Saturday, January 25, 2014

เภสัชกรรมไทย สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ และสีผสมอาหารจากธรรมชาติ

เภสัชกรรมไทย
สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ 
และสีผสมอาหารจากธรรมชาติ




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เภสัชกรรมไทย
สมุนไพรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ
สมุนที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ในประเทศไทยนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ใช้เป็นอาหารและนำมาใช้ปรุงเป็นยารักษาโรค ในหัวข้อนี้จึงขอยกรายชื่อมาให้ทราบพอสังเขป ดังนี้

กระเจี๊ยบแดง


1. กระเจี๊ยบแดง

กระชาย


2. กระชาย

กระไดลิง



3. กระไดลิง

กระดอม


4. กระดอม

 กระแตไต่ไม้


5. กระแตไต่ไม้

กระเบียน (มะกอกพราน)
6. กระเบียน

กระพังโหม
7. กระพังโหม

กระเม็งตัวเมีย
8. กระเม็งตัวเมีย

กำแพงเจ็ดชั้น


9. กำแพงเจ็ดชั้น

กำยาน


10. กำยาน

กำลังเสือโคร่ง




11. กำลังเสือโคร่ง

กำลังช้างเผือก (กำลังช้างสาร)


12. กำลังช้างเผือก (กำลังช้างสาร)

กัลปังหา

13. กัลปังหา

กัลป์พฤกษ์
14. กัลป์พฤกษ์

ชัยพฤกษ์
15. ชัยพฤกษ์

คูน (ราชพฤกษ์)



16. คูน

กระดูกไก่ดำ

17. กระดูกไก่ดำ

กรุงเขมา

18. กรุงเขมา

แก่นขนุน
19. แก่นขนุน

กระชับ
20. กระชับ

ขมิ้นเครือ


21. ขมิ้นเครือ

ข้าวเย็น (ข้าวเย็นเหนือ, ข้าวเย็นใต้)



22. ข้าวเย็น (ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย้นใต้)

ขอนดอก
23. ขอนดอก

ครอบจักรวาล (ครอบทั้ง 3)



24. ครอบจักรวาฬ (ครอบทั้ง 3)

จันทนา (จันทน์ขาว)
25. จันทนา (จันทน์ขาว)

เจตมูลเพลิงขาว

26. เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงแดง


27. เจตมูลเพลิงแดง

ชะพลู (ช้าพลู)


28. ชะพลู

หญ้าชันกาด

29. หญ้าชันกาด

หญ้าไซ
30. หญ้าไซ

หญ้าตีนกา
31. หญ้าตีนกา

น้ำนมราชสีห์

32. หญ้าน้ำนมราชสีห์

หญ้านาง



33. หญ้านาง

หญ้านางแดง
34. หญ้านางแดง

โด่ไม่รู้ล้ม


35. โด่ไม่รู้ล้ม

ดองดึง


36. ดองดึง


ตะโกนา


37. ตะโกนา

ตะไคร้บก
38. ตะไคร้บก

ตะไคร้หางสิง
39. ตะไคร้หางสิง

ตานขโมย
40. ตานขโมย

ตาลดำ

41. ตานดำ

ตีนเป็ด

42. ตีนเป็ด

เถาปล้อง (ทองระอา)


43. เถาปล้อง (ทองระอา)

 เถาลิ้นเสือ
44. เถาลิ้นเสือ

เถาวัลย์เปรียง

45. เถาวัลย์เปรียง

เท้ายายม่อมดอกแดง



46. เท้ายายม่อมดอกแดง

เทียนดำ
47. เทียนดำ

ทองพันชั่ง

48. ทองพันชั่ง

บัวบกหัว
49. บัวบกหัว

บัวน้ำ, บัวสาย




50. บัวน้ำ, บัวสาย

ประดู่ส้ม

51. ประดู่ส้ม

เปราะป่า


52. เปราะป่า

เปราะหอมขาว

53. เปราะหอมขาว

ไผ่เหลือง

54. ไผ่เหลือง

ผักกาดนา
55. ผักกาดนา

ผักโขมหนาม

56. ผักโขมหนาม

ผักโขมหัด

57. ผักโขมหัด

ผักคราดหัวแหวน

58. ผักคราดหัวแหวน

ผักหนาม

59. ผักหนาม

ผักบุ้งจีน
60. ผักบุ้งจีน

ผักเป็ดแดง

61. ผักเป็ดแดง

ผักเสี้ยนผี
62. ผักเสี้ยนผี

ฝีหมอบ
63. ฝีหมอบ

แฝกหอม
64. แฝกหอม

พระขรรค์ไชยศรี 
(หนาวเดือนห้า 
หรือฝนแสนห่า) 
65. พระขรรค์ไชยศรี (หนาวเดือน หรือฝนแสนห่า)

พระจันทร์ครึ่งซีก
66. พระจันทร์ครึ่งซีก

มะเดื่อชุมพร

67. มะเดื่อชุมพร

ยาดำ

68. ยาดำ

ทองระอา หรือลิ้นงูเห่า

69. ลิ้นงูเห่า

เลือดแรด
70. เลือดแรด

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ

สีผสมอาการจากธรรมชาติ
         การปรุงรส และตบแต่งอาหารอย่างเหมาะสม ทำให้อาหารที่ได้มีลักษณะ และรสชาติที่ชวนรับประทานอาหารของไทยทั้งคาว และหวาน นิยมปรุงแต่งสีให้ดูสวยงาม แต่เดิมสีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหารส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ คือได้จาก ส่วนดอก ผล แก่น ใบ เหง้า และบางครั้งก็ได้จากสัตว์ ในระยะหลังมีสีสังเคราะห์เกิดขึ้น จึงได้มีการนำสีสังเคราะห์มาใช้ในการปรุงอาหารกันมากขึ้น 

         สีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารได้จากการสังเคราะห์สารเคมีทางวิทยาศาสตร์ผ่านการค้นคว้าทดลองปรากฏว่า หลายชนิดเป็นอันตรายต่อคนในระยะยาว เรื่องนี้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรปได้มีการค้นคว้าเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง พร้อมทั่งสั่งระงับการใช้สีสังเคราะห์หลายชนิดที่ตรวจพบว่าเป็นอันตรายต่อคนทั้งระยะสั้น และระยะยาว

         ในเมืองไทย จากการสุ่มตัวอย่างอาหารหลายชนิด เช่น ไส้กรอก น้ำปลา ข้าวเกรียบกุ้ง กุ้งแห้ง หรือขนมสำหรับเด็กตรวจแล้วพบว่าอาหารบางอย่างใส่สีผสมอาหารที่ไม่ถูกต้องตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ใส่สีย้อมผ้าอยู่บ่อยครั้ง เพราะสีย้อมผ้าราคาถูก ใส่เพียงเล็กน้อยสีก็จะเด่นชัดขึ้นมา 

         สีสังเคราะห์จะเป็นอันตายต่อผู้บริโภค บางคนรับประทานเข้าไปอาจะเกิดแพ้สี อาการคล้ายแพ้ยาแอสไพริน คือ คลื่นไส้ อาเจียน มีริมผีปากดำ ถ้าเป็นสีผสมสารหนู คนไข้จะมีอาการน้ำลายฟูมปาก หายใจไม่ออก สีที่มีตะกั่ว คนไข้ที่แพ้ หรือรับประทานเข้าไปมากจะทำให้โลหิตจาง ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อหมดกำลัง อาจพิการสมองอาจถูกกระทบกระเทือนไปด้วย

         สีผสมอาหารที่เป็นสีสังเคราะห์ไม่ควรใช้เลย เพราะบางตัวถ้าใช้บ่อย และปริมาณมาก อาจทำให้เกิดพิษได้ เนื่องจากสีนั้นอาจจะไปเกาะหรือเคลือบตามเยื่อบุกระเพาะลำไส้ ทำการดูดซึมของกระเพาะลำไส้ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดอาการท้องเดิน อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด ชีพจร และการหายใจอ่อน ถ้าเป็นมากประสาทและสมองเป็นอัมพาต อาจเป็นมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และในที่อื่นๆ


         การควบคุมยังทำไม่ทั่วถึง จึงทำให้ในท้องตลาดมีอาหารที่ผสมด้วยสีที่เป็นอันตรายหลายอย่างในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคจึงควรเลือกอาหารที่สาสีผสมอาหารจากธรรมชาติเป็นอันดับแรกหรือเลือกอาหารที่ไม่ใส่สี หากทำอาหารรับประทานเอง ควรใช้สีจากธรรมชาติ เพราะจะได้อาหารที่มีความปลอดภัย ความสะอาด และประหยัดอีกด้วย สีผสมอาหารจากธรรมชาติที่จะแนะนำในที่นี้นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสีจากธรรมชาติ และมีการใช้กันมามาก สามารถเลือกใช้ได้ตามชนิดของอาหาร ความชอบ ดังต่อไปนี้

1. กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดง
ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง), ผักเก็งเค็ง , 
ส้มเก็งเค็ง (เหนือ), ส้มตะแลงเครง (ตาก), ส้มปู (เงี้ยว–แม่อฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus sabdariffa


ลักษณะของพืช กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3 - 6 ศอก กิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอก และกลีบเลี้ยงจะเจริญขึ้น มีสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดไว้ภายใน ใช้เมล็ดปลูก ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ส่วนที่ใช้ กลีบเลี้ยง

วิธีใช้
ใช้กลีบเลี้ยงแห้ง หรือสด ต้มกับน้ำเคี่ยวให้สีแดงออกมามากที่สุด กรองเอากากที่เหลือออกโดยผ้าขาวบางบีบน้ำออกจากกลีบให้หมด น้ำกระเจี๊ยบที่ได้สีแดงเข้ม (สาร Anthocyanin) นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ หรือนำไปเติมน้ำตาล เกลือเล็กน้อยปรุงเป็นเครื่องดื่มก็ได้ 

2. ขมิ้น
ขมิ้น
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป), ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่), ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้), ตายอ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร), 
สะยอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) 
ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa

ลักษณะของพืช ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลงหัวในฤดูแล้ง เนื้อในของเหง้าขมิ้นสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ในรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง มีกลีบประดับสีเขียวอมชมพู ใช้เหง้าปลูก และปลูกได้ทั่วไป

ส่วนที่ใช้ เหง้าดิน

วิธีใช้
ใช้เหง้าสด ล้างน้ำ ปอกเปลือก บดหรือตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นกรอง จะได้น้ำสีเหลืองเข้ม (สาร Curcumin) นำไปแต่งสีอาหารคาวเช่น แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ แกงเหลือง อาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ทำให้มีสีเหลืองน่ากิน


3. คำฝอย
                                                 คำฝอย
ชื่อท้องถิ่น ดอกคำ (เหนือ) คำยอง คำ (ทั่วไป) 
ชื่อวิทยาศาสตร์Carthamus tinctorius

ลักษณะของพืช คำฝอยเป็นพืชล้มลุกสูงราว 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม กานใบสั้น ใบรูปร่างรียาว ริมใบหยักแหลม เนื้อใบเรียบ ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อัดกันแน่นบนฐานดอก รูปร่างกลมเหมือนกับดอกดาวเรืองดอกย่อยสีเหลืองค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่สีส้มแดง ใช้เมล็ดปลูก และปลูกได้ทางเหนือของประเทศไทย

ส่วนที่ใช้ ดอกแก่

วิธีใช้ เอาดอกแก่มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร saffower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง



4. คำแสด

คำแสด
ชื่อท้องถิ่น คำเงาะ คำแงะ คำแฝด คำยง ชาตี (เขมร), จำปู้ ส้มปู้ (เขมร – สุรินทร์), มะกายหยุม แสด (เหนือ), หมากมอง (แม่ฮ่องสอน)
 ชาด ดอกชาติ (ใต้)ชาตรี (อีสาน), คำไทย คำผง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bixa orellana L.

ลักษณะของพืช เป็นไม้พุ้มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนๆ มีเกล็ดสีน้ำตาลคลุมอยู่มาก ใบติดกับลำต้นแบบเวียนสลับตัวใบรูปร่างคล้ายโพธิ์ ขอบใบเรียบ ปลายแหลม ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อมี 8 -50 ดอก ดอกสีชมพูอมม่วงหรือแดง ผลรูปไข่ปลายแหลม ขณะยังอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงจนแห้งกลายเป็นสีน้ำตาล มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ใช้เมล็ดปลูก

ส่วนที่ใช้ เมล็ด

วิธีใช้ นำเมล็ดมาแช่น้ำแล้วคนแรงๆ หรือนำเมล็ดคำแสดมาบดแล้วแช่น้ำ กรองเอาเมล็ดออกด้วยผ้าขาวบางตั้งไว้ให้สีตกตะกอน รินน้ำใสทิ้ง นำตะกอนสีแสด (สาร BIXIN) ที่ได้ไปแต่งสีอาหารประเภทไขมัน เช่น ฝอยทอง เนย ไอศกรีม และยังใช้ย้อมผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมได้ด้วย องค์การอนามัยโลก กำหนดให้รับประทานสีที่สกัดจากเมล็ดคำแสดได้ไม่เกิน 0.065 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน


5. เตย

เตย
ชื่อท้องถิ่น ปานะวองิง (มาเลย์ – นราธิวาส), 
หวานข้าวใหม่ (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์Pandanus amaryllifolius


ลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุก ออกเป็นกอ มีรากอากาศบนข้อข้างลำต้น ใบเดี่ยว ขยี้ดมกลิ่นหอม ใบติดกับลำต้นแบบเวียนสลับแน่นอยู่โดยรอบ ใบรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม ริมใบเรียบ ส่วนปลายใบ และตามเส้นกลางใบด้านหลัง มีหนามเล็กๆ ไม่เคยพบดอก ปลูกโดยวิธีแยกหน่ออ่อน

ส่วนที่ใช้ ใบสด

วิธีใช้ นำใบเตยสดที่สะอาดหั่นตามขวางโขลก เติมน้ำเล็กน้อย คั้น กรอง ผ่านผ้าขาวบาง จะได้น้ำสีเขียว (santophyll และ chlorophyll) มีกลิ่นหอม ใช้แต่งสีอาหารคาว และหวานได้ นิยมใช้แต่สีอาหารหวาน เช่น ลอดช่อง ขนมเปียกปูน วุ้นกะทิ น้ำเก๊กฮวย เค้ก เป็นต้น บางทีก็เอาใบมาโขลกพอแหลก ต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเล็กน้อย ทำเป็นชาใบเตย มีสีเขียว กลิ่นหอมชื่นใจ



6. ฝาง

ฝาง
ชื่อท้องถิ่น ฝางส้ม (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์Biancaea sappan

ลักษณะของพืช
ไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 10 เมตร ตามลำดับต้นและกิ่งมีหนามอยู่ทั่วไป ใบติดกับลำต้นแบบสลับ ลักษณะประกอบด้วยใบย่อยเล็กๆ มากมาย ดอกติดกับก้านใบย่อย ซึ่งงอกก้านใบรวมเป็นคู่ตรงข้ามกันรูปร่างของใบย่อยกลมมนปลายใบมน ใต้ใบมีขน ดอกเป็นช่อสีเหลือง มีเส้นสีแเดงบนกลีบดอก ฝักแบนยาว และใหญ่ภายในเมล็ด

 2 - 4 เมล็ด ใช้เมล็ดปลูก

ส่วนที่ใช้ แก่น

วิธีใช้ นำแก่นมาแช่น้ำ จะได้น้ำสีชมพูเข้ม ( sappan red) ใช้สีแต่งอาหารได้
7. อัญชัน


 

อัญชัน
ชื่อท้องถิ่น แดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน (หนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์Clitoria ternatea


ลักษณะของพืช อัญชันเป็นไม้เลื้อยขึ้นเองตามธรรมชาติ ใบติดกับลำต้นแบบสลับประกอบด้วยใบย่อย 5 - 7 ใบ ใบย่อยรูปร่างรีหรือขอบขนาน ปลายใบมน เนื้อใบด้านบนค่อนข้างเรียบ หรือมีขนอ่อนทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกสีน้ำเงินอมม่วง ตอนกลางดอกมีสีเหลือง ฝักค่อนข้างแบบยาว 5 - 12 เซนติเมตร มีขนอยู่ทั่วไปใช้เมล็ดปลูก และควรทำหลักหรือค้างให้อัญชันเลื้อย

ส่วนที่ใช้ ดอกสด

วิธีใช้ ใช้กลีบดอกสด ตำ เติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู

---------------------------------------------------------------------------------


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต


---------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
สาขาเภสัชกรรม
กองการประกอบโรคศิลปะ



Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

ตรวจทานแล้ว


No comments:

Post a Comment