งสนิท มีวิธีทำมาแล้ว มีวิธีทำดังนี้

    1) เทน้ำผึ้งใส่หม้อขนาดใหญ่ที่เตรียมไว้โดยทั่วไปอัตราส่วนระหว่างผึ้ง ตอยาผงที่ใช้ผสมเป็น 1 ต่อ หนึ่ง (โดยน้ำหนัก) แต่อัตราส่วนนี้มีอัตราการใช้น้ำผึ้งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะ ของผงยา เช่น ยางผมที่มีส่วนผสมของยาดำ มหาหิงคุ์ ยาพวกนี้ ต้องใช้น้ำผึ้งในการ ผสมน้อย มีพวกแก่นไม้ รากไม้ พวกเกสรดอกไม้ พวกนี้ต้องใช้น้ำผึ้งมาก

    2) นำหม้อที่ใส่น้ำผึ้งขึ้นตั้งไฟ ช่วงแรกใช้ไฟแรง คนให้เข้ากัน และเคี่ยวจนน้ำผึ้งเหนียวได้ที่โดยดูจากลักษณะดังนี้ คือ

         (1)  ตอนแรกที่น้ำผึ้งเดือดฟองจะใหญ่และผุดสูง เมื่อเคี่ยวได้ที่ฟองจะยุบ และมีขนาดเล็กละเอียด ช่วงเคี่ยว ตั้งแต่น้ำผึ้งฟองใหญ่จนฟองเล็ก ใช้เวลา 10 – 15 นาที

         (2)  การทดสอบได้อีกวิธีหนึ่ง คือ หยดน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ลงในน้ำที่อุณหภูมิห้องปกติสังเกตุดูว่าน้ำผึ้งมีลักษณะอย่างไร ลักษณะน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว จะมีลักษณะ คือ น้ำผึ้งจะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นกว่าเดิม เป็นก้อนแข็งและรวมตัวกัน แต่ถ้าหยดลงไปในน้ำแล้วน้ำผึ้งยังเหนียว ไม่แข็ง ไม่จับเป็นก้อน ต้องเคี่ยวต่อไปอีก และทดสอบดูอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเคี่ยวน้ำผึ้งจนได้ที่แล้ว เติมน้ำเดือดลงไป 2 กาใหญ่ ขณะที่หม้อตั้งอยู่บนเตา แล้วเคี่ยวต่อไปจนน้ำผึ้งได้ที่ ซึ่งลักษณะความเหนียมจะไม่เหมือนกัน ต้องอาศัยระสบการณ์ และสังเกตุจากลักษณะฟองตามที่กล่าวไว้ในข้อ (1)  

        (3) เมื่อเคี่ยวน้ำผึ้งได้ที่แล้ว ให้ยกลงจากเตา กรองด้วยผ้าขาวบางและกวนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำผึ้งเริ่มเย็น เมื่อน้ำผึ้งเย็นแล้ว จึงนำไปผสมกับยาผงในขั้นต่อไป




2. ขั้นตอนการผสมน้ำผึ้งกับยาผง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะยาจะเป็นเม็ดได้หรือไม่เป็นก็ขึ้นอยู่กับการผสมน้ำผึ้งกับยาผง มีรายละเอียดดังนี้

    1) นำยาที่ชั่งเตรียมไว้ เทใส่กะละมังที่แห้งสะอาด

    2) ตวงน้ำผึ้งที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ค่อยๆเทราดบนยาผงทีละทัพพี พร้อมกับใช้มือคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำผึ้งและเทราดน้ำผึ้งพร้อมกับคลุกเคล้าจนยาได้ที่ซึ้งสังเกตได้โดยหยิบยาที่เคล้าทดลองปั้นด้วยมือดูว่าเม็ดดี หรือยาติดนิ้วหรือไม่ ถ้ายาได้ที่แล้วจะไม่ติดนิ้วมือ แล้วบีบเม็ดยาที่ปั้นดูว่า ยานั้นแตกร่วนหรือไม่ ถ้ายาไม่แตกร่วนยังเป็นเม็ดเกาะกันดีแสดงว่ายาได้ที่แล้ว ถ้าบีบแล้วยาแตกร่วนอยู่ แสดงว่ายังเคล้ายาไม่เข้ากับน้ำผึ้ง

หมายเหตุ ขั้นตอนที่ต้องใช้มือในการคลุกยา ต้องล้างมือให้สะอาด และต้องให้มือแห้ง เพราะถ้ามือไม่แห้งสนิท จะทำให้ยาขึ้นราได้ หรืออาจจะใส่มือยางที่สะอาดก็ได้

3. การทำยาเม็ดลูกกลอน 

     1) โดยใช้เครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน 
ซึ่งจะมีขั้นตอนและกรรมวิธีทำดังนี้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้

1. เครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน 

2. เครื่องรีดเส้นยา

3. ยาที่คลุกน้ำผึ้งไว้เรียบร้อยแล้ว

4. ถาดสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่, ขนาดกลาง

5. ผ้าสะอาดผืนเล็ก

6. กาต้มน้ำขนาดใหญ่

7. แปรงทองเหลือง (สำหรับแปรงยาที่ติดเครื่องรีดเส้นยา)

8. โต๊ะเก้าอี้ (สำหรับวางถาดยาที่ออกมาจากเครื่อง)

9. ทัพพี

10. มีด

การเตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์

1. การทำความสะอาดเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน และเครื่องรีดเส้นยา โดยใช้น้ำเดือดเทราดเครื่องให้น้ำไหลลง กะละมังใหญ่ เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง

2. นำถาดขนาดกลางที่แห้งสะอาด มารองรับยาจากเครื่องรีดเส้นยาและเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน

(สนใจดูการทำยาเม็ดลูกกลอน เชิญคลิ๊กที่
https://youtu.be/SJPVFDnQCxo  )

วิธีการผลิต

1. นำยาซึ่งได้คลุกน้ำผึ้ง (หรือสารยึดเกาะอื่นๆ) ไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่เครื่องรีดเส้นยา 1 – 2 ครั้ง เพื่อให้ได้เส้นยากลม แน่น และเรียบ โดยใช้มีดตัดเส้นยาที่ผ่านเครื่องรีดแล้ว ให้มีขนาดเท่ากับความยาวของเครื่องตัดยาเม็ดลูกกลอน

2. เปิดเครื่องทำยาเม็ดลูกกลอน ที่ได้วางตามขวางบนเครื่องทำยานำเส้นยาเม็ดลูกกลอน แล้วยาก็จะถูกตัดออกเป็นเม็ดกลมๆ ลงบนถาดรองรับ

3. คัดเลือกเม็ดยาที่ไม่ได้ขนาดออก นำเม็ดยาที่ได้คัดเลือกแล้วใส่ใน ถังเคลือบเม็ดยาในปริมาณที่เหมาะสมกับถังเคลือบเม็ดยาเปิด

4. เปิดเครื่องหมุนถังเคลือบยาเม็ด จนได้เม็ดยากลม เรียบ ดีแล้ว จึงนำยาอบที่อุณหภูมิ 50 – 55 องศาเซ]ลเซียส ประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง จนยาแห้งดี ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำยเก็บไว้ในขวดโหลแก้วปิดฝาให้แน่น ป้องกันความชื้น 

    2)โดยใช้รางกลิ้งยา ซึ่งจะมีขั้นตอน และกรรมวิธีการทำ ดังนี้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้

1. รางกลิ้งยา พร้อมฝาประกบ

2. กะละมังขนาดใหญ่

3. ถาดสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่, ขนาดกลาง

4. ชามขนาดกลาง

5. ผ้าสะอาดผืนเล็ก

6. กาต้มน้ำขนาดใหญ่

7. โต๊ะที่ใช้วางยางกลิ้งยา

8. น้ำมันพืช หรือน้ำมันที่ไม่มีกลิ่น

การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์

1. ทำความสะอาดรางกลิ้งยา และฝาประกบ โดยใช้น้ำเดือดเทรารางกลิ้ง พร้อมฝาประกบในกะละมังเช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์อีกครั้ง ทิ้งให้ระเหยแห้งก่อนนำยามากลิ้งบนรางกลิ้งยา

2. นำรางกลิ้งยาวางบนโต๊ะสำรับกลิ้งยา

3. นำชามขนาดกลางใส่น้ำสุกประมาณครึ่งชาม และเทน้ำมันพืช หรือน้ำมันที่ไม่มีกลิ่นลงในชามใบเดียวกันประมาณ 1 ใน 4 ของน้ำในชาม และนำผ้าสะอาดผืนเล็กชุบน้ำสุกในกะละมังบิดให้แห้ง และนำมาแช่ในชามที่มีน้ำมันกับน้ำผสมกัน ใช้สำหรับเช็ดรางยาในกรณีที่ยาเริ่มจะติดราง

4. นำถาดขนาดกลางที่แห้งและสะอาด มารองรับยาด้านหน้ารางกลิ้ง

รางกลิ้งยา และฝาประกบรางกลิ้งยา

รางกลิ้งยา




วิธีการกลิ้งยาเม็ดลูกกลอน

1. หยิบยาเส้นที่รีดไว้แล้วในถาด รีดเส้นยาด้วยเครื่องรีดเส้นยา ซึ่งมีขนาดเส้นกลมโตเท่ากับขนาดรางกลิ้งยา หรืออาจจะใช้มือกลิ้งเส้นยาให้ได้ขนาดเส้นกลมโต เท่ากับขนาดรางกลิ้งยา

2. วางไม้ประกบรางกลิ้งลงบนเส้นยา ค่อนๆ กลิ้งยาไปมา พร้อมกับลงน้ำหนักกดลงบนรางทีละน้อยจนกว่าขอบฝาประกบจะชิดกับขอบรางกลิ้ง จึงลงน้ำหนักให้มากขึ้น และกลิ้งไปมาอีก 4 – 5 ครั้ง จนยาเป็นเม็ดดีแล้วจึงดันฝาประกบไปทางด้านหน้า ด้วยความแรงที่พอจะให้ยาเม็ดตกลงในถาดได้

3. ถ้ากลิ้งยาไปหลายครั้ง รู้สึกว่ายาจะเริ่มติดราง หรือยาไม่มีเหงา ผิวยาเริ่มจะหยาบ ให้เอาผ้าชุบน้ำมันที่ไม่มีกลิ่น ผสมน้ำที่เตรียมไว้ แล้วทราบรางกลิ้งและฝาประกบ ซึ่งการทำน้ำมันต้องระวังไม่ทาจนโชกรางกลิ้งยา ก่อนทาควรบีบเอาน้ำมันและน้ำออกก่อนเล็กน้อยแล้วจึงนำมาทา การทาหรือเช็ดรางกลิ้งยาควรจะทาหรือเช็ดไปทางเดียวกัน
ไม่ควรเช็ดกลับไปกลับมา เพราะจะทำให้เหลี่ยมของร่องฉีดเป็นเสี้ยนติดผ้าได้

4. เมื่อกลิ้งยาได้จำนวนมากแล้ว ให้นำยาเทรวมกันไว้ถาดใหญ่เพื่อนำเข้าตู้อบ ตู้อบจะเป็นตู้อบที่ใช้ไฟฟ้า หรือใช้เตาก็ได้ อบด้วยอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส ประมาณ 4-6 ชั่วโมง จนยาแห้งดีแล้วจึงนำออกจากตู้อบปล่อยทิ่งไว้ให้เย็น และนำยาเก็บไว้ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ เช่น โหลแก้วปิดฝาให้แน่น

สาเหตุที่ทำให้ยาไม่เป็นเม็ด และยาเม็ดลักษณะผิดปกติ

1. การผสมยาผงกับน้ำผึ้งน้อยเกินไป 
ทำให้ยาแห้งเกินไปเส้นยาจะแข็งมาก 

2. การผสมยาผงกับน้ำผึ้งมากเกินไป 
ทำให้ยานิ่มเกินไป กลิ้งเม็ดยาไม่ได้

3. เส้นยาที่รีดเส้นเล็กว่าขนาดมาตรฐาน 
ทำให้ยาไม่เต็มเม็ด บางครั้งจะทำให้ยามีลักษเป็นร่องตรงกลาง

4. การกลิ้งยาครั้งแรกใช้แรงมากเกินไป 
ทำให้ยาแบนติดราง และยาไม่เป็นเม็ด

5. การเช็ดรางกลิ้งยาเช็ดน้ำมันโชกเกินไป ทำให้ผิวของเม็ดยาเปียก และลอกหลุดติดบนรางยาเแพทย์แผนมื่อกลิ้งเม็ดต่อไปจะทำให้ผิวยาเม็ดอื่นไม่เรียบ

    3) โดยใช้มือปั้นทีละเม็ด  

         การปั้นเม็ดเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน ต้องปั้นให้กลมและขนาดสม่ำเสมอ การปั้นเม็ดทำได้โดยค่อยๆ แบ่งยาที่ผสมไว้แล้วมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร) การปั้นด้วยมือทำได้ช้า ในขณะที่ปั้นน้ำผึ้งที่ผสมในผงยาจะแห้งลงเรื่อยๆ จึงต้องคอยทดสอบดูว่ายาลูกกลอนที่ปั้นได้นั้นบีบแล้วแตกร่วนหรือไม่ ถ้าแตกแสดงว่าน้ำผึ้งน้อยไป ให้เติมน้ำผึ้งลงไปและผสมให้เข้าที่ จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลอนต่อไป น้ำผึ้งที่ใส่ในผงยาจะต้องพอเหมาะ ถ้ามากไปจะเหลาลูกกลอนไม่เกาะตัว ถ้าน้อยไปลูกกลอนจะร่วนและแตกง่าย

         นำลูกกลอนหรือเม็ดยาที่ได้วางไว้ในถาด และไม่ให้เม็ดยาซ้อนกัน นำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียสให้แห้งสม่ำเสมอ อย่าอบนานเกินไปจะทำให้เมล็ดยาแข็ง แตกตัวยาก เม็ดยาแห้งดีแล้วเก็บใส่ขวดโหลที่สะอาดและมิดชิด



การทำยาประสะมะแว้ง








--------------------------------------------------------------


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 

-----------------------------------------------------


อ้างอิง ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ



Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ




1 comment:


  1. บดเครื่องเทศได้อย่างง่ายดายด้วยเครื่องบดสมุนไพรที่ใช้งานง่าย ช่วยให้การสร้างสรรค์เมนูอาหารเป็นเรื่องง่ายด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ

    ReplyDelete