Tuesday, January 21, 2014

เภสัชกรรมไทย เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ จำพวกต้น กรรณิกา ถึง คางแดง

เภสัชกรรมไทย
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น 1 (กรรณิกา-คางแดง)



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ
จำพวกต้น (กรรณิกา - คางแดง)

         เภสัชวัตถุ คือ วัตถุธาตุนานาชนิดที่นำมาใช้ประกอบเป็นยารักษาโรค ตามคัมภีร์แพทย์กล่าวไว้ว่า “สรรพวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ล้วนเกิดขึ้นแต่ธาตุ ทั้ง 4 ย่อมเป็นยารักษาโรคได้ทั้งสิ้น” ตามคำกล่าวก็อาจจะเป็นได้ แต่จะมีสรรพคุณ และประโยชน์มากน้อยอย่างไรต้องสุดแล้วแต่ชนิดของวัตถุนั้นๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ให้ลึกซึ้งถึงรูปลักษณะ ส่วนที่ใช้ ชนิดของวัตถุธาตุอ่อน หรือแก่ เก่า หรือใหม่ สดหรือแห้ง มีคุณภาพดีหรือเลวอย่างไร เมื่อนำมาใช้แล้วจะมีสรรพคุณจริงตามตำราหรือไม่ การเอาใจใส่อย่างละเอียด และปราณีตอย่างนี้ ต้องมีอยู่ประจำตัวเภสัชกรเสมอ 

เภสัชวัตถุจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 

         ประเภทที่ 1 พืชวัตถุ ได้แก่ พรรณไม้ต่างๆ จำแนกออกได้เป็นพืชจำพวกต้น, พืชจำพวกเถา-เครือ, พืชจำพวกหัว-เหง้า, พืชจำพวกผัก และพืชจำพวกหญ้า ซึ่งจะต้องรู้จักส่วนต่างๆ ของพืชที่นำมาใช้เป็นยา เป็นต้นว่า ราก, หัว, ต้น, กะพี้, แก่น, เปลือก, ใบ, ดอก, เกสร, ผล, เมล็ด ว่ามี รูป, สี, กลิ่น, รส และมีชื่อเรียกอย่างไร

        ประเภทที่ 2 สัตว์วัตถุ ได้แก่ ร่างกายและอวัยวะของสัตว์ทั้งหลาย จำแนกสัตว์ออกได้เป็นสัตว์บก, สัตว์น้ำ และสัตว์อากาศ ซึ่งจะต้องรู้จักส่วนต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นยา เป็นต้นว่า ขน, เขา, เขี้ยว, นอ, หนัง, กราม, กรวด, น้ำดี, เล็บ, กระดูก ว่าเป็นของสัตว์อะไร มีรูป, สี, กลิ่น, รส และมีชื่อเรียกอย่างไร 

        ประเภทที่ 3 ธาตุวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นเอง หรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุ หรือสิ่งสังเคราะห์ขึ้น จำแนกธาตุออกได้เป็นธาตุที่สลายตัวได้ง่าย และธาตุที่สลายตัวได้ยาก ซึ่งจะต้องรู้จักแร่ธาตุนั้นๆ ว่ามีรูป, สี, กลิ่น, รส และมีชื่อเรียกอย่างไร

หลักในการพิจารณาตัวยา 5 ประการ 

ในการที่จะรู้จักเภสัชวัตถุนั้นๆ จำเป็นต้องรู้ให้ลึกซึ้งถึงรูปลักษณะพื้นฐานของวัตถุธาตุ ซึ่งมีหลักในการพิจารณาตัวยา 5 ประการ คือ 

1. รูป คือ การรู้รูปลักษณะของตัวยานั้นว่ามีรูปร่างที่ปรากฏเป็นอย่างไร ถ้าเป็นพืชวัตถุก็ต้องรู้ว่าเป็นพืชจำพวกต้น จำพวกเถา จำพวกหัว จำพวกผักหรือหญ้าว่ามีส่วนต่างๆ เช่น ต้น ราก ใบ ดอก ผล มีรูปอย่างไร ถ้าเป็นสัตว์วัตถุก็ต้องรู้ว่าเป็นสัตว์จำพวก สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์อากาศว่ามีอวัยวะต่างๆ เช่น ขน เขา นอ เขี้ยว กระดูกมีรูปเป็นอย่างไร ถ้าเป็นธาตุวัตถุ ก็ต้องรู้ว่าเป็นธาตุสลายตัวได้ง่าย ธาตุสลายตัวได้ยากว่า มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว เป็นเกล็ด เป็นแผ่น หรือเป็นผง เป็นต้น เรียกว่า รู้จักรูปของตัวยา 

2. สี คือ การรู้สีของตัวยานั้นว่ามีสีอะไร เช่น ใบไม้มีสีเขียว กระดูกสัตว์มีสีขาว แก่นฝางมีสีแดง ยาดำมีสีดำ จุนสีมีสีเขียว กำมะถันมีสีเหลือง เป็นต้น เรียกว่ารู้จักสีของตัวยา




3. กลิ่น คือ การรู้กลิ่นของตัวยานั้นว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร อย่างนี้กลิ่นหอม หรือกลิ่นเหม็น เช่น กฤษณา กำยาน อบเชย ดอกมะลิ ชะมดเช็ด อำพันทอง มีกลิ่นหอม ยาดำ กำมะถัน กระดูกสัตว์ มหาหิงคุ์ มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น เรียกว่ารู้จักกลิ่นของตัวยา




4. รส คือ การรู้รสของตัวยานั้นว่ามีรสเป็นอย่างไร ให้รู้ว่าอย่างนี้รสจืด รสขม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเมาเบื่อ รสเผ็ดร้อน รสมัน รสหอมเย็น รสเค็ม หรือฝาด เช่น พริกไทย มีรสร้อน มะนาวมีรสเปรี้ยว น้ำผึ้งมีรสหวาน เป็นต้น เรียกว่ารู้จักรสของตัวยา

5. ชื่อ คือ การรู้ชื่อของตัวยานั้นว่าเขาสมมุติชื่อเรียกไว้อย่างไร เช่น สิ่งนั้นเรียกชื่อเป็น ข่า กะทือ มะขาม วัว กวาง เสือ เกลือ กำมะถัน ศิลายอน เป็นต้น เรียกว่า รู้จักชื่อของตัวยา

          ในหลัก 5 ประการดังกล่าวมานี้ จะเป็นข้อพิสูจน์ทำให้เรารู้ว่าเป็นตัวยาอะไร ฉะนั้นการจะรู้จักตัวยาได้นั้น จึงต้องอาศัยหลัก 5 ประการดังกล่าวมาแล้ว 

พืชวัตถุ
          จำพวกต้นได้แก่ พืชพรรณไม้ เป็นต้นเล็ก ต้นใหญ่ เป็นกอ เป็นพุ่ม มีแก่นบ้าง ไม่มีแก่นบ้าง ซึ่งนิยมเรียกกันว่า ต้น ส่วนมากใช้ราก แก่น เปลือก ใบ ฝักหรือลูก จะอธิบายถึงรสและสรรพคุณของส่วนที่ใช้ทำยา ดังต่อไปนี้

1. กรรณิกา (กันนิกา)


1. กรรณิกา (กันนิกา) ไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
  • ต้น    รสขมเย็น     สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ 
  • ใบ     รสขม           สรรพคุณ บำรุงน้ำดี
  • ดอก  รสขมหวาน  สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน 
  • ราก   รสขม           สรรพคุณ แก้ท้องผูก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นผมให้ดกดำ บำรุงผิวหนังให้สดชื่น 

2. กฤษณา (ไม้หอม)




2. กฤษณา (ไม้หอม ) ไม้ต้นขนาดย่อม ถึงขนาดกลาง
  • เนื้อไม้ รสขมหวาน สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้ลมหน้ามืด วิงเวียน 

3. กันเกรา (ตำเสา)




3. กันเกรา (ตำเสา) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • แก่น รสเฝื่อนฝาดขม สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด ไอมองคร่อ ริดสีดวง ท้องมาน แน่นหน้าอก ท้องเดิน มูกเลือด แก้พิษฝีกาฬ บำรุงม้าม บำรุงโลหิต แก้ปวดแสบ ปวดร้อน เป็นยาอายุวัฒนะ 
4. กรัก 
(แก่นขนุนละมุด)
ขนุนละมุด


4. กรัก (แก่นขนุนละมุด) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • แก่น รสหวานชุ่มขม สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต สมานแผล 
  • ใบ เผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสหยอดหู สรรพคุณ แก้ปวดหู แก้หูเป็นน้ำหนวก 
  • ไส้ในลูก รสฝาดหอมหวาน สรรพคุณ แก้ตกเลือดทางทวารเบาของสตรี กินแล้วทำให้เลือดหยุด 

5. กัลปพฤกษ์

5. กัลปพฤกษ์ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเล็กคล้ายขี้เหล็ก ดอกขาวคล้ายแคฝอย ฝักแบนยาว ข้างในเป็นชั้นๆ สีเทา ภายนอกฝักเป็นกำมะหยี่
  • เนื้อในฝัก รสขมเอียนติดหวานเล็กน้อย สรรพคุณ ระบายท้อง แก้อุจจาระ เป็นพรรดึก และระบายท้องเด็กได้ดี 

6. กัลปังหา 
(กาละปังหา)

6. กัลปังหา (กาละปังหา) ไม้พุ่มขนาดย่อม เกิดใต้ทะเล ไม่มีใบและดอก
  • เนื้อไม้ และต้น รสฝาด สรรพคุณ สมานแผล แก้เนื้อหนังฉีกขาด แก้บาดแผลตามเนื้ออ่อน 

7. กระเชา


7. กระเชา ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
  • เปลือก รสเมา สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ 

8. กระทิง


8. กระทิง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ใบ ขยำแช่น้ำสะอาดล้างตา สรรพคุณ แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว 
  • น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน สรรพคุณ ทาถูนวด แก้ปวดข้อ แก้เคล็ดขัดยอก บวม
  • ดอก กลิ่นหอม รสเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ 

9. กระแบก


9. กระแบก ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ คุมธาตุ แก้ท้องร่วง สมานแผล 

10. กระเบียน 
(มะกอกพราน)


10. กระเบียน (มะกอกพราน)ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • ใบ รสฝาด สรรพคุณ ตำพอกบาดแผลสดหายเร็ว 

11. กระเบา (กระเบาน้ำ)




11. กระเบา (กระเบาน้ำ) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ผลสุก รับประทานเนื้อในได้ คล้ายเผือก 
  • น้ำมันจากเมล็ดใน รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังต่างๆ แก้โรคเรื้อน 

12. กะโบลิง



12. กะโบลิงไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เปลือกต้น   รสเมาเบื่อ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงผม 
  • เปลือกต้น และผล รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ทาแก้ปวด ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ทากันทากกัด 

13. กะพังอาด 
(พญามือเหล็ก)


13. กะพังอาด (พญามือเหล็ก) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • แก่น และเนื้อไม้ รสขมเมาเล็กน้อย สรรพคุณ ดับไข้จับสั่น ดับพิษไข้ แก้กระษัย แก้โลหิต ลดความร้อน ฝนทาศีรษะ แก้รังแค

14. กระเพราทั้ง 2 (แดง, ขาว) 


14. กะเพราทั้ง 2 (แดง, ขาว) ไม้ต้นเล็ก
  • ใช้ทั้ง 5 รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ 
15. กระแจะ


15. กระแจะ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ผล รสมันสุขุม สรรพคุณ บำรุงร่างกาย 
  • เนื้อไม้ รสจืดเย็น สรรพคุณ บำรุงดวงจิต ขับผายลม แก้ไข้ 

16. กระเจี๊ยบแดง

16. กระเจี๊ยบแดง ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ขึ้นเป็นพุ่มเตี้ย
  • ใบ รสเปรี้ยว สรรพคุณ กัดเสลด ทำให้โลหิตไหลเวียนดี 
  • เมล็ดใน รสจืดเป็นเมือก สรรพคุณ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ 
  • ใช้ทั้ง 5 สรรพคุณ แก้พยาธิตัวจี๊ด 
  • ผล รสจืดเมาเล็กน้อย สรรพคุณ ขับเหงื่อ แก้ร้อนภายใน 

17. กระดังงาไทย


17. กระดังงาไทย ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • น้ำมันที่กลั่นออกจากดอก ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอาง 
  • ต้น กิ่ง ก้าน ใบ รสเฝื่อน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ปัสสาวะพิการ 
  • ดอก รสสุขุมกลิ่นหอม สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ 

18. กระโดงแดง


18. กระโดงแดง ไม้ยืนต้นขนาดย่อม
  • ใบ รสขมเมา สรรพคุณ ระงับปราสาท แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้นอนหลับสบาย 

19. กระโดน



19. กระโดน ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
เปลือกต้น รสฝาดเมา สรรพคุณ แก้พิษงู สมานแผล แก้เคล็ด เมื่อย
  • ดอก รสสุขุม สรรพคุณ บำรุงภายหลังคลอดบุตร 

20. กระโดนดิน

20. กระโดนดิน ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ไตพิการ แก้เบาหวาน 

21. กระตังใบ (กระตังบาย)

21. กระตังใบ (กระตังบาย) ไม้พุ่มขนาดย่อม
  • ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 

กระถินไซ่ง่อน

22. กระถินไซ่ง่อน ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ธาตุพิการ คุมธาตุ สมานแผล 
  • ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย 

23. กระถินเทศ 
(กระถินดอกหอม)


23. กระถินเทศ (กระถินดอกหอม) ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • ราก รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย เป็นยาอายุวัฒนะ 

24. กระถินไทย
(กระถินดอกขาว)


24. กระถินไทย (กระถินดอกขาว) ไม้พุ่มขนาดกลาง
  • ราก รสจืดเฝื่อน สรรพคุณ ขับระดูขาว ขับผายลม เป็นยาอายุวัฒนะ 

25. กระถินป่า



25. กระถินป่า ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
  • เปลือก และราก รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้อติสาร (ลงแดง) สมานแผล ห้ามเลือด 

26. กระถินพิมาน 
(กระถินวิมาน)



26. กระถินพิมาน (กระถินวิมาน) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ราก รสฝาดเฝื่อน สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย 
  • เห็ดที่เกิดขึ้นจากไม้กระถินพิมาน รสเบื่อเมา สรรพคุณ  แก้ปวดฝีในหู แก้เริม งูสวัด ผสมกับตัวยาแก้ใช้พิษ ไข้กาฬ 

27. กระทุ่ม



27. กระทุ่ม ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ใบ รสขมเฝื่อนเมา สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมวนในท้อง 

28. กระท้อนป่า

28. กระท้อนป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ราก (สุม) รสฝาดเย็น สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ 
       แก้ไข้
  • รากสด สรรพคุณ แก้บิด ใช้ผสมยามหานิล มหากาฬ 

29. กระท่อม


29. กระท่อม ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ใบ รสขมเฝื่อนเมา สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้บิด ปวดเบ่ง ท้องร่วงลงแดง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ถ้ารับประทานทำให้เมา อาเจียน คอแห้ง 

30. กระบือเจ็ดตัว 
(กระทู้เจ็ดแบก)

30. กระบือเจ็ดตัว (กระทู้เจ็ดแบก) ไม้พุ่มขนาดเล็ก
  • ใบ รสร้อน สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลา แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับเลือดหลังการคลอดบุตร 

31. การบูรขาว-ดำ

31. การบูรขาว-ดำ ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เมล็ดใน รสฝาด สรรพคุณ แก้บิด ท้องร่วง ปวดเบ่ง คุมธาตุ 
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ คุมธาตุ สมานแผล 

32. กระพี้เขาควาย


32. กระพี้เขาควาย ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  • เนื้อไม้ รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้พิษไข้กลับช้ำ ถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ร้อนใน
33. กราย (หางกราย)



33. กราย (หางกราย) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ลูก รสฝาด สรรพคุณ แก้บิด อุจจาระเป็นมูกเลือด ปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องเดิน 
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ กล่อมเสมหะ และให้อุจจาระเป็นก้อน แก้อุจจาระเป็นฟอง 
34. กรวยป่า

34. กรวยป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  • ใบ รสเมา สรรพคุณ แก้พิษกาฬ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ริดสีดวงจมูก 
  • ดอก รสเมาเย็น สรรพคุณ แก้พิษกาฬ พิษไข้ 
  • เมล็ด รสเมาเย็น สรรพคุณ แก้ริดสีดวงทวาร 

35. กล้วยตีบ

รากกล้วยตีบ
35. กล้วยตีบ ไม้ล้มลุก
  • ราก รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ท้องเสีย (ไข้รากสาด) แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • ใบ รสฝาด สรรพคุณ แก้ริดสีดวงจมูก แก้ผื่นคันตามผิวหนัง 
36. กวาวต้น



36. กวาวต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ดอก รสเย็น สรรพคุณ ถอนพิษไข้ ผสมยาหยอดตาแก้ตาฟาง ขับปัสสาวะ 
  • ยาง รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง 
  • ใบ รสเย็น สรรพคุณ ตำพอกถอนพิษฝีและสิว 
  • เมล็ด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน
  • ราก รสเมาร้อน สรรพคุณ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับพยาธิ แก้ริดสีดวงทวาร 

37. การะเกด


37. การะเกด เป็นไม้พุ่มจำพวกเตย
  • ดอก รสขมหอม สรรพคุณ แก้โรคเสมหะในอก บำรุงธาตุ ใช้ผสมยาหอม

38. การบูร


38. การบูร ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  • ใบ เปลือกต้น เนื้อไม้ กลั่นเป็นการบูรเกล็ด ได้รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้ธาตุพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไอ 

39. กาหลง


39. กาหลง ไม้พุ่มขนาดย่อมถึงกลาง
  • ดอก รสจืด สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิตสูง แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ 

40. กาสามปีก 
(เกล็ดปลาช่อน) 


40. กาสามปีก (เกล็ดปลาช่อน) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง และเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมก็มี
  • เปลือกราก รสจืดเฝื่อน สรรพคุณ แก้ปวด แก้เคล็ด บวม 
  • ใบ รสจืด สรรพคุณ แก้ไข้ 

41. ก้างปลาแดง

41. ก้างปลาแดง ไม้พุ่มขนาดกลาง
  • ราก รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ ขับพิษไข้หัว (หัด, สุกใส, ดำแดง) ลดความร้อน (แก้ตัวร้อน)

42. ก้างปลาทะเล

42. ก้างปลาทะเล ไม้พุ่มขนาดย่อม และเกิดตามชายทะเล
  • ใบ เนื้อไม้ รสกร่อยเค็ม สรรพคุณ แก้ไข้กำเดา รักษาตา
  • เปลือกต้น รสฝาดเค็ม สรรพคุณ สมานแผล ห้ามเลือด
  • ราก รสเย็นกร่อย สรรพคุณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษไข้กาฬ

43. กานพลู


43. กานพลู ม้ยืนต้นขนาดย่อม
  • ดอก รสร้อน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง แน่น จุกเสียด แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น แก้ท้องร่วง ชุบลำสีอุดฟันแก้ปวดฟัน ทุบดอกใส่ขวดนมให้เด็กรับประทาน

44. ก้ามกุ้ง ก้ามกาม 
ก้ามปู

44. ก้ามกุ้ง ก้ามกาม ก้ามปู ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เมล็ด รสเมา สรรพคุณ แก้กลาก เกลื้อน โรคเรื้อน
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ปากเปื่อยเป็นแผล แก้เหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวงทวาร

45. กุ่มน้ำ 



45. กุ่มน้ำ ไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง
  • ราก รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ ขับผายลม

46. กุ่มบก



46. กุ่มบก ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ใบ รสจืดเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ
  • เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง มักใช้ร่วมกับเปลือกต้นทองหลางใบมน
47. แก้ว



47. แก้ว ม้ยืนต้นขนาดย่อม
  • ใบ รสร้อนเผ็ด ขมสุขุม สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตี บำรุงธาตุ แก้จุกเสียดแน่นในท้อง ขับผายลม
  • รากแห้ง-สด รสเผ็ดขมสุขุม สรรพคุณ แก้ปวดสะเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้น แก้ฝีฝักบัวที่เต้านม แก้ฝีมดลูก แผลคัน พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

48. โกงกาง
โกงกางใบใหญ่

โกงกางใบเล็ก



48. โกงกาง (มีทั้งชนิดใบใหญ่ และใบเล็ก) ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง
  • เปลือกต้น รสฝาดเค็ม สรรพคุณ ห้ามโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้อติสาร

49. โกฐกะกลิ้ง 
(แสลงใจ, ลูกกะจี้, ว่านไฟต้น)


49. โกฐกะกลิ้ง (แสลงใจ, ลูกกะจี้, ว่านไฟต้น) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เมล็ด (มีส่วนผสมของสตริ๊คนิน) รสขมเมา สรรพคุณ แก้ลมอัมพาต อิดโรย บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ เจริญอาหารขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ถ้ารับประทานมากเป็นพิษทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขากรรไกรแข็ง
  • ใบ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำพอกแก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง

50. โกฐกักกรา

50. โกฐกักกรา ไม้ต้นขนาดกลาง รากส่งมาจากจีน อินเดีย ฮ่องกง
  • ราก รสฝาดน้อย เผ็ดร้อนซ่า สรรพคุณ ขับลมในลำใส้ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ดีพิการ ปวดหัวตัวร้อน นอนสะดุ้ง แก้ริดสีดวงทวาร

51. โกฐกระดูก



51. โกฐกระดูก เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง จากประเทศจีน
  • เปลือกราก รสร้อน กลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ขับลมในลำใส้ แก้โลหิตจา

52. โกฐก้านพร้าว





52. โกฐก้านพร้าว ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน
  • ราก มีลักษณะคล้ายทางหนูมะพร้าวแห้ง ไม่มีกลิ่นหอมใด ๆ รสเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หอบ แก้สะอึก แก้เสมหะเป็นพิษ

53. โกฐจุฬาลัมพา
   






53. โกฐจุฬาลัมพา ม้เนื้อ่อนล้มลุกเป็นพุ่มขนาดย่อม
  • ใช้ทั้งต้น รสขมกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ไข้เจรียง แก้ไข้ที่มีผื่นขึ้นตามตัว เช่น หัดเหือด สุกใส ดำแดง ฝีดาษ ไข้รากสาด แก้หืด ไอ แก้ไข้เพื่อเสมหะ

54. โกฐน้ำเต้า



54. โกฐน้ำเต้า ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • ราก (ปอกเปลือกออกนำไปนึ่งแล้วตากแห้ง) รสฝาดหอม สรรพคุณ แก่ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย บำรุงธาตุแก้ท้องอืด ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะและอุจจาระให้เดินสะดวก ระบายท้อง รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้เจ็บตา แก้ริดสีดวงทวาร

55. โกฐสอ

55. โกฐสอ ไม้ขนาดเล็กจำพวกโสม
  • ราก รสสุขมกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
56. กอมขม (ดีงูต้น)



56. กอมขม หรือ ดีงูต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เนื้อไม้ รสขม สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น และไข้ตัวร้อน
  • เปลือกต้น รสขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น (มาลาเรีย) ไข้ป้าง และไข้ทุกชนิด

57. ก่อ




57. ก่อ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นเหียนอาเจียน สมานแผล ห้ามโลหิต
  • เนื้อในเมล็ด รสหวาน สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงลำไส้ แก้อ่อนเพลีย

58. กำจัด 
(พริกหอม, ลุกระมาด, หมากมาด)




58. กำจัด (พริกหอม, ลูกระมาด, หมากมาด) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เมล็ด รสสุขุมกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้
  • รากและเนื้อไม้ รสร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน ขับระดู

59. กำลังช้างเผือก 
(กำลังช้างสาร)




59. กำลังช้างเผือก (กำลังช้างสาร) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เนื้อไม้ รสขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย บำรุงโลหิต

60. กำลังวัวเถลิง 
(กำลังทรพี)





60. กำลังวัวเถลิง (กำลังทรพี) ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • เนื้อไม้และเปลือกต้น รสขมเฝื่อน สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงร่างกาย แก่ปวดเมื่อยตามร่างกาย

61. กำลังเสือโคร่ง 
(กำลังพญาเสือโคร่ง)





61. กำลังเสือโคร่ง (กำลังพญาเสือโคร่ง) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เปลือกต้น รสร้อนเล็กน้อย กลิ่นหอม สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงเส้นเอ็น เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

62. กำลังหนุมาน 
(กำลังราชสีห์)



62. กำลังหนุมาน (กำลังราชสีห์) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เนื้อไม้และราก รสขม สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ คือ นอนสะดุ้ง ผวาหลับๆ ตื่นๆ ร้อนหน้าน้ำตาไหล

63. เกว้า 
(เขว้า, กำยาน, ชาติสมิง)





63. เกว้า (เขว้า, กำยาน, ชาติสมิง ) ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
  • ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง
  • ยอด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ปวดศีรษะ
  • ใบสด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำใส่แผลฆ่าเชื้อโรค
  • ยาง (เรียกว่ากำยาน) รสสุขุมหอม สรรพคุณ แก้ลม บำรุงเส้นเอ็น แก้หลอดลมอักเสบ สมานแผล แก้ขัดเบ

64. ขันทองพยาบาท 
(หมากดูก, ยางปรอก)




64. ขันทองพยาบาท ( หมากดูก, ยางปรอก) ไม้พุ่มขนาดใหญ่ หรือไม้ยืนต้นขนาดย่อม
  • เนื้อไม้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค 
  • เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ทำให้ฟันทน รักษาโรคตับพิการ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด กลาก เกลื้อน 

65. ข่าต้น 
(ตะไคร้ต้น, เทพทาโร)



65. ข่าต้น (ตะไคร้ต้น, เทพทาโร) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เนื้อไม้และราก รสร้อนกลิ่นหอมฉุน สรรพคุณ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง หน้ามืด วิงเวียน 
66. ขี้ครอก


66. ขี้ครอก ไม่พุ่มขนาดย่อมคล้ายมะเขือ
  • ใบ รสขื่น สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ 
  • ราก รสเย็น สรรพคุณ ถอนพิษไข้ทั้งปวง 
  • ใช้ทั้ง 5 รสขื่นเย็น สรรพคุณ แก้ไตพิการ 

67. ขี้หนอน



67. ขี้หนอน ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เปลือกต้น รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล
68. ขี้เหล็กบ้าน




68. ขี้เหล็กบ้าน ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ใบ รสขม สรรพคุณ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ถ่ายพรรดึก 
  • ดอก รสขม สรรพคุณ แก้หืด ฟอกศีรษะแก้รังแค แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ 
  • เปลือกต้น รสขม สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร
  • กระพี้ รสขม สรรพคุณ แก้ร้อนรุ่ม กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้
  • แก่น รสขม สรรพคุณ แก้กามโรค หนองใน แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้ไฟธาตุพิการ 
  • ราก รสขมเย็น สรรพคุณ แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ 

69. ขี้เหล็กเลือด


69. ขี้เหล็กเลือด ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบอ่อนมีสีแดงเข้ม
  • แก่น รสขมจัด สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ไตพิการ ปวดบั่นเอว ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต ขับระดูเสีย 

70. ขี้อ้าย



70. ขี้อ้าย ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • เปลือกต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้บิด แก้อุจจาระเป็นฟอง แก้ปวดเบ่ง สมานแผล 

71. เข็มขาว

71. เข็มขาว (เข็มใหญ่) ไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง
  • ราก รสหวาน สรรพคุณ แก้โรคตา เจริญอาหาร 

72. เข็มแดง (เข็มใหญ่)

72. เข็มแดง ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • ราก รสหวานเย็น สรรพคุณ แก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงธาตุ แก้บวม แก้เจ็บตัว 

73. เข็มป่า


73. เข็มป่า ไม้ยืนต้นขนาดย่อม ถึงขนาดกลาง
  • เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมลงเข้าหู
  • ใบ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิทั้งปวง 
  • ดอก รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้โรคตา ตาแฉะ ตาแดง 
  • ลูก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ริดสีดวงงอกในจมูก 
  • ราก รสเฝื่อน สรรพคุณ ขับเสมหะในท้อง ขับเสมหะในทรวงอกและแก้ฝีในท้อง 

74. เขยตาย 
(ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, เขยตายแม่ยายชักปก)


74. เขยตาย (ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, เขยตายแม่ยายชักปก) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางเนื้อแข็ง
  • ราก รสขื่นปร่า สรรพคุณ กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีภายใน และภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู พิษแมลงกัดต่อย แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง 
  • ดอกและลูก รสร้อนเมา สรรพคุณ ตำทารักษาโรคหิด 

75. ขอนดอก
ต้นพิกุล

 ต้นตะแบก



75. ขอนดอก ไม้ยืนต้นตายจากต้นพิกุล และต้นตะแบก ลักษณะเหมือนไม้ผุสีขาวเป็นจุด ในเนื้อไม้
  • ขอนดอก รสจืดหอม สรรพคุณ บำรุงตับ ปอด หัวใจ บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้ใจชุ่มชื่น 

76. ข่อย




76. ข่อย ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • แก่น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้แมงกินฟัน แก้ริดสีดวงจมูก 
  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้แมงกินฟัน แก้ปวดฟัน 
  • ใบ รสเมาอ่อน สรรพคุณ คั่วให้กรอบ ชงน้ำรับประทาน เป็นยาระบายอ่อนๆ 
  • เมล็ด รสมันร้อนน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ เป็นยาอายุวัฒนะ 
  • ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิ แผลเน่าเปื่อย 

77. ข่อยหย็อง (ข่อยเตี้ย)


77. ข่อยหย็อง หรือ ข่อยเตี้ย ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ราก และเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับเมือกมันในลำไส้ แก้กระษัยไตพิการ แก้คลื่นเหียน อาเจียน 

78. เขี้ยวงู (เล็บครุฑ)
 เขี้ยวงู

เล็บครุฑ

78. เขี้ยวงู (เล็บครุฑ) ไม้ต้นขนาดย่อม
  • ราก รสจืดเย็น สรรพคุณ แก้กระษัยไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้พิษซาง แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต 
  • เมล็ด รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษสัตว์กัดต่อย ถอนพิษ

79. ไข่เน่า



79. ไข่เน่า ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • เปลือกต้น รสฝาดหวานชุ่ม สรรพคุณ แก้พิษตานซาง แก้อุจจาระเป็นฟอง เหม็นเปรี้ยว แก้ท้องเสีย แก้ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง
  • ราก รสฝาดหวานเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร 

80. ไข่มด

80. ไข่มด ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ใบ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน 
  • ดอก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ขับพยาธิไส้เดือนในท้อง 
  • ลูก รสร้อน สรรพคุณ ตำพอกฝี บ่มหนองให้แตกเร็ว 
  • เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหู แก้แมงเข้าหู 
  • กระพี้ รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้เกลื้อนช้าง 
  • แก่น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้โรคเรื้อน 
  • ราก รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พยาธิ ขี้กลาก แก้รังแค 

81. คงคาเดือด
(หมากเล็กหมากน้อย)




81. คงคาเดือด (หมากเล็กหมากน้อย) ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
  • ใบ, เปลือก, ต้น รสเย็นเฝื่อน สรรพคุณ ต้นเอาน้ำอาบ แก้คัน แก้ทรางตัวร้อน 

82. คนทา 
(สีฟัน, กะลันทา)




82. คนทา (สีฟัน กะลันทา) ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • รากอ่อนแและต้น รสขมเฝื่อนฝาดเย็น สรรพคุณ แท้องร่วง บิด ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวลมทุกชนิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ 

83. คนทีสอเขมา 
(คนทีสอดำ)



83. คนทีสอเขมา หรือ คนทีสอดำ ไม้พุ่มขนาดใหญ่
  • เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ แก้ปวดท้อง แก้เลือด แก้ลม เป็นยาอายุวัฒนะ 
  • รากและใบ รสร้อน สรรพคุณ ต้มรับประทาน หรือประคบ แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุง และรักษาไข้ 
  • ใบสด รสร้อนหอม สรรพคุณ คั้นเอาน้ำรับประทานแก้ปวดศีรษะ รักษาเยื่อจมูกอักเสบ ถอนพิษสาหร่ายทะเล 
  • ยาง รสร้อนเมา สรรพคุณ บำรุงกำลัง ขับเลือดขับลมให้กระจาย ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง แก้คุดทะราด 
  • ราก รสเมาร้อน สรรพคุณ แก้ลม ขับเหงื่อ แก้ริดสีดวงแห้ง 

84. คัดลิ้น

84. คัดลิ้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่
  • ราก รสร้อนจัด สรรพคุณ แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น ห้ามใช้กับบุคคลที่เป็นโรคเส้นประสาทพิการ 

85. คันทรง



85. คันทรง มี 2 ชนิด คือไม้พุ่มขนาดย่อม และไม้ต้นขนาดย่อม แต่สรรพคุณเหมือนกัน
  • เปลือกต้น และใบ รสฝาดเฝื่อน สรรพคุณ ต้มอาบแก้บวม เนื่องจากโรคไต หัวใจพิการ น้ำเหลืองเสีย เหน็บชา 

86. คราม



86. คราม ไม้พุ่มต้นเล็ก
  • ใบ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ 
  • ต้น รสเย็น สรรพคุณ ฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้กระษัย แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น 

87. ครอบทั้ง 3
(ครอบจักรวาล, ครอบตลับ, ครอบฟันสี)




7. ครอบทั้ง 3 (ครอบจักรวาล, ครอบตลับ, ครอบฟันสี) ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน
   1) ครอบจักรวาล (สารเข้าเปลือก,ก่องเข้า)
   2) ครอบตลับ (มะก่องเข้าหลวง)
   3) ครอบฟันสี (ตอบแตบ, โผงผาง)
  • ต้น รสขม สรรพคุณ บำรุงโลหิต และขับลม 
  • ใบ รสขมติดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ บ่มหนองฝีให้แตกเร็ว 
  • ดอก รสขม สรรพคุณ ฟอกลำไส้ให้สะอาด บ่มหนองให้เกิดเร็ว 
  • ราก รสขม สรรพคุณ แก้ลม แก้ดี บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลือง บำรุงกำลัง 

89. คางแดง
(คาง, ก๋างขี้มอด, มะขามป่า) 


89. คางแดง (คาง, ก๋างขี้มอด, มะขามป่า) ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
  • เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้ฝี แก้พยาธิ เปื่อยเน่า แก้ลำไส้พิการ บำรุงธาตุ ฝนทารักษาโรคเรื้อน แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง ทาหัวฝี 
  • ใบ รสเฝื่อน สรรพคุณ แก้ไอ 
  • ดอก รสหวาน สรรพคุณ บำรุงธาตุ แก้ปวดบาดแผล แก้พิษฟกบวม แก้คุดทะราด แก้ตาอักเสบ 
--------------------------------------------------------


ความรู้พื้นฐาน ประวัติการแพทย์แผนไทย

จรรยาแพทย์ และจรรยาเภสัช

หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html


เภสัชกรรมไทย 
เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 
จำพวกต้น (กรรณิกา-คางแดง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post.html

เภสัชกรรมไทย 

เภสัชวัตถุ พืชวัตถุ

 จำพวกเถา-เครือ

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_47.html 

เภสัชกรรมไทย 

เภสัชวัตถุ ประเภทพืชวัตถุ 

จำพวกต้น (กรรณิกา-คางแดง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_22.html


เภสัชกรรมไทย 

สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน 

(กระเทียม-ชุมเห็ดเทศ)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_6472.html


เภสัชกรรมไทย 
สรรพคุณเภสัช
รสยาแก้ตามธาตุ, รสแก้ตามวัย

รสแก้ตามฤดู, รสแก้ตามกาล

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_34.html



เภสัชกรรมไทย 
คณาเภสัช
 (จุลพิกัด - พิกัด 4 สิ่ง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/1.html



สมุนไพรแห้ง 
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/09/blog-post_25.html


สมุนไพรสด 
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/04/thai-traditional-medicine.html



ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 

--------------------------------------------------------

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ

Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

ตรวจแล้ว





No comments:

Post a Comment