Tuesday, January 21, 2014

เภสัชกรรมไทย เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ จำพวกหัว-เหง้า

เภสัชกรรมไทย
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกหัว-เหง้า



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย
พืชวัตถุ 
จำพวกหัว-เหง้า

          พืชวัตถุ จำพวกหัว-เหง้า ได้แก่ พรรณไม้ที่ไม่ใช้หัวหรือเหง้าฝังลงดิน ส่วนมากเป็นพืชล้มลุก เมื่อเข้าฤดูฝน ฝนตกลงมาก็แตกหน่อออกต้นเจริญงอกงาม และเมื่อถึงฤดูแล้ง ฝนไม่มีก็เหี่ยวเฉาลง ล้มแห้งตายไป เมื่อถึงฤดูฝนก็แตกหน่อเจริญงอกงามมาใหม่อีกเป็นดังนี้เรื่อยไป บางชนิดก็ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี บางชนิดทนทานต่อความแห้งแล้งไม่ค่อยได้ แล้วแต่ชนิดของพืช จะกำหนดแน่นอนไม่ได้ แต่ที่เรียกกันว่าหัวนั้น ต้องมีลักษณะกลม ถ้ายาวก็ต้องมีลักษณะกลมมากกว่า 
          เหง้านั้น อาจเป็นลักษณะแบนเป็นปุ่มเป็นแง่งหรือยาวรี มีลักษณะต่างๆ กัน พวกหัว เช่น หัวบุก หัวกลอย และหัวกระดาด ส่วนหง้า และแง่งจะหาดูได้ง่าย เช่น เหง้าสับปะรด เหง้าข่า แง่งขิง แง่งไพล แง่งกระชาย และหาข้อพึงสังเกตเอาไว้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร พวกนี้ตามท้องถิ่นทั่วๆ ไปนิยมเรียกกันว่าหัว หรือเหง้า  ดังต่อไปนี้

1. กระชาย
 กระชายเหลือง

ดอกกระชายเหลือง 


 
แง่งรากใหญ่ติดกับหัวกระชายเหลือง

หัวกระชายแห้ง

กระชายแดง

กระชายดำ


หัวกระชายดำ

1. กระชาย ไม้ล้มลุกลงหัว มี 3 ชนิด คือ 
กระชายเหลือง กระชายดำ กระชายแดง 
นิยมใช้อย่างเหลือง
  • หัว รสเผ็ดร้อนขมหอม 
  • สรรพคุณ แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล 
  • ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้ปวดมวนในท้อง 
  • แก้บิดมูกเลือด บำรุงกำลัง 
  • แง่ง หรือรากใหญ่ ที่ติดกับหัว 
  • รสเผ็ดร้อนขมเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้กามตายด้าน ทำให้จิตใจ
  • กระชุ่มกระชวย มีคุณสมบัติคล้ายโสมจีน
-------------------------------------

2. กระเช้าผีมด (หัวร้อยรู)



2. กระเช้าผีมด หรือ หัวร้อยรู ไม่ใช่ไม้ลงหัว 
เป็นพวกกล้วยไม้เป็นโป่งใหญ่ที่ข้อ และลำต้น
  • หัว รสเย็นเบื่อ 
  • สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ขับชีพจร 
  • ขับพยาธิในท้อง แก้พิษในข้อกระดูก 
  • แก้เม็ดประดง 
--------------------------------------

3. กระดาดทั้ง 2


                                        



3. กระดาดทั้ง 2 ไม้ลงหัว มี 2 ชนิด คือ 
กระดาดแดง กระดาดขาว
  • หัว รสเมาขื่น 
  • สรรพคุณ หุงกับน้ำมัน ใส่แผล 
  • กัดฝ้าแผล กัดหนอง แก้เรื้อรัง 
  • รับประทานแก้เถาดานในท้อง 
  • และกัดเมือกมันในท้องได้ดีอีกด้วย
--------------------------------------

4. กะแตไต่ไม้
                           



กระแตไต่ไม้แห้ง

4. กระแตไต่ไม้ ลักษณะคล้ายกล้วยไม้ 
เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ๆ
  • หัว รสจืดเบื่อ 
  • สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว 
  • แก้เบาหวาน เบื่อพยาธิ แก้ไตพิการ 
  • แก้แผลผุพอง
--------------------------------------

5. กะทือ



หัวกะทือแห้ง

5. กะทือ ไม้ลงหัวจำพวกขิง
  • หัว เหง้า รสขมขื่นน้อยๆ 
  • สรรพคุณ บำรุงน้ำนมสตรีให้สมบูรณ์ 
  • แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับผายลม 
  • ขับปัสสาวะ หัวกะทือหมกไฟ
  • ฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน แก้ปวดเบ่ง 
  • แก้บิด แก้เสมหะ เป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก 
  • กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยอาหารให้ลงลำไส้
  • ราก รสขมขื่นเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้ไข้ตัวเย็น 
  • แต่รู้สึกร้อนภายใน 
  • ต้น รสขมขื่น 
  • สรรพคุณ แก้เบื่ออาหาร 
  • ทำให้เจริญอาหาร 
  • ใบ รสขมขื่นเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ ขับเลือดเน่าในมดลูก 
  • และขับน้ำคาวปลา หลังคลอดบุตรใหม่ๆ 
  • ดอก รสขมขื่น 
  • สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง 
  • ไข้จับสั่นผอมเหลือง แก้ไข้ตัวเย็น

---------------------------------------------------

6. กะทือป่า




6. กะทือป่า ไม้ลงหัว
  • หัว เหง้า รสขมขื่นเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ บำรุงน้ำนมสตรีให้บริบูรณ์ 
  • แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด ขับผายลม 
  • ขับปัสสาวะ หัวกะทือหมกไฟ
  • ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ปวด เบ่ง 
  • แก้บิด แก้เสมหะเป็นพิษ แก้แน่นหน้าอก 
  • กล่อมอาจม ขับน้ำย่อยอาหารให้ลงลำไส้
  • ราก รสขมขื่นน้อยๆ 
  • สรรพคุณ แก้ไข้ตัวเย็น แต่ร้อนใน 
---------------------------------------

7. กระเทียม



7. กระเทียม ไม้ลงหัวต้นเล็ก
  • หัว รสร้อนฉุน 
  • สรรพคุณ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง กลาก 
  • เกลื้อน แผลเน่า เนื้อร้าย บำรุงธาตุ 
  • ขับโลหิตระดู แก้โรคประสาท 
  • น้ำคั้นจากหัว หยอดหู แก้ปวดหู และหูอื้อ
---------------------------------------------------

8. กลอย



8. กลอย ไม้ลงหัว
  • หัว รสขื่นคัน 
  • สรรพคุณ กัดเถาดานเป็นก้อนแข็ง
  • อยู่ในท้อง หุงกับน้ำมัน ทาแผล 
  • กัดหนอง และฝ้า
-------------------------------------

9. กระวาน







9. กระวาน ไม้มีเหง้าหรือหน่อคล้ายข่า มี 2 ชนิด 
คือ ชนิดขาว และชนิดดำ สรรพคุณเหมือนกัน
  •  ใบ รสเผ็ดเล็กน้อยกลิ่นหอม 
  • สรรพคุณ ขับลมให้ผายเรอ ขับเสมหะ 
  • แก้ไข้เซื่องซึม 
  • ดอก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว 
  • ลูก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ ขับเสมหะ โลหิต และลม
--------------------------------------

10. ขมิ้นชัน




10. ขมิ้นชัน ไม้ลงหัว
  • หัว รสฝาดเอียน 
  • สรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดี คลั่งเพ้อ 
  • แก้ไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง 
  • แก้เสมหะ และโลหิต ท้องร่วง สมานแผล
--------------------------------------

11. ขมิ้นอ้อย




11. ขมิ้นอ้อย ไม้ลงหัว
  • หัว รสฝาดเฝื่อน 
  • สรรพคุณ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว 
  • สมานลำไส้ แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ 
  • ตำพอกแก้ฟกบวม อักเสบ 
  • ใบ รสเฝื่อน 
  • สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้บวมช้ำ 

---------------------------------------

12. ข่าใหญ่


12. ข่าใหญ่ (ข่าหลวง) เป็นพืชลงหัว
จำพวกกระวาน โคนต้นขาว หัวขาว
  • เหง้า หัว รสเผ็ดร้อนขม 
  • สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่น 
  • ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ 
  • แก้บิดตกโลหิต แก้ลมป่วง แก้เกลื้อน 
  • แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำผสมกับเกลือ
  • มะขามเปียกให้สตรีคลอดใหม่ๆ 
  • รับประทานขับเลือด ขับน้ำคาวปลา 
  • ใบ รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ กลาก ต้มน้ำอาบ 
  • แก้ปวดเมื่อยตามข้อ 
  • ดอก รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ท่าแก้เกลื้อน กลาก 
  • ผล รสเผ็ดร้อนฉุน 
  • สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง 
  • คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืดเฟ้อ 
  • แก้บิดมีตัว และไม่มีตัว 
  • ต้นอ่อน (หน่อ) รสเผ็ดร้อนหวานเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้ลมแน่นหน้าอก 
  • บำรุงเตโชธาตุ ช่วยย่อยอาหาร 
  • ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า 
  • สรรพคุณ ตำผสมน้ำมันมะพร้าว 
  • ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ 
  • แก้ปวดข้อ แก้ลมตะคริว 
  • ราก รสเผ็ดร้อนปร่า 
  • สรรพคุณ แก้เลือดเดินไม่สะดวก 
  • แก้เหน็บชา แก้เสมหะ และโลหิต
--------------------------------------

13. ข่าตาแดง



13. ข่าตาแดง ลักษณะเหมือนข่าใหญ่ 
แต่เล็กกว่าเล็กน้อย โคนต้นสีแดง 
หน่อขึ้นใหม่แดง รสจัดกว่าข่าหลวง 
  • เหง้า หัว รสเผ็ดร้อนขม 
  • สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่น 
  • ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษ 
  • แก้บิดตกโลหิต แก้ลมป่วง แก้เกลื้อน 
  • แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำผสมกับเกลือ
  • มะขามเปียกให้สตรีคลอดใหม่ๆ 
  • รับประทานขับเลือด ขับน้ำคาวปลา
  • ใบ รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ฆ่าตัวพยาธิกลาก ต้มน้ำอาบ 
  • แก้ปวดเมื่อยตามข้อ 
  • ดอก รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ทาแก้เกลื้อน กลาก 
  • ผล รสเผ็ดร้อนฉุน 
  • สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง 
  • คลื่นเหียน อาเจียน ท้องอืดเฟ้อ
  •  แก้บิดมีตัว และไม่มีตัว 
  • ต้นอ่อน (หน่อ) รสเผ็ดร้อนหวานน้อยๆ 
  • สรรพคุณ แก้ลมแน่นหน้าอก 
  • บำรุงเตโชธาตุ ช่วยย่อยอาหาร 
  • ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า 
  • สรรพคุณ ตำผสมน้ำมันมะพร้าว 
  • ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ 
  • แก้ลมตะคริว 
  • ราก รสเผ็ดร้อนปร่า 
  • สรรพคุณ แก้เลือดเดินไม่สะดวก 
  • แก้เหน็บชา แก้เสมหะ และโลหิต
--------------------------------------

14. ข่าลิง (ข่าเล็ก, ข่าน้อย)



14. ข่าลิง (ข่าเล็ก, ข่าน้อย) 
ลักษณะเหมือนข่าใหญ่ทุกประการ 
แต่เล็กกว่าเท่าตัว
  • หัว เหง้า รสเผ็ดร้อนซ่า 
  • สรรพคุณ แก้กามโรค 
  • แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ 
  • ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า 
  • สรรพคุณ แก้ฝีดาษ ฝีทราย 
  • ฝีเส้น ฝีฝักบัว 
  • ใบ รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ แก้เกลื้อนน้อยใหญ่ ฆ่าพยาธิ 
  • ดอก ผล รสเผ็ดร้อนขมซ่า 
  • สรรพคุณ ขับพยาธิลำไส้ 
  • ฆ่าพยาธิภายนอก 
  • ราก รสเผ็ดร้อนหอม 
  • สรรพคุณ แก้พิษฝีภายใน-ภายนอก
---------------------------------------

15. ข่าน้ำ (ดาหลา)





15. ข่าน้ำ (ดาหลา) ต้นใบคล้ายข่า 
แต่เล็กกว่า ต้นเอนคล้ายกะทือ
  • หัว เหง้า รสเผ็ดร้อนเฝื่อน 
  • สรรพคุณ แก้เม็ดประดง 
  • แก้ผื่นคันตามผิวหนัง 
  • ต้น หน่ออ่อน ดอก รสเผ็ดร้อนซ่า 
  • สรรพคุณ แก้เสมหะในคอ 
  • แก้ลมแน่นหน้าอก (อุระเสมหะ) 
  • บำรุงเตโชธาตุให้สมบูรณ์ 
  • แก้เลือดออกตามไรฟัน 
---------------------------------------

16. ข้าวเย็นใต้






16. ข้าวเย็นใต้ ไม้เลื้อยลงหัวชนิดนี้ 
เนื้อในหัว สีขาว
  • หัวและราก รสกร่อยหวานมันเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้กามโรค 
  • น้ำเหลืองเสียพุพอง ขับปัสสาวะ 
  • ใบ รสขื่น สรรพคุณ แก้ปากบวม อักเสบ 
  • ดอก รสขื่นเบื่อ 
  • สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้คุดทะราด 
  • ผล รสขื่นจัด 
  • สรรพคุณ ลนไฟนาบลูกอัณฑะ 
  • แก้อัณฑะอุ้ง (ไส้เลื่อน)
--------------------------------------

17. ข้าวเย็นเหนือ






17. ข้าวเย็นเหนือ ไม้เถาลงหัว 
เนื้อในหัวสีเหลือง
  • หัวและราก รสกร่อยหวานมันเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้กามโรค แก้เส้นเอ็นพิการ 
  • แก้น้ำเหลืองเสียพุพอง 
  • ผื่นคัน แก้ปัสสาวะ 
  • ต้น รสจืดเย็น 
  • สรรพคุณ แก้ไข้เรื้อรัง ไข้ตัวร้อน 
  • ใบ รสจืดเย็น 
  • สรรพคุณ แก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต 
  • ผล รสขื่นจัด สรรพคุณ แก้ลมริดสีดวง

---------------------------------------

18. ขิงแครง (ขิงป่า)

18. ขิงแคลง (ขิงป่า) ไม้ลงหัว หรือลงแง่ง 
แต่เล็กกว่าขิงบ้าน
  • เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ แก้ไข แก้ลมพรรดึก 
  • แก้ลมพานไส้ แก้แน่น แก้เสียดแทง 
  • แก้นอนไม่หลับ แก้คลื่นเหียน อาเจียน 
--------------------------------------

19. ขิงบ้าน


19. ขิงบ้าน ไม้ลงหัวจำพวกเป็นแง่ง หรือเหง้า
  • เหง้า รสหวานเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด 
  • เจริญอากาศธาตุ 
  • ต้น รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ขับลมให้ผายเรอ 
  • ใบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ บำรุงกำเดา 
  • ดอก รสเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ แก้โรคประสาท 
  • ซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว 
  • ราก รสหวานเผ็ดร้อน 
  • สรรพคุณ ขับเสมหะในลำคอ เจริญอาหาร 
---------------------------------------

20. เข้าค่า

20. เข้าค่า ไม้ต้นลงหัว
  • หัว รสร้อน 
  • สรรพคุณ แก้ฟกบวม แก้พยาธิ 
  • แก้คุดทะราด 
  • ยาง รสร้อนจัด 
  • สรรพคุณ กัดน้ำลาย 
  • แต่เป็นพิษต่อร่างกาย 
--------------------------------------

21. คล้า หรือ คลุ้ม

21. คล้า หรือ คลุ้ม ไม้ลงหัวหรือเหง้า 
เป็นกอคล้ายข่า
  • หัว รสเย็นเบื่อ 
  • สรรพคุณ แก้ไข้สูง ไข้พิษ ไข้กาฬ 
  • แก้พิษไข้ตัวร้อน (ลดความร้อน) 
  • แก้ไข้เหนือ แก้ปอดบวม 
  • แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้รากสาด 
  • แก้ไข้หัด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ
---------------------------------------

22. คูน

22. คูน ไม้ลงหัว ต้นคล้ายบอน
  • หัว รสเผ็ดขื่นคัน 
  • สรรพคุณ แก้ก้อนเถาดานในท้อง 
  • สุมเป็นเถ้าถ่านผสมยา แก้พิษไข้ตัวร้อน 
  • แก้ไข้เซื่องซึม แก้พิษตานซางเด็ก 
  • หุงกับน้ำมัน ทาบาดแผล กัดฝ้า 
  • กัดหนองได้ดี
--------------------------------------

23. ง่อนตาหงาย



23. ง่อนตาหงาย ไม้ต้นเล็กๆ ลงหัว
  • หัว รสเย็น 
  • สรรพคุณ ถอนพิษของเบื่อเมา 
  • ถอนพิษไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น

--------------------------------------

24. ดองดึง



24. ดองดึง ไม้เถาเลื้อยขนาดเล็กลงหัว
  • หัว รสร้อนเมา 
  • สรรพคุณ แก้โรคเรื้อน คุดทะราด 
  • แก้ปวดข้อ (รูมาติซั่ม) แก้กามโรค 
  • แก้พิษสัตว์กัดต่อย 
---------------------------------------

25. เต่าเกียด




25. เต่าเกียด ไม้พุ่มลงหัว
  • หัว รสเย็นหอมฉุย 
  • สรรพคุณ แก้ตับปอดพิการ ชักตับ 
  • กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ 
--------------------------------------

26. ถั่วพู


หัวถั่วพู

หัวถั่วพูต้มสุก

26. ถั่วพู ไม้เถาเลื้อยชนิดลงหัว
  • หัว รสหวานชุ่ม 
  • สรรพคุณ ชูกำลัง บำรุงครรภ์ 
  • แก้อ่อนเพลีย บำรุงดวงใจ ให้ชุ่มชื่น 
--------------------------------------

27. ท้าวยายม่อม




27. ท้าวยายม่อม ไม้ชนิดลงหัว
  • หัว ทำแป้งเรียกว่า 
  • แป้งท้าวยายม่อม รสมัน 
  • สรรพคุณ ผสมน้ำตาลกรวด 
  • ให้คนไข้รับประทาน บำรุงกำลัง 
  • บำรุงหัวใจ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น 
---------------------------------------

28. บุก




28. บุก ไม้ล้มลุกลงหัว
  • หัว รสเบื่อเมาคัน 
  • สรรพคุณ กัดเถาคาน กัดเสมหะ 
  • หุงกับน้ำมันทาแผลกัดฝ้า กัดหนอง 

--------------------------------------

29. บัาน้ำ บัวสาย




29. บัวน้ำ, บัวสาย อันที่จริงจำพวกบัวน้ำ
หรือบัวสายนี้ เป็นพืชประเภทที่อยู่ในน้ำมีหัว 
และเหง้าด้วยก็เลยเอามาอธิบาย
ในพืชจำนวนนี้ด้วย คือ
   1) บัวขม สายเล็ก พันธุ์ดอกขาว
   2) บัวกินสาย สายขนาดกลาง 
พันธุ์ดอกขาวแกมชมพู
   3) บัวสัตตบุษย์ สายใหญ่ 
พันธุ์ดอกขาวปลอด
   4) บัวสัตตบรรณ สายใหญ่ พันธุ์ดอกสีแดง 
และสีชมพู
   5) บัวจงกลนี สายใหญ่ พันธุ์ดอกสีชมพู
   6) บัวเผื่อน สายขนาดกลาง 
พันธุ์ดอกสีซีดขาว
   7) บัวผัน สายเห็ด พันธุ์ดอกสีคราม 
ถ้าดอก บัวสีม่วง หรือสีชมพู สาย 
และดอกจะใหญ่ บัวทั้งหมดนี้ 
มีสรรพคุณเหมือนกันคือ
  • ดอก รส ฝาดหอมเย็น 
  • สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
  • บำรุงกำลัง แก้ไข้ตัวร้อน
  • เมล็ด (คั่ว) รสขมหอม 
  • สรรพคุณ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร 
  • หัว รสหอมมัน 
  • สรรพคุณ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง 
  • บำรุงครรภ์ 
-------------------------------------

30. บัวบกป่า (บัวสันโดษ)



30. บัวบกป่า ไม้ลงหัว (บัวสันโดษ)
  • หัว รสเบื่อขมเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ 
  • เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ 
  • แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
--------------------------------------

31. บัวหลวง





 เหง้าบัวหลวง



ดีบัว 

ดีบัวแห้ง

เกสรบัวหลวงแห้ง

31. บัวหลวง ไม้จำพวกเหง้า มีชนิดต่างๆ ดังนี้
   1) บัวหลวงแดง พันธุ์ดอกสีแดง
   2) บัวหลวงขาว พันธุ์ดอกสีขาว
   3) บัวสัตตบงกชแดง พันธุ์ดอกสีแดงซ้อน
   4) บัวสัตตบงกชขาว พันธุ์ดอกขาวสีซ้อน 
รวมทั้ง 4 ชนิดคือมีคุณสมบัติเหมือนกันคือ
  • เหง้า รสหวานมันเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน 
  • กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้ไข้เพื่อดี 
  • แก้อาเจียน แก้ไข้ตัวร้อน
  • ดอก รสฝาดหอม 
  • สรรพคุณ บำรุงครรภ์ แก้ไข้ 
  • ทำให้เกิดลมแบ่งคลอดบุตรได้ง่าย
  • เกสร รสฝาดหอม 
  • สรรพคุณ แก้ไข้ รากสาด หรือไข้ท้องเสีย 
  • ชูกำลังทำให้ชื่นใจ บำรุงครรภ์ รักษา
  • ฝัก รสฝาด 
  • สรรพคุณ แก้ท้องเสีย แก้พิษเห็ดเมา 
  • ขับรกให้ออกเร็วเวลาคลอดบุตร
  • เปลือกเมล็ด รสฝาด 
  • สรรพคุณ แก้ท้องร่วง สมานแผล
  • เมล็ด รสหวานมัน 
  • สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงไขข้อ 
  • ทำให้กระชุ่มกระชวย 
  • ดีบัว รสขม 
  • สรรพคุณ ขยายหลอดเลือดในหัวใจ 
  • แก้กระหายหลังจากอาเจียนเป็นโลหิต 
  • แก้น้ำกามเคลื่อนขณะหลับ
  • ใบอ่อน มีวิตามินซี รสฝาดเปรี้ยว 
  • สรรพคุณ บำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น
  • ใบแก่ รสฝาดเปรี้ยวเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้ไข้บำรุงเลือด
---------------------------------------

32. ปรงบ้าน



32. ปรงบ้าน ไม้พุ่มลงหัว
  • หัว รสเย็นเบื่อ 
  • สรรพคุณ ฝนกับน้ำปูนใสทา 
  • แก้ลำลาบเพลิง งูสวัด เริม 
  • ดับพิษปวดแสบปวดร้อน 
--------------------------------------

33. ปรงป่า



33. ปรงป่า ไม้ลงหัวใหญ่
  • หัว รสฝาดเย็น 
  • สรรพคุณ ฝนกับสุราทา แก้ฟกบวม 
  • สมานแผล แก้แผลเรื้อรัง แผลกลาย 
  • ดอก รสเผ็ด 
  • สรรพคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ 
  • แก้ลม แก้ดี และเสมหะพิการ 
--------------------------------------

34. เปราะป่า



34. เปราะป่า ไม้ลงหัว 
  • หัว รสเผ็ดขมจัด 
  • สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา 
  • ขับลมในลำไส้ ตำสุมศีรษะเด็ก 
  • แก้หวัด กำเดา
--------------------------------------

35. เปราะหอมขาว


35. เปราะหอมขาว ไม้ลงหัวชนิดเดียวกับ
เปราะหอมแดง
  • หัว ใบ รสร้อนหอม 
  • สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ให้ผายเรอ 
  • แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ทำยาสุมขม่อมเด็ก 
  • แก้หวัด กำเดา ซางชัก และลมซาง 
  • ต้น รสหอมติดร้อน 
  • สรรพคุณ ขับเลือดเน่าของสตรี
  • หลังคลอดบุตร 
  • ดอก รสหอมฉุย 
  • สรรพคุณ แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา 
  • ร้องไห้ตาค้าง ชักตาเหลือก 

 ---------------------------------------

36. เปราะหอมแดง



36. เปราะหอมแดง ไม้ลงหัวจำพวกมหากาฬ
  • หัว รสหอมเผ็ดเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ ขับเลือด ขับหนองให้ตก 
  • แก้ไอ แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน
  • ต้น รสหอมเผ็ดเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ 
  • ใบ รสร้อนกลิ่นหอม 
  • สรรพคุณ แก้เกลื้อนวงใหญ่
  • ดอก รสหอมติดร้อน 
  • สรรพคุณ แก้โรคตาอักเสบ ตาแฉะ
--------------------------------------

37. พุทธรักษาดอกแดง

37. พุทธรักษาดอกแดง ไม้ล้มลุกลงหัว
  • หัว รสเย็นขื่น 
  • สรรพคุณ บำรุงปอด แก้อาเจียน 
  • และไอเป็นโลหิต 
---------------------------------------

38. ไพล





38. ไพล ไม้ลงหัว
  • หัว รสฝาดขื่นเอียน 
  • สรรพคุณ ตำคั้นผสมกับ
  • เกลือสะตุ 1 ช้อนโต๊ะรับประทาน
  • ถ่ายพิษบิด ขับลมในลำไส้ 
  • ขับประจำเดือนสตรี 
  • ฝนทาแก้เคล็ดบวมยอก 
  • และผสมกับน้ำมันเบนซิน 
  • ทาแก้เหน็บชาชนิดบวม สมานแผล 
  • ใบ รสขื่นเอียน 
  • สรรพคุณ แกครั่นเนื้อครั่นตัว 
  • แก้ปวดเมื่อย 
  • ต้น รสฝาดขื่นเอียน 
  • สรรพคุณ แก้อุจจาระพิการ 
  • แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ 
  • ดอก รสขื่น 
  • สรรพคุณ แก้ช้ำใน 
  • กระจายเลือดเป็นก้อนเป็นนิ่ม 
  • ราก รสเบื่อเอียน 
  • สรรพคุณ แก้เลือดกำเดาออกทาง
  • ปากทางจมูก แก้อาเจียนเป็นโลหิต
--------------------------------------

39. มหากาฬ


39. มหากาฬ (ว่านมหากาฬ) ไม้ลงหัว 
  • หัว รสเย็น 
  • สรรพคุณ ดับพิษกาฬ ดับพิษร้อน 
  • แก้พิษไข้เซื่องซึม แก้กระสับกะส่าย 
  • แก้พิษอักเสบ 
  • ใบ รสเย็น 
  • สรรพคุณ ตำพอกถอนพิษฝี แก้อักเสบ 
  • ปวดแสบปวดร้อน
-------------------------------------

40. มหาสแดง

40. มหาสแดง ไม้กอลงหัว
  • หัว รสเย็น 
  • สรรพคุณ แก้ไข้ แก้พิษร้อน 
  • แก้พิษหัวกาฬ แก้ตัวร้อน ขับปัสสาวะ 
--------------------------------------

41. ยั้ง



41. ยั้ง ไม้เถาเลื้อยลงหัว
  • หัว รสหวานมัน 
  • สรรพคุณ ดับพิษ แก้เส้นเอ็นพิการ 
  • แก้กามโรค น้ำเหลืองเสีย เข้าข้อ

---------------------------------------

42. เร็ดหนู

42. เร็ดหนู ไม้ต้นเล็ก ๆ ลงหัว
  • หัว ราก รสร้อนเล็กน้อย 
  • สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร 
  • แก้อ่อนเพลีย แก้กามตายด้าน

--------------------------------------

42. ลำพันแดง
                            





43. ลำพันแดง หรือ ลำพันข้าว 
ไม้ลงเหง้าอยู่ริมทะเล
  • เหง้า รสเค็มกร่อย 
  • สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตรี 
  • ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด 
  • แก้โลหิตระดูทำพิษให้คลั่งเพ้อ

--------------------------------------

44. หวายตะมอย



44. หวายตะมอย ไม่ใช่ไม้ลงหัว 
(พวกกล้วยไม้)
  • ใบ รสเย็น 
  • สรรพคุณ แก้มือเท้าเย็น บำรุงหัวใจ 
  • ทำให้ชีพจรเต้นเร็ว แก้ไข้กาฬ 
  • กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อน ขับพยาธิ
---------------------------------------

45. สิงหโมรา



45. สิงหโมรา ไม้กอลงเหง้า 
ลำต้นเป็นหนามสีแดง
  • เหง้า ก้าน ใบ รสขมร้อน 
  • สรรพคุณ บำรุงโลหิต ช่วยย่อยอาหาร 
  • ขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร
--------------------------------------

46. โสม



โสมจีน

 โสมจีน


 โสมอเมริกา

โสมอเมริกา

46. โสม ไม้เถาลงหัว มีโสมจีน 
และโสมอเมริกา จีนเรียก จินเส็ง 
จะนำมาใช้ได้ต้องมีอายุ 7 – 8 ปี
  • หัว ราก รสขมมัน 
  • สรรพคุณ บำรุงกำลังให้แข็งแรง
  • กระปรี้กระเปร่า บำรุงโลหิต 
--------------------------------------

47. โหรา

 (โหราบอน, โหราน้ำเต้า, 
โหราเดือยไก่, โหราเท้าสุนัข)

 โหราบอนหัว

โหราบอนหัว

โหราน้ำเต้า

ดอกโหราน้ำเต้า

โหราเดือยไก่

หัวโหราเดือยไก่

โหราเท้าสุนัข

47. โหรา ไม้ต้นเล็ก ๆ ลงหัว 
ส่วนมากได้มาจากประเทศจีน 
ในประเทศไทยมีบ้างเล็กน้อย
  • หัว รสเมาเบื่อ 
  • สรรพคุณ ขับเสมหะ แก้หอบหืด 
  • แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด 
--------------------------------------

48. อุตพิด



48. อุตพิด ไม้กอลงหัว
  • หัว รสขื่นคัน 
  • สรรพคุณ แก้ไอ ขับปัสสาวะ 
  • กัดล้างเสมหะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก 
  • แก้ริดสีดวงจมูก แก้โรคท้องมาน
-------------------------------------------

เภสัชกรรมไทย 

เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 

จำพวกต้น (กรรณิกา-คางแดง) ดอก

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html

เภสัชกรรมไทย

เภสัชวัตถุ

ประเภทสัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_6556.html

 

เภสัชกรรมไทย

เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ จำพวกเถา-เครือ

(กรด-เถาวัลย์ปูน)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_47.html


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

--------------------------------------


อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
เภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ


Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

ตรวจทานแล้ว





No comments:

Post a Comment