Wednesday, January 22, 2014

เภสัชกรรมไทย ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ ตัวยาสรรพคุณใกล้เคียงกัน การเก็บตัวยา ตัวยาประจำธาตุ รสยาแก้ตามธาตุ


เภสัชกรรมไทย
ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ 
ตัวยาสรรพคุณใกล้เคียงกัน 
การเก็บตัวยา 
ตัวยาประจำธาตุ
 รสยาแก้ตามธาตุ
 



 
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย
ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ
ตัวยาที่เรียกได้ 2 ชื่อนี้ มิได้เป็นมาตรฐานเท่าใดนัก บางตำราก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับตำราที่กล่าวไว้นี้ เพราะด้วยประเทศถิ่นที่อยู่นั้น เรียกกันตามที่อยู่ของตนไป เมื่อรวมความแล้วก็เป็นตัวยา อย่างเดียวกัน มีชื่อดังต่อไปนี้
      

     1.  ต้นทิ้งถ่อน                   

       เรียกอีกชื่อว่า   พระยาฉัตรทัน


    2.  ต้นตะโกนา  

       เรียกอีกชื่อว่า   พระยาช้างดำ

 
3.  หนาวเดือนห้า               

         เรียกอีกชื่อว่า   พระขรรค์ไชยศรี

 
4.  ร้อนเดือนห้า                

        เรียกอีกชื่อว่า   ต้นมะไฟเดือนห้า

 
5.  กระพังโหมใหญ่            

        เรียกอีกชื่อว่า   ตูดหมู

 
6.  กระพังโหมเล็ก             

       เรียกอีกชื่อว่า   ตูดหมา

 
7.  กระพังโหมน้อย            

     เรียกอีกชื่อว่า   ขี้หมาข้างรั้ว

 
8.   ผักบุ้ง                        
 

          เรียกอีกชื่อว่า    ผักทอดยอด

 
9.   ผักกระเฉด                   

        เรียกอีกชื่อว่า    ผักรู้นอน

 
10.  ต้นชิงชี่                        

        เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าสมิงกุย

 

11. เถาหญ้านาง                

        เรียกอีกชื่อว่า  ปู่เจ้าเขาเขียว 

         หรือ หญ้าภัคคีนี

     12. เท้ายายม่อม (ดอกแดง)    

          เรียกอีกชื่อว่า  ประทุมราชา

 
13. เจตมูลเพลิง
(แดง)            

      เรียกอีกชื่อว่า  ลุกใต้ดิน (ไฟใต้ดิน)


14. ต้นช้าพลู                     

      เรียกอีกชื่อว่า  ผักอีไร

 
15. เปรียงพระโค                

      เรียกอีกชื่อว่า  น้ำมันในไขข้อกระดูกโค 

     
16. ผักเป็ด                       

      เรียกอีกชื่อว่า  กินตีนท่า หรือหากินตีนท่า

 
17. หยากไย่ไฟ,หญ้ายองไฟ  

      เรียกอีกชื่อว่า  อยู่หลังคา (นมจาก) 

     (หญ้ายองไฟ คือ เขม่าไฟที่ติดหยากไย่

       เป็นเส้นห้อยอยู่ตามหลังคาครัวไฟ) 

    
18. ขี้ยาฝิ่น                       

         เรียกอีกชื่อว่า  ขี้คารู 

 

     19. สุรา                           

      เรียกอีกชื่อว่า   กูอ้ายบ้า

 
20. น้ำครำ                      

       เรียกอีกชื่อว่า  น้ำไขเสนียด

21. ต้นปีบ                        

       เรียกอีกชื่อว่า  ก้องกลางดง

 
22. ต้นชะเอม                  

       เรียกอีกชื่อว่า  อ้อยสามสวน

 
23. เถามะระขี้นก             

       เรียกอีกชื่อว่า  ผักไห

 
24. เถาโคกกระสุน             

      เรียกอีกชื่อว่า  กาบินหนี

 
25. ก้างปลา                     

     เรียกอีกชื่อว่า   ปู่เจ้าคาคลอง

 
26. เกลือกระตังมูตร          

      เรียกอีกชื่อว่า  เกลือเยี่ยว

 
27. เถากระไดลิง              

     เรียกอีกชื่อว่า  กระไดวอก

28. กำมะถันเหลือง           

      เรียกอีกชื่อว่า  สุพันถันเหลือง, มาดเหลือง 

 
29. กระบือเจ็ดตัว             

     เรียกอีกชื่อว่า  กระทู้เจ็ดแบก

 
30. แก่นขนุน                   

     เรียกอีกชื่อว่า  กรัก

31. หญ้าพองลม               

     เรียกอีกชื่อว่า  ปู่เจ้าลอยท่า

 
32. กำแพงเจ็ดชั้น             

     เรียกอีกชื่อว่า  ตะลุ่มนก

 
33. กาสามปีก                   

      เรียกอีกชื่อว่า  กาจับหลักหญ้าสองปล้อง

      
34. กระเช้าผีมด                

     เรียกอีกชื่อว่า  หัวร้อยรู

 
35. ต้นกำลังช้างเผือก         

     เรียกอีกชื่อว่า  พระยาช้างเผือก

 
36. ต้นกำลังวัวเถลิง           

      เรียกอีกชื่อว่า  กำลังทรพี

 
37. ต้นกำลังเสือโคร่ง        

      เรียกอีกชื่อว่า  กำลังพระยาเสือโคร่ง 

 
38. ต้นกำลังหนุมาน             

     เรียกอีกชื่อว่า    กำลังราชสีห์

 
39. แก่นกันเกรา 
(กันเกรา)      

      เรียกอีกชื่อว่า   ตำเสา 

 

    40. บัวบก                          

     เรียกอีกชื่อว่า   ผักหนอก

 

41. ขอบชะนางแดง             

     เรียกอีกชื่อว่า  หนอนตายหยากแดง

 
42. ขอบชะนางขาว

      เรียกอีกชื่อว่า  หนอนตายหยากขาว

 
43. ดอกสลิด                      

      เรียกอีกชื่อว่า  ดอกขจร

 
44. ต้นกรรณิกา                   

     เรียกอีกชื่อว่า  สุพันนิกา

 
45. ดอกคำฝอย                   

      เรียกอีกชื่อว่า  คำยอง

 
46. ดอกคำไทย                   

    เรียกอีกชื่อว่า   ดอกชาติ

 

47. ฆ้องสามย่านตัวผู้ (นิลพัต) 

       เรียกอีกชื่อว่า  ต้นคว่ำตายหงายเป็น

 
48. ต้นเหงือกปลาหมอ        

     เรียกอีกชื่อว่า   ต้นแก้มคอ (แก้มหมอ)


49. ต้นฆ้องสามย่าน              

     เรียกอีกชื่อว่า  ส้มกระเช้า

 
50. ต้นจามจุรี                     

     เรียกอีกชื่อว่า  ก้ามกรามก้ามปู  

 

51. ต้นช้างงาเดียว                 

     เรียกอีกชื่อว่า  หนามคาใบ

 
52. ต้นตีนเป็ดเครือ               

      เรียกอีกชื่อว่า  เถาเอ็นอ่อน

 
53. ต้นตีนเป็ดต้น                 

     เรียกอีกชื่อว่า  พระยาสัตบัน

 
54. ต้นตีนเป็นน้ำ                  

     เรียกอีกชื่อว่า  พะเนียงน้ำ

 
55. เม็ดเทียนขาว                  

      เรียกอีกชื่อว่า  ยี่หร่า

 
56. เทียนตาตั๊กแตน                

     เรียกอีกชื่อว่า  ผักชีลาว

 

57. ต้นเทียนเยาวพาณี            

      เรียกอีกชื่อว่า  ผักชีกระเหรี่ยง

 
58. ต้นโทงเทง                      

    เรียกอีกชื่อว่า  โคมจีนโคมญี่ปุ่น

 
59. ต้นทองระอา                    

    เรียกอีกชื่อว่า  ลิ้นงูเห่า

 
60. ผักเสี้ยนผี                       

    เรียกอีกชื่อว่า  ไปนิพพานไม่รู้กลับ

61. หางไหลขาว                    

     เรียกอีกชื่อว่า   โล่ติ๊น

 
62. หางไหลแดง                    

     เรียกอีกชื่อว่า  กะลำเพาะ

 
63. สมออัพยา                       

     เรียกอีกชื่อว่า  ลูกสมอไทย

 
64. สมอร่องแร่ง      

     คือ ลูกสมอชนิดหนึ่งก้านยาว ห้อยร่องแร่งอยู่

 
65. บอระเพ็ดตัวผู้  คือ เถาชิงช้าชาลี
 

     บอระเพ็ดตัวเมีย คือ เถาบอระเพ็ดที่มีตุ่ม

 
     ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน
 
ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน หรือมีสรรพคุณเสมอกันนั้น สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เพราะตัวยาบางอย่างที่ต้องการ หรือมีในตำรายานั้น ไม่มีหรือขาดไป หรือตัวยาบางอย่างต้องนำมาจากต่างประเทศ บางครั้งตัวยาเกิดขาดตลาด จะรอให้ส่งมาจากต่างประเทศ คนไข้ก็คงจะไม่ได้รับประทานยาเป็นแน่ ดังนั้นแพทย์และเภสัชกรแผนโบราณ จึงได้คิดค้นหาตัวยาบางอย่างที่พอหาได้ พอจะมีสรรพคุณทัดเทียมกัน เพื่อจะได้นำมาปรุงเป็นยาเพื่อรักษาโรค ตัวยาที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน และพอจะใช้แทนกันได้ มีชื่อดังต่อไปนี้
 

1.  โกฐสอ              

     มีสรรพคุณเสมอกับ     ข่าลิง

 

2.  โกฐเขมา             

     มีสรรพคุณเสมอกับ     ทรงบาดาล

 

3.  โกฐหัวบัว           

      มีสรรพคุณเสมอกับ    หัวกระเทียม

 

4.  โกฐเชียง             

     มีสรรพคุณเสมอกับ     ไพล

 

5.  โกฐจุฬาลัมพา      

    มีสรรพคุณเสมอกับ     หญ้าตีนนก

 

6.  โกฐกระดูก     

     มีสรรพคุณเสมอกับ     หัวกะทือ

 

7.  โกฐก้านพร้าว 

    มีสรรพคุณเสมอกับ     ชิงช้าชาลี

 

8.  โกฐน้ำเต้า      

    มีสรรพคุณเสมอกับ     หัวเปราะป่า

 

9.  กะเม็ง         

    มีสรรพคุณเสมอกับ    ผักคราด

 

    กะเม็ง คือ กะเม็งตัวผู้, กะเม็งตัวเมีย

 

10. กะเพรา         

     มีสรรพคุณเสมอกับ    แมงลัก

    กระเพรา คือ

     กะเพราแดง, กะเพราขาว

 

  11. แก่นประดู่    

    มีสรรพคุณเสมอกับ    แก่นมะซาง

  

12. เกลือสมุทร    

    มีสรรพคุณเสมอกับ    เกลือประสะ

 

  13. เกลือสินเธาว์

     มีสรรพคุณเสมอกับ   สมอทั้ง 3

     สมอทั้ง 3 คือ

      สมอไทย,  สมอเทศ,  สมอพิเภก   

 

  14. ดีปลี             

       มีสรรพคุณเสมอกับ     ขิง

 

  15. บอระเพ็ด     

       มีสรรพคุณเสมอกับ     ชิงช้าชาลี

 

  16. ยางเทพทาโร  

       มีสรรพคุณเสมอกับ     ยางสลัดได

 

  17. เปลือกตาเสือ 

       มีสรรพคุณเสมอกับ     เปลือกนนทรี

 

  18. กานพลู       

      มีสรรพคุณเสมอกับ     ลูกจันทน์

 

  19. เปลือกแคแดง

      มีสรรพคุณเสมอกับ     เปลือกแคขาว

 

  20. หัศคุณเทศ    

       มีสรรพคุณเสมอกับ     หัสคุณไทย

 

  21. สารส้ม      

       มีสรรพคุณเสมอกับ       เหง้าสับปะรด

 

  22. โคกกระสุน    

       มีสรรพคุณเสมอกับ     นมพิจิตร

 

  23. ใบเงิน         

       มีสรรพคุณเสมอกับ     ใบทอง

 

  24. น้ำมะกรูด    

       มีสรรพคุณเสมอกับ     น้ำมะนาว

 

  25. ด่างสลัดได   

       มีสรรพคุณเสมอกับ    ด่างโคกกระสุน

 

  26. หนอนตายหยาก

       มีสรรพคุณเสมอกับ     กะเพียด

 

   27. ขมิ้นอ้อย     

        มีสรรพคุณเสมอกับ    ขมิ้นชัน

 

   28.  กาหลง      

        มีสรรพคุณเสมอกับ    จิก

        จิก คือ จิกนา, จิกเขา

 

   29. ผักเสี้ยนทั้ง 2

        มีสรรพคุณเสมอกับ     หญ้าพันงูทั้ง 2

       ผักเสี้ยนทั้ง 2 คือ

       -ผักเสี้ยนตัวผู้ (ผักเสี้ยนๆไทย)

       -ผักเสี้ยนตัวเมีย (ผักเสี้ยนผี)

       หญ้าพันงูทั้ง 2 คือ

      -หญ้าพันงูแดง, หญ้าพันงูขาว

 

   30. มะไฟเดือนห้า

        มีสรรพคุณเสมอกับ     หญ้าปากควาย

 

   31. น้ำตาลทราย 

        มีสรรพคุณเสมอกับ    น้ำตาลกรวด

 

   32. มะแว้งต้น    

        มีสรรพคุณเสมอกับ    มะแว้งเครือ

 

   33. มะกรูด       

        มีสรรพคุณเสมอกับ    ส้มซ่า

 

   34. เมล็ดสลอด 

         มีสรรพคุณเสมอกับ      พาดไฉน

 

   35. เข็มแดง      

        มีสรรพคุณเสมอกับ     เข็มขาว

 

   36. ฝิ่นต้น       

        มีสรรพคุณเสมอกับ     ฝิ่นเครือ

 

   37. ดองดึง      

        มีสรรพคุณเสมอกับ     ผักโหมแดง

 

  38. ลูกกรวย       

       มีสรรพคุณเสมอกับ   ลูกบิด

      ลูกกรวย คือ กรวยบ้าน, กรวยป่า

      ลูกบิด คือ ปอกะปิด

 

การเก็บตัวยา
 
      การเก็บยา ตามวิธีการของโบราณ ถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้ว เห็นว่ามีความสำคัญมาก สำคัญทั้งด้านให้ได้ตัวยา มีสรรพคุณดีและทั้งทางด้านการสงวนพันธุ์ของพืชสมุนไพรของตัวยาให้คงไว้อยู่ตลอดไปเก็บยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเวลา

วิธีการเก็บยาของแพทย์แผนโบราณ

มี 4 วิธี คือ

       1).      การเก็บยาตามฤดู

       2).      การเก็บยาตามทิศทั้ง 4

       3).      การเก็บยาตามวันและเวลา

       4).      การเก็บยาตามยาม (กาลเวลา)

 

     1. การเก็บตัวยาตามฤดู (3) เก็บดังนี้ 

 

  1).  คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)  

       เก็บ เหง้า, หัว, แก่น, ราก                     

           จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี 

 

  2). วสันตฤดู (ฤดูฝน)        

       เก็บ ใบ, ดอก, ลูก หรือฝัก        

            จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี 

 

  3).  เหมันตฤดู (ฤดูหนาว)  

       เก็บ เปลือกไม้, กระพี้, และเนื้อไม้

           จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี

 

2. การเก็บตัวยาตามทิศทางทั้ง 4 

 


       1).   วันอาทิตย์,  วันอังคาร     

        เก็บยา   ทิศตะวันออก

 

         2).     วันจันทร์,  วันเสาร์     

       เก็บยา   ทิศตะวันตก


3).    วันพุธ,  วันศุกร์               

      เก็บยา   ทิศใต้

       

         4).    วันพฤหัสบดี                 

            เก็บยา   ทิศเหนือ


 

     หมายเหตุ ในการเก็บยาตามทิศนี้

      ให้ถือเอาที่อยู่ของหมอผู้เก็บยาเป็นศูนย์กลาง

 

3. การเก็บตัวยาตามวันและเวลา


      1).    วันอาทิตย์   

            เช้า    เก็บ  ต้น      

            สาย    เก็บ  ใบ  

            เที่ยง   เก็บ  ราก             

            เย็น     เก็บ  เปลือก 

    

      2).    วันจันทร์      

            เช้า     เก็บ  ราก  

            สาย    เก็บ  แก่น

            เที่ยง   เก็บ  ใบ        

            เย็น    เก็บ   เปลือก 

    

      3).    วันอังคาร       

            เช้า     เก็บ   ใบ       

            สาย    เก็บ   เปลือก

            เที่ยง   เก็บ   ต้น          

            เย็น    เก็บ   ราก

 

      4).    วันพุธ          

            เช้า    เก็บ   ราก   

            สาย   เก็บ   เปลือก

            เที่ยง  เก็บ   ต้น      

            เย็น   เก็บ   แก่น   

  

      5).    วันพฤหัสบดี    

           เช้า    เก็บ   แก่น

           สาย   เก็บ   ใบ  

           เที่ยง  เก็บ   ราก      

           เย็นเก็บ      เปลือก

 

      6).     วันศุกร์   

            เช้า    เก็บ   ใบ

            สาย   เก็บ   ราก

            เที่ยง  เก็บ   เปลือก  

            เย็น    เก็บ   ต้น

     

     7).      วันเสาร์ 

           เช้า     เก็บ   ราก

           สาย    เก็บ   ต้น

           เที่ยง   เก็บ   เปลือก  

           เย็น    เก็บ   ใบ

 

4. การเก็บตัวยาตามยาม 

    (กาลเวลา) 

 


1) กลางวัน

        1).      (  06.00 - 09.00 น. )   ยาม 1   

              เก็บ  ใบ, ดอก, ลูก   

  

        2).      (  09.00 - 12.00 น. )   ยาม 2    

              เก็บ  กิ่ง, ก้าน     

 

        3).      (  12.00 - 15.00 น. )   ยาม 3   

             เก็บ  ต้น, เปลือก, แก่น

 

        4).      (  15.00 - 18.00 น. )   ยาม 4     

             เก็บ  ราก


 

2) กลางคืน

       1).   ( 18.00-21.00 น. )  ยาม 1 

             เก็บ  ราก   

  
   2).      ( 21.00-24.00 น. )  ยาม 2  

             เก็บ ต้น, เปลือก, แก่น


   3).      ( 24.00-03.00 น. )  ยาม 3

             เก็บ กิ่ง, ก้าน   

  
   4).      ( 03.00-06.00 น. )  ยาม 4 

              เก็บ ใบ, ดอก, ลูก

 

ตัวยาประจำธาตุ

ในร่างกายของมนุษย์เราประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 ชนิด 

คือ ธาตุดิน 20 ประการ

            ธาตุน้ำ 12 ประการ

            ธาตุลม ประการ

            ธาตุไฟ 4 ประการ,

            อากาศธาตุ คือ ช่องว่างในร่างกาย

           10 ประการ 

ธาตุต่างๆเหล่านี้ถือเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค 

ฉะนั้นเมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดเจ็บป่วยหรือพิการ

ขึ้นมาตามคัมภีร์ได้จัดลักษณะตัวยาประจำธาตุ 

และรสยาแก้ตามธาตุไว้ดังนี้

 

 1. ลักษณะตัวยาประจำธาตุ 

 


        1).      ดอกดีปลี              

               ประจำ ปถวีธาตุ คือ  

               ธาตุดิน 20 ประการ

  

        2).     รากช้าพลู       

               ประจำ อาโปธาตุ คือ 

               ธาตุน้ำ 12 ประการ

 

        3).    เถาสะค้าน      

               ประจำ วาโยธาตุ คือ  

               ธาตุลม  6 ประการ     

 

        4). รากเจตมูลเพลิง     

               ประจำ เตโชธาตุ คือ

               ธาตุไฟ  4 ประการ

     

         5).    เหง้าขิงแห้ง   

               ประจำ ธาตุอากาศ คือ

               ช่องว่างภายในร่างกาย

               10 ประการ ได้แก่  ตา 2, หู 2

               จมูก 2, ปาก 1,ทวารหนัก 1,

               ทวารเบา 1, ช่องคลอด 1

 

    2. รสยาแก้ตามธาตุ


        1).  ปถวีธาตุพิการ         

            แก้ด้วยยา รสฝาด, หวาน, มัน, เค็ม

 

        2).  อาโปธาตุพิการ  

            แก้ด้วยยา รสเปรี้ยว, ขม,  เมาเบื่อ 

 

        3). วาโยธาตุพิการ    

            แก้ด้วยยา รสสุขุม, เผ็ด, ร้อน

 

        4). เตโชธาตุพิการ 

            แก้ด้วยยา รสเย็น, จืด


---------------------------------------------


ความรู้พื้นฐาน ประวัติการแพทย์แผนไทย

จรรยาแพทย์ และจรรยาเภสัช

หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html
 
 ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 
 และสมุนไพร
---------------------------------------------


อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
          สาขาเภสัชกรรม

               กองการประกอบโรคศิลปะ
 

Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ





No comments:

Post a Comment