จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สรรพคุณเภสัช
สรรพคุณเภสัช คือ
การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหลักสรรพคุณเภสัชนี้เป็นหมวดที่สำคัญยิ่ง ท่านต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะตัวยาแต่ละอย่าง ถ้าไม่รู้สรรพคุณแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
ท่านอาจคิดว่าตัวยานั้นมีอยู่มีอยู่มากมายจะจำได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาของทุกท่าน มักจะคิดว่าตัวยามีสรรพคุณแก้อะไรยากที่จะจำให้ได้จึงขอแนะสิ่งที่ท่านต้องจดจำให้ได้ก่อน คือ “รสยา” ซึ่งรสของตัวยานี้จะแสดงถึงสรรพคุณของตัวยาใช้รักษาโรค การรู้จักว่ายานั้นมีสรรพคุณรักษาโรคอย่างไรสรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะรสแต่ละรสจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างกัน ซึ่งเภสัชกรต้องศึกษาให้รู้จักของยาให้ถ่องแท้ แล้วรสยานั้นเองจะแสดงสรรพคุณทันทีการจำแนกรสยาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ยารสประธาน แบ่งออกเป็น 3 รส
2. รสของตัวยา แบ่งออกเป็นยา 4 รส, ยา 6 รส, ยา 8 รส และยา 9 รส
ยารสประธาน
ยารสประธาน หมายถึง
รสของยาที่ปรุงหรือผสมเป็นตำรับแล้ว สิ่งที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นยานั้นประกอบด้วยวัตถุธาตุ 3 ประเภท คือพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ เมื่อนำมาประกอปรุงเป็นยาสำเร็จรูปแล้วจนเหลือรสของตัวยาสำเร็จรูปอยู่เพียง 3 รสเท่านั้น คือ
1. ยาขนานใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสเย็น ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์
ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ มาปรุงยารสเย็น เช่น ยามหานิล ยามหากาฬ ยาเขียว เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูร้อน
2. ยาขนาน ใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว
รสร้อน ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่รสร้อน เช่น เบญจกูล ตรีกฏุก เหง้าขิง กะเพรา มาปรุงเป็นยารสร้อน เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ ยาสัณฑฆาต ยาประสะกานพลู ยาประจุวาโย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองวาโยธาตุ
(ธาตุลม) แก้ลมกองหยาบ ลมจุกเสียดแน่น ลมพรรดึก บำรุงธาตุ ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูฝน
3. ยาขนานใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว
รสสุขุม ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก จันทร์เทศ เครื่องเทศที่ไม่ร้อน มาปรุงเป็นยารสสุขุม เช่น ยาหอมอินทร์จักร ยาหอมเนาวโกฐ ยาสังข์วิชัย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองอาโปธาตุ
(ธาตุน้ำ) แก้ไข้ที่ใช้ยารสเย็นไม่ได้ แก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียน ใจสั่นหวั่นไหว บำรุงกำลัง ใช้สำหรับแก้ไข้ ในกองฤดูหนาว
รสยาทั้ง 3 ที่ได้กล่าวมานั้น คือ
รสของยาที่ปรุงสำเร็จแล้ว นำไปใช้รักษาโรค และไข้เป็นหลักใหญ่ หรือเป็นแม่บท เรียกว่า รสประธาน
แต่ในส่วนของวัตถุธาตุแต่ละชนิด ก็จะมีรสยาแยกย่อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าวัตถุธาตุ ชนิดใด
จะดูดซับเอารสยาจากแผ่นดินเข้าไว้กับตัว ซึ่งสามารถแบ่งรสยาทั่วไป ออกเป็น 9
รส
----------------------------
รสของตัวยา 4 , 6 , 8 , 9 รส
รสยา 4 รส
ใน คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ได้กล่าวถึงรสยา 4 รส แก้โรคดังนี้
รสยาฝาด ซาบไป ในผิวเนื้อ และเส้นเอ็น
รสยาเผ็ด ชาบไป ในผิวหนังทุกเส้นขน
รสยาเค็ม ชาบไป ในที่เส้นเอ็น และกระดูกทั่วสรรพางค์กาย
รสยาเปรี้ยว ชาบไป ในเส้นเอ็นทั่วสรรพางค์กาย
----------------------------
รสยา 6 รส
ใน คัมภีร์วรโยคสาร ได้กล่าวถึงรสยา 6 รส แก้โรคดังนี้
1. มธุระ คือ รสหวาน ชอบกับยาให้เจริญรสธาตุ
2. อัมพิระ คือ รสเปรี้ยว ทำให้ดี ลม เสลดอนุโลมตามซึ่งตน และเจริญรสอาหาร บำรุงไฟธาตุกระทำสารพัดที่ดิบให้สุก ถ้าใช้เป็นเกิดคุณ ใช้ไม่เป็นเกิดโทษ
3. ลวณะ คือ รสเค็ม เผาโทษเผาเขฬะ ให้เจริญไฟธาตุ
4. กฏุกะ คือ รสเผ็ด กระทำให้กำลังน้อย ระงับความเกียจคร้าน ระงับพิษไม่ให้เจริญ บำรุงไฟธาตุ และให้อาหารสุก
5. ติตติกะ คือ รสขม เจริญไฟธาตุ แก้ร้อน แก้ระหายน้ำ กระทำให้มูตร และคูถบริสุทธิ์ เจริญรสอาหาร
6. กะสาวะ คือ รสฝาด เจริญไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ให้เจริญผิวกาย และเนื้อ
คุณสมบัติของยาแต่ละรส ให้แสลงกับโรคต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ คือ
รสเผ็ด รสขม และรสฝาด ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ ลมกำเริบ
รสเผ็ด รสเปรี้ยว และรสเค็ม ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ ดีกำเริบ
รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ เสลดกำเริบ
-----------------------------
รสยา 8 รส
ใน คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงยา 8 รส แก้โรคดังนี้ คือ
1. รสขม ย่อมซาบ ไปตามผิวหนัง
2. รสฝาด ย่อมซาบ มังสา (ชาบเนื้อ)
3. รสเค็ม ซาบ เส้นเอ็น
4. รสเผ็ด และรสร้อน ซาบ กระดูกไม่ได้เว้น
5. รสหวาน ย่อมซึมซาบ ลำไส้ใหญ่
6. รสเปรี้ยว ซาบ ลำไส้น้อย
7. รสเย็นหอม ซาบ หัวใจ
8. รสมัน ซาบ ที่ข้อต่อทั้งปวง
----------------------------
รสยา 9 รส
ในการศึกษาเรื่องสรรพคุณเภสัช ได้สรุปรสของวัตถุธาตุได้ 9 รส จำแนกให้ละเอียดออกไปดังนี้
1. รสฝาด สรรพคุณ มีฤทธิ์ทางสมาน เช่น สมานบาดแผลทั้งภายใน และภายนอก แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ
แสลงกับโรค ไอ ท้องผูก โรคลม โรคพรรดึก ท้องผูก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟ)
2. รสหวาน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ
แสลงกับโรค ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน โรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย บาดแผล
3. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน
แสลงกับโรค หัวใจพิการ ไอ
4. รสขม สรรพคุณ แก้ในทางโลหิต และดี แก้กำเดา แก้ไข้ต่างๆ เช่น ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
แสลงกับโรค หัวใจพิการ โรคลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ
5. รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมให้ผาย หรือเรอ บำรุงเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร
แสลงกับโรค ไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง
6. รสมัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย
แสลงกับโรค เสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ
7. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำดับพิษร้อน
แสลงกับโรค ลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง
8. รสเค็ม สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว
แสลงกับโรค อุจจาระธาตุพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล
9. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ
แสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสียและไข้ต่างๆ
หมายเหตุ นอกจากนี้ในตำราเวชศึกษายังเพิ่มรสจืด อีกหนึ่งรส สรรพคุณ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน แก้ทางเตโชธาตุ ไม่แสลงกับโรคใด
-----------------------------
ตัวอย่างของตัวยารสต่างๆ
ตัวยารสฝาด สำหรับสมาน ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ลูกเบญกานี รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมดลูก สมานบาดแผล
2. ทับทิมทั้ง 5 รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล
3. ลูกสมอพิเภกแก่ รสฝาด แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้บิด และแก้โรคตา
4. สีเสียดทั้ง 2 รสฝาด สมานบาดแผล และคุมธาตุ แก้ท้องร่ บิด แก้ลงแดง แก้อติสาร แก้บาดแผล ล้างบาดแผลที่ถูกไฟ
5. ฝรั่งทั้ง 5 รสฝาดเย็น ถอนพิษบาดแผล แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด และปวดเบ่ง
6. เปลือกนนทรี หรือเปลือกต้นตาเสือ รสฝาด กล่อมเสมหะ และโลหิต แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล ขับประจำเดือน รัดมดลูก ขับลมผาย แก้ท้องร่วง
7. เปลือกขี้อาย รสฝาด แก้อุจจาระเป็นฟอง แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง แก้ปวดเบ่ง คุมธาตุ ชะล้างบาดแผล
8. เปลือกเพกา รสฝาด ดับพิษโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย สมานบาดแผล ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ
9. เปลือกลูกมังคุด รสฝาด สมานบาดแผล แก้บิด แก้ลงท้อง ท้องเดิน ล้างแผล
10. ลูกกราย รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ คุมธาตุ สมานบาดแผล แก้ท้องร่วง
1. ลูกเบญกานี
2. ทับทิมทั้ง 5
3. ลูกสมอพิเภก
4. สีเสียดทั้ง 2
4.1) สีเสียดไทย
4.2) สีเสียดเทศ
5. ฝรั่งทั้ง 5
6. เปลือกนนทรี
7. เปลือกขี้อ้าย
8. เปลือกเพกา
9. เปลือกลูกมังคุด
10. ลูกกราย
----------------------------
ตัวยารสหวาน ซึมซาบไปตามเนื้อ ตัวยาและสรรพคุณ เช่น
1. ดอกคำไทย รสหวาน บำรุงโลหิต แก้แสบร้อนคันตามผิวหนัง แก้บิด แก้ไตพิการ
2. ดอกคำฝอย รสหวาน บำรุงโลหิตและน้ำเหลืองให้เป็นปกติ แก้แสบร้อน ตามผิวหนัง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู
3. งวงตาลโตนด รสหวานเย็น แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ บำรุงดวงจิตให้ชื่นบาน
4. ตานหม่อน รสหวานเย็น แก้พิษตานซาง ขับไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ
5. อ้อย กลิ่นหอม รสหวานเย็น น้ำอ้อยแดงรสหวานขมเล็กน้อย แก้เสมหะ และหืดไอ กระจายเสมหะ ขับปัสสาวะ
6. รากชะเอมจีน (ชะเอมเทศ) ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา แก้น้ำลายเหนียว
7. รากชะเอมไทย รสหวาน แก้โรคในคอ แก้ลมแก้รัตตะปิตตะโรค
8. เหง้าสับปะรด รสหวาน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการแก้นิ่ว แก้หนองใน ขับระดูขาว
9. ราก และดอกมะพร้าว รสหวาน แก้ลงท้อง แก้อ่อนเพลียแก้ปากเปื่อย แก้ไข้ตานซาง แก้ไข้กำเดา
10. ดอกอังกาบ รสหวาน แก้สตรีระดูขัด บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้
1. ดอกคำไทย
2. ดอกคำฝอย
3. งวงตาลโตนด
4. ตานหม่อน
5. น้ำอ้อย
6. รากชะเอมจีน (ชะเอมเทศ)
7. รากชะเอมไทย
8. เหง้าสับปะรด
9. ราก และดอกมะพร้าว
10. ดอกอังกาบ
----------------------------
ตัวยารสเมาเบื่อ แก้พิษ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ใบกระท่อม เมาเบื่อขมฝาด แก้บิดปวดมวน แก้ปวดท้องแก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
2. กัญชา รสเมา เจริญอาหาร ชูกำลัง ทำให้ใจขลาดกลัว
3. ใบลำโพง รสเมา แก้พิษฝี แก้ปวด แก้บวม แก้อักเสบ แก้หอบหืด
3.1 ดอกลำโพง รสเมาหวาน แก้หอบหืด
3.2 เมล็ดลำโพง รสเมามัน แก้ไข้พิษ ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย
(เวลาใช้ต้องทำให้น้ำมันในเมล็ดหมดไป)
3.3 น้ำมันจากเมล็ด รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อน หิด เหา
3.4 รากลำโพง รสเมาหวาน แก้พิษกาฬทั้งปวง ดับพิษร้อน แก้พิษร้อน แก้ปวก แก้บวม แก้อักเสบ แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้พยาธิ
4. สะแกทั้ง 5 รสเบื่อเมา ขับพยาธิ และไส้เดือนแก้โรคตานขโมย แก้ฝีตานซาง
5. ลูกกระเบียน / ลูกกระเบา รสเมาเบื่อ ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน แก้มะเร็ง คุดทะราด โรคเรื้อน กุฏฐัง
6. ลูกสะบ้าต่างๆ รสเมาเบื่อ (เผา) แก้พิษไข้ ทาแก้พยาธิทั้งปวง
7. รากขันทองพยาบาท รสเมาเบื่อ แก้พิษลม แก้ประดง แก้พยาธิต่างๆ
8. รากทองพันชั่ง รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อนผื่นคันดับพิษไข้ แก้โรคผิวหนัง และมะเร็ง
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5 รสเบื่อเอียน ขับพยาธิในลำไส้ รู้ถ่ายเองปิดเอง โรคผิวหนังทุกชนิด
10. เถากระไดลิง รสเมาเบื่อ แก้พิษทั่งปวง แก้ไข้เซื่องซึม ขับเหงื่อ
1. ใบกระท่อม
2. กัญชา
3. ใบลำโพง
3.1 ดอกลำโพง
3.1 ดอกลำโพง
ลูกลำโพง
3.2 เมล็ดลำโพง
ภาพ ลำโพง ใบ ดอก ลูก เมล็ด หมายเหตุ น้ำมันในเมล็ด ราก (ไม่มีภาพให้ดู)
4. สะแกทั้ง 5
4. สะแกทั้ง 5
6. ลูกกระเบียน
5. ลูกกระเบา
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้ามอญ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าดำ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าลาย
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าเลือด
7. รากขันทองพยาบาท
ทองพันขั่ง
8. รากทองพันชั่ง
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5
10. เถากระไดลิง
----------------------------
ตัวยารสขม แก้ทางโลหิต และดี ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เถาบอระเพ็ด รสขมเย็น แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้โลหิตบำรุงน้ำดี เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
2. เถามะระ รสขมเย็น บำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ
3. ลูกกระดอม รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ให้เจริญอาหาร
4. เถาชิงช้าชาลี รสขม แก้ไข้เหนืออันเกิดเพื่อโลหิต แก้ไข้ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เลือดในกายเย็น แก้สะอึก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร
5. เถาขี้กาแดง รสขม บำรุงน้ำดี ถ่ายล้างเสมหะให้ตก ดับพิษเสมหะและโลหิต
6. เปลือกต้นสะเดา รสขมฝากเย็น แก้บิดมูกเลือด
7. มะกาเครือ หรือสะไอเครือ รสขม แก้เสมหะเป็นพิษ แก้บิด แก้พยาธิ แก้ปวดเบ่ง ขับเสมหะ ขับฟอกโลหิตระดู
8. ใบ และลูกมะแว้งเครือ รสขม บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะ
9. ลูกประคำดีควาย รสขม แก้กาฬภายใน ดับพิษตานซาง
1. เถาบอระเพ็ด
2. เถามะระ
3. ลูกกระดอม
4. เถาชิงช้าชาลี
5. เถาขี้กาแดง
6. เปลือกสะเดา
7. มะกาเครือ หรือสะไอเครือ
8. ใบ และลูกมะแว้งเครือ
9. ลูกประคำดีควาย
10. ดีสัตว์ต่างๆ ดีหมี
10. ดีสัตว์ต่างๆ
ดีงูเหลือม
10. ดีสัตว์ต่างๆ
ดีจระเข้
10. ดีสัตว์ต่างๆ
----------------------------
ตัวยารสเผ็ดร้อน แก้ลม ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ลูกจันทน์เทศ รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง ชูไฟธาตุ แก้ธาตุพิการ เจริญอาหาร รัดมดลูก
2. ดอกจันทน์ รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ปวดท้อง ชูไฟธาตุ
3. ลูกกระวาน รสเผ็ดร้อน กระจายเสมหะ โลหิต แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับลมในท้อง
4. กานพลู รสเผ็ดร้อน กระจายลมเสมหะอันข้น แก้เสมหะอันเกิดในกองโลหิต และ แก้รัตตะปิตตะโรค และกระทำให้อาหารงวด แก้ปวดท้อง แก้รำมะนาด
5. รากพาดไฉน รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะ ขับลมผาย
6. หัวเตาเกียด รสเผ็ดร้อน แก้โรคตับปอดพิการ แก้ตับทรุด ฟอกเสมหะ
7. พริกหอม รสเผ็ดร้อน ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้
8. พริกหาง รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับลม ขับปัสสาวะ ขับหนอง
9. ขิงแห้ง รสเผ็ดร้อนหวาน แก้พรรดึก กระจายลม แก้จุกเสียด ขับเหงื่อ แก้ไข้ตรีโทษ
10. หัวกระชาย รสเผ็ดร้อน แก้มุตกิด แก้โรคในปาก แก้ลมอันเกิดแต่กองหทัยวาตะ
1. ลูกจันทน์
2. ดอกจันทน์
3. ลูกกระวาน
5. รากพาดไฉน
6. หัวเต่าเกียด
7. พริกหอม
8. พริกหาง
9. ขิงแห้ง
10. หัวกระชาย
----------------------------
ตัวยารสมัน แก้เส้นเอ็น ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เมล็ดงา รสมัน บำรุงไขมัน และแก้เส้นเอ็น แก้เมื่อย บำรุงกำลัง
2. เมล็ดถั่วเขียว รสมัน แก้ร้อนภายใน แก้ขัดข้อ บำรุงเนื้อ และกระดูก บำรุงกำลัง
3. เมล็ดถั่วลันเตา รสมัน แก้ตับพิการ และม้ามย้อย บำรุงกำลัง
4. เมล็ดถั่วลิสง รสมัน บำรุงไขมัน บำรุงเส้นเอ็น ขับผายลม บำรุงกำลัง
5. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ รสมัน แก้โรคผิวหนัง ทำลายตุ่มตาปลา
6. แก่นกันเกรา รสมัน บำรุงไขข้อ แก้ปวดเมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ
7. หัวแห้ว รสมัน บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
8. หัวถั่วพู รสมัน บำรุงกำลัง แก้น้ำดีพิการ แก้ไข้
9. น้ำนมแพะ รสมัน บำรุงธาตุไฟ แก้จุกเสียด แก้หืดไอ บำรุงกำลัง
10. เลือดแรด รสมันคาว บำรุงโลหิต แก้ช้ำใน กระจายโลหิต
1. เมล็ดงา
2. เมล็ดถั่วเขียว
3. เมล็ดถั่วลันเตา
4. เมล็ดถั่วลิสง
5. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
6. แก่นกันเกรา
7. หัวแห้ว
8. หัวถั่วพู
9. น้ำนมแพะ
10. เลือดแรด
----------------------------
ตัวยารสหอมเย็น บำรุงหัวใจ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เกสรทั้ง 5 รสหอมเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้จับ ไข้เพื่อลม ให้เจริญอาหาร แก้โรคตา และบำรุงหัวใจ
2. หญ้าฝรั่น รสหอมเย็น ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ
3. รากแฝกหอม รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ แก้ไข้เพื่อดี
4. น้ำดอกไม้เทศ รสหอมเย็น บำรุงหัวใจให้ผ่องใส
5. ต้นเตยหอม รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
6. รากชะลูด รสหอมเย็น แก้ไข้อ่อนเพลีย แก้ลมบาดทะจิต
7. กฤษณา รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้ไข้
8. กระลำพัก รสหอมเย็น แก้พิษเสมหะ โลหิต บำรุงตับ ปอด หัวใจ แก้ธาตุพิการ
9. ขอนดอก รสหอมเย็น แก้ไข้เพื่อตรีโทษ บำรุงครรภ์รักษา บำรุงตับ ปอด และหัวใจ
10. พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ รสหอมเย็น แก้เสมหะ แก้ลม แก้หอบ หืด แก้โรคตา
ดอกมะลิ
ดอกพิกุล
ดอกบุนนาค
ดอกสารภี
เกสรบัวหลวง
1. เกสรทั้ง 5(มะลิ พิกุล บุนนาค สารภี เกสรบัวหลวง)
2. หญ้าฝรั่น
3. รากแฝกหอม
4. น้ำดอกไม้เทศ
5. ต้นเตยหอม
6. รากชะลูด
7. กฤษณา
8. กระลำพัก
9. ขอนดอก
10. พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ เกล็ดสีขาวขุ่น หรือออกเหลืองแดงกลิ่นหอมเย็นฉุนเล็กน้อย
------------------------------
ตัวยารสเค็ม ซึบซาบไปตามผิวหนัง ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. แก่นแสมทะเล รสเค็ม แก้กระษัย ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา ขับลม
2. เปลือกต้นลำพู รสเค็ม แก้โรคผิวหนัง แผลเปื่อย
3. เปลือกต้นตะบูน รสเค็ม แก้บิด แก้ท้องร่วง สมาน แก้ไอ
4. เปลือกต้นมะเกลือ รสเค็ม แก้กระษัย แก้พยาธิแก้ตานซาง
5. โคกกระสุน รสเค็ม ขับปัสสาวะ ขับมุตกิดแก้ไตพิการ
6. ดินประสิว รสเค็ม ขับปัสสาวะ ถอนพิษ ขับลมในเส้น
7. ใบกระชาย รสเค็ม แก้โรคในปาก ลำคอ แก้โลหิต
8. ใบหอมแดง รสเค็ม แก้ไข้หวัด แก้โรคตา แก้ฟกบวมซ้ำ
9. เกลือทั้ง 5 รสเค็ม แก้ไข้พรรดึก แก้ท้องมาน แก้เสมหะแก้บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง
10. เนาวหอย เผา รสเค็มกร่อย ขับลมในลำไส้ ชะล้างลำไส้ แก้โรคกระษัย แก้ไตพิการ ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงกระดูก
1. แก่นแสมทะเล
2. เปลือกต้นลำพู
3. เปลือกต้นตะบูน
4. เปลือกต้นมะเกลือ
5. โคกกระสุน
6. ดินประสิว
7. ใบกระชาย
8. ใบหอมแดง
เกลือทะเล
วิธีทำเกลือทั้ง 5
1. เกลือสมุทร (เกลือสมุทรี) เอาเกลือทะเลบดละเอียด กับน้ำมูตรโค อย่างละครึ่งผสมกัน กวน
3 วัน จนแห้ง จะได้เกลือสมุทร รสเค็มฉุนร้อน แก้ระส่ำระส่าย ทำให้อาหารงวด เจริญธาตุทั้ง 4 แก้พรรดึก แก้ดีเดือด แก้เสมหะพิการ บำรุงน้ำเหลือง
2. เกลือสินเธาว์ เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำนมโค อย่างละครึ่งผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้ง จะได้เกลือสินเธาว์
รสเค็มมัน ทำลายพรรดึก แก้ระส่ำระส่าย สมุฏฐานตรีโทษ แก้นิ่ว
3. เกลือพิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำผึ้ง อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้งจะได้เกลือพิก รสเค็มหวาน ทำให้เสียงไพเราะ ชุ่มคอ แก้ไอ
4. เกลือวิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำสุรา อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน
จนแห้งจะได้เกลือวิก รสเค็มร้อน แก้อภิญญานธาตุ แก้โรคในท้อง ไส้พองท้องใหญ่
ทำให้ร่างกายชุ่มชื่น
5. เกลือฟอง (ฝ่อ) เอาเกลือทะเลบดละเอียด กับน้ำมันงา หรือ น้ำมันเปรียง อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้งจะได้เกลือฟอง (ฝ่อ) รสเค็มมัน แก้เสียดท้อง บำรุงไฟธาตุ แก้กุมารโรค และพรรดึก แก้มูกเลือด
9. เกลือทั้ง 5
อ้างอิง ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
เปลือกหอยกาบ
เปลือกหอยขม
เปลือกหอยแครง
เปลือกหอยนางรม
เปลือกพิมพการัง
เปลือกหอยตาวัว
เปลือกหอยจุ๊บแจง
เปลือกหอยมุก
เปลือกหอยสังข์
10. เนาวหอย เผา
(หอยกาบ หอยขม หอยแครง หอยนางรม หอยพิมพการังหอยตาวัว หอยจุ๊บแจง หอยมุก หอยสังข์ )
------------------------------
ตัวยารสเปรี้ยว กัดเสมหะ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ใบส้มป่อย รสเปรี้ยว ชำระล้างเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต
2. ใบโทงเทง รสเปรี้ยว แก้เจ็บคอ แก้ฝีในคอ แก้น้ำลายพิการ
3. ใบมะขาม รสเปรี้ยว แก้คูถเสมหะ ฟอกโลหิต
4. ใบส้มเสี้ยว รสเปรี้ยว แก้เสมหะ ฟอกโลหิตสตรี
5. ใบมะยม รสเปรี้ยว แก้เสมหะ ถอนพิษ แก้ไข้เพื่อเสมหะ
6. ลูกมะดัน รสเปรี้ยว ล้างเสมหะ ฟอกโลหิต
7. ลูกมะเขือขื่น รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
8. ลูกมะอึก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
9. น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้ลม ฟอกโลหิต
10. รากมะกล่ำทั้ง 2 รสเปรี้ยว บำรุงเสียง แก้ศอเสมหะ แก้ลมในลำไส้
1. ใบส้มป่อย
2. ใบโทงเทง
3. ใบมะขาม
4. ใบส้มเสี้ยว
5. ใบมะยม
6. ลูกมะดัน
7. ลูกมะเขือขื่น
8. ลูกมะอึก
9. น้ำมะนาว
9. น้ำมะกรูด
9. น้ำส้มซ่า
10. มะกล่ำต้น
10. มะกล่ำเครือ
10. รากมะกล่ำทั้ง 2 (มะกล่ำต้น มะกล่ำเครือ)
-----------------------------
ตัวยารสจืด แก้เสมหะ และปัสสาวะ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ต้นผักกาดน้ำ รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว
2. หญ้าถอดปล้อง รสจืด ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด
3. ราก และตาไม้ไผ่ป่า รสจืด ขับปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
4. รากต่อไส้ รสจืด แก้ปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
5. ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว แก้กระษัยกล่อน
6. รากไทรย้อย รสจืด ขับปัสสาวะ แก้กระษัยไตพิการ
7. รากแตงหนู รสจืด แก้ปัสสาวะพิการ แก้เสมหะ
8. แก่นปรู แส้ม้าทลาย รสจืด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษประดง แก้เสมหะพิการ
9. ต้นขลู่ รสจืด แก้กระษัยกล่อน แก้ปัสสาวะพิการ
10. เถาตำลึง รสจืดเย็น แก้ไข้ที่มีพิษ แก้โรคตาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
1. ต้นผักกาดน้ำ
2. หญ้าถอดปล้อง
3. ราก และตาไม้ไผ่ป่า
4. รากต่อไส้
5. ตะไคร้น้ำ
5. ตะไคร้หางนาค
6. รากไทรย้อย
7. รากแตงหนู
8. แก่นปรู
9. ต้นขลู่
10. เถาตำลึง
รสยาประจำธาตุ (รสยาแก้ตามธาตุ)
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในร่างกายของมนุษย์เรานั้นประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน 20
ธาตุน้ำ 12 ธาตุลม 6 และธาตุไฟ 4 เมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดพิการ หรือเจ็บป่วยขึ้น
คัมภีร์แพทย์แผนโบราณได้จัดรสยาไว้แก้ดังนี้
1. ปถวีธาตุ (ธาตุดิน 20) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสฝาด รสหวาน รสมัน และรสเค็ม
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ 12) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเปรี้ยว รสขม และรสเมาเบื่อ
3. วาโยธาตุ (ธาตุลม 6) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสขุม และรสเผ็ดร้อน
4. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ 4) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเย็น รสจืด
หมายเหตุ การจัดรสยาแก้ให้ถูกต้องตามธาตุดังที่กล่าวมาแล้ว จึงจะทำให้โรค หรืออาการเจ็บป่วยไข้หายหรือบรรเทาลงได้
------------------------------
รสยาแก้ตามวัย (แก้ตามอายุ)
ในที่นี้แบ่งช่วงอายุออกเป็น 3 วัย แต่ละวัยเกิดโรคแตกต่างกัน และใช้รสยาแก้ต่างกัน ดังนี้ คือ
1. ปฐมวัย (วัยเด็ก)
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 16 ปี วัยเด็กเป็นโรคเพื่อเสมหะ (สมุฏฐานอาโป)ควรใช้ยารสหวาน รสเปรี้ยว รสขม
2. มัชฌิมวัย (วัยกลาง หรือวัยหนุ่มสาว)
ตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึงอายุ 32 ปี เป็นโรคเพื่อโลหิต และดี (คือสมุฏฐานอาโป)
ควรใช้ยารสเปรี้ยวฝาด รสเปรี้ยว เค็มและรสขม
3. ปัจฉิมวัย (วัยผู้เฒ่าหรือวัยคนแก่)
ตั้งแต่อายุ 32 ปี จนถึงอายุ 64 ปี หรือจนสิ้นอายุขัย เป็นโรคเพื่อลมกำเริบ (คือสมุฏฐานวาโย) มีอาโปแทรก คือ เสมหะกับเหงื่อแทรกควรใช้ยารสขม รสร้อน รสเค็ม รสฝาด รสหอม
-----------------------------
รสยาแก้ตามฤดู
ฤดูในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะ 3 นั้น คือ ใน 1 ปี มี 3 ฤดู ๆ ละ 4 เดือน และถือว่าเป็นฤดูแห่งกองโรค คือ เกิดเป็นโรคปิตตะ โรควาตะ และเสมหะ ตามลำดับ จึงจัดรสยาแก้ไว้ดังนี้
1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เกิดโรคเพื่อเตโชธาตุพิการ โรคปิตตะพิการ คือ ดีพิการ ควรใช้ยารสเย็น และจืด
2. สันตฤดู (ฤดูฝน) เกิดโรคเพื่อวาโยธาตุพิการ คือ โรควาตะ โรคลม ควรใช้ยารสร้อน และรสสุขุม
3. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เกิดโรคเพื่ออาโปธาตุพิการ คือ สมุฏฐานเสมหะ ควรใช้ยารสสุขุม หรือรสเปรี้ยว
------------------------------
รสยาแก้ตามกาล
รสยาแก้ตามกาลเวลา หรือตามยามนี้จัดไว้โดยมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้ได้รับประทานยา (กินยา) ให้ทันหรือตรงกับสมุฏฐานของโรค ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาหรือกาลนั้นๆ ในคัมภีร์กล่าวไว้ทั้งหมดกาล 3 และกาล 4 จะได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้ทราบทั้ง 2 กาล คือ
กาล 3
คือ กลางวัน แบ่งออกเป็น 3 ยามกลางคืนแบ่งออกเป็น 3 ยาม คือ
1. ยามที่ 1 นับแต่ 06.00 น. ถึง 10.00 น. หรือนับแต่ 18.00 น. ถึง 22.00 น. เกิดโรคเพื่อเสมหะ ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว
2. ยามที่ 2 นับแต่ 10.00 น. ถึง 14.00 น. หรือนับแต่ 22.00 น. ถึง 02.00 น. เกิดโรคเพื่อโลหิต และดี ใช้น้ำยากระสายยารสขม
3. ยามที่ 3 นับแต่ 14.00 น. ถึง 18.00 น. หรือนับแต่ 02.00 น. ถึง 06.00 น. เกิดโรคเพื่อลม ใช้น้ำกระสายยารสร้อน
-----------------------------
กาล 4
คือ ท่านแบ่งไว้เป็นกลางวัน 4 กลางคืน 4 ตอน ดังนี้
1. ยามที่ 1 นับแต่ (ย่ำรุ่ง) 6.00 น. ถึง 9.00 น. หรือนับแต่ 18.00 ถึง 21.00 น.เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ
2. ยามที่ 2 นับแต่ 9.00 น. ถึง 12.00 น. หรือนับแต่ 21.00 น. ถึง 24.00 น. เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต
3. ยามที่ 3 นับแต่ 12.00 น. ถึง 15.00 น. หรือนับแต่ 00.00 น. ถึง 03.00 น. เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดดี
4. ยามที่ 4 นับแต่ 15.00 น. ถึง 18.00 น. หรือนับแต่ 03.00 น. ถึง 06.00 น.เป็นสมุฏฐานวาโย พิกัดวาตะ (ลม)
----------------------------
ความรู้พื้นฐาน
ประวัติการแพทย์แผนไทย
จรรยาแพทย์
และจรรยาเภสัช
หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html
เภสัชกรรมไทย เภสัชวัตถุ
ประเภทพืชวัตถุ จำพวกต้น
(กรรณิกา-คางแดง)
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
------------------------------------------------------------
อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรรม กองประกอบโรคศิลปะ
Credit: ภาพนำมาจาก internet
ซึ่ง share กันใน Google, Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน
และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง
และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ
1. ยารสประธาน แบ่งออกเป็น 3 รส
2. รสของตัวยา แบ่งออกเป็นยา
ยารสประธาน
ยารสประธาน หมายถึง
รสของยาที่ปรุงหรือ ผสมเป็นตำรับแล้ว สิ่งที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นยา นั้นประกอบด้วยวัตถุธาตุ 3 ประเภท คือพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ เมื่อนำมาประกอปรุงเป็นยา สำเร็จรูปแล้วจนเหลือรสของตัวยาสำเร็จรูป อยู่เพียง 3 รสเท่านั้น คือ
1. ยาขนานใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสเย็น ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์
ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ มาปรุงยารสเย็น เช่น ยามหานิล ยามหากาฬ ยาเขียว เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณ แก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูร้อน
2. ยาขนาน ใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสร้อน ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่รสร้อน เช่น เบญจกูล ตรีกฏุก เหง้าขิง กะเพรา มาปรุงเป็นยารสร้อน เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ ยาสัณฑฆาต ยาประสะกานพลู ยาประจุวาโย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองวาโยธาตุ
(ธาตุลม) แก้ลมกองหยาบ ลมจุกเสียดแน่น ลมพรรดึก บำรุงธาตุ ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูฝน
3. ยาขนานใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสสุขุม ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก จันทร์เทศ เครื่องเทศที่ไม่ร้อน มาปรุงเป็นยารสสุขุม เช่น ยาหอมอินทร์จักร ยาหอมเนาวโกฐ ยาสังข์วิชัย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองอาโปธาตุ
(ธาตุน้ำ) แก้ไข้ที่ใช้ยารสเย็นไม่ได้ แก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียน ใจสั่นหวั่นไหว บำรุงกำลัง ใช้สำหรับแก้ไข้ ในกองฤดูหนาว
รสยาทั้ง 3 ที่ได้กล่าวมานั้น คือ รสของยา ที่ปรุงสำเร็จแล้ว นำไปใช้รักษาโรค และ ไข้เป็นหลักใหญ่ หรือเป็นแม่บท เรียกว่า รสประธาน
แต่ในส่วนของวัตถุธาตุแต่ละชนิด ก็จะมีรสยาแยกย่อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าวัตถุธาตุ ชนิดใด
จะดูดซับเอารสยา จากแผ่นดินเข้าไว้กับตัว ซึ่งสามารถแบ่งรสยา ทั่วไป ออกเป็น 9
รส ---------------------------- รสของตัวยา 4 , 6 , 8 , 9 รส
รสยา 4 รส
ใน คัมภีร์ธาตุวิภังค์ ได้กล่าวถึงรสยา 4 รส แก้โรคดังนี้
รสยาฝาด ซาบไป ในผิวเนื้อ และเส้นเอ็น
รสยาเผ็ด ชาบไป ในผิวหนังทุกเส้นขน
รสยาเค็ม ชาบไป ในที่เส้นเอ็น และกระดูก ทั่วสรรพางค์กาย
รสยาเปรี้ยว ชาบไป ในเส้นเอ็นทั่วสรรพางค์กาย
----------------------------
รสยา 6 รส
ใน คัมภีร์วรโยคสาร ได้กล่าวถึงรสยา 6 รส แก้โรคดังนี้
1. มธุระ คือ รสหวาน ชอบกับยาให้เจริญรสธาตุ
2. อัมพิระ คือ รสเปรี้ยว ทำให้ดี ลม เสลด อนุโลมตามซึ่งตน และเจริญรสอาหาร บำรุงไฟธาตุ กระทำสารพัดที่ดิบให้สุก ถ้าใช้เป็นเกิดคุณ ใช้ไม่เป็นเกิดโทษ
3. ลวณะ คือ รสเค็ม เผาโทษเผาเขฬะ ให้เจริญไฟธาตุ
4. กฏุกะ คือ รสเผ็ด กระทำให้กำลังน้อย ระงับความเกียจคร้าน ระงับพิษไม่ให้เจริญ บำรุงไฟธาตุ และให้อาหารสุก
5. ติตติกะ คือ รสขม เจริญไฟธาตุ แก้ร้อน แก้ระหายน้ำ กระทำให้มูตร และคูถบริสุทธิ์ เจริญรสอาหาร
6. กะสาวะ คือ รสฝาด เจริญไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ให้เจริญผิวกาย และเนื้อ
คุณสมบัติของยาแต่ละรส ให้แสลงกับโรคต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ คือ
รสเผ็ด รสขม และรสฝาด ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ ลมกำเริบ
รสเผ็ด รสเปรี้ยว และรสเค็ม ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ ดีกำเริบ
รสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม ทั้ง 3 รสนี้ ทำให้ เสลดกำเริบ
-----------------------------
รสยา 8 รส
ใน คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงยา 8 รส แก้โรคดังนี้ คือ
1. รสขม ย่อมซาบ ไปตามผิวหนัง
2. รสฝาด ย่อมซาบ มังสา (ชาบเนื้อ)
3. รสเค็ม ซาบ เส้นเอ็น
4. รสเผ็ด และรสร้อน ซาบ กระดูกไม่ได้เว้น
5. รสหวาน ย่อมซึมซาบ ลำไส้ใหญ่
6. รสเปรี้ยว ซาบ ลำไส้น้อย
7. รสเย็นหอม ซาบ หัวใจ
8. รสมัน ซาบ ที่ข้อต่อทั้งปวง
----------------------------
รสยา 9 รส
ในการศึกษาเรื่องสรรพคุณเภสัช ได้สรุปรสของวัตถุธาตุได้ 9 รส จำแนกให้ละเอียดออกไปดังนี้
1. รสฝาด สรรพคุณ มีฤทธิ์ทางสมาน เช่น สมานบาดแผลทั้งภายใน และภายนอก แผลสด แผลเปื่อย กัดเนื้อร้าย แก้โรคบิด ท้องร่วง แก้อุจจาระธาตุพิการ คุมธาตุ
แสลงกับโรค ไอ ท้องผูก โรคลม โรคพรรดึก ท้องผูก เตโชธาตุพิการ (ธาตุไฟ)
2. รสหวาน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเนื้อ เช่น ทำให้เนื้อในร่างกายชุ่มชื้น บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ
แสลงกับโรค ฟันผุ เสมหะเฟื่อง อาเจียน โรคเบาหวาน น้ำเหลืองเสีย บาดแผล
3. รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ เช่น พิษดี พิษเสมหะ พิษโลหิต พิษไข้ พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคทางอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้พยาธิ ผื่นคัน
แสลงกับโรค หัวใจพิการ ไอ
4. รสขม สรรพคุณ แก้ในทางโลหิต และดี แก้กำเดา แก้ไข้ต่างๆ เช่น ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
แสลงกับโรค หัวใจพิการ โรคลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ
5. รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลมจุกเสียด ขับลมให้ผาย หรือเรอ บำรุงเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร
แสลงกับโรค ไข้ตัวร้อน เพ้อคลั่ง
6. รสมัน สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ บำรุงเยื่อกระดูก เป็นยาอายุวัฒนะ ให้ความอบอุ่นแก่ ร่างกาย
แสลงกับโรค เสมหะพิการ เช่น ไอ หอบ บิด และไข้ต่างๆ ร้อนในกระหายน้ำ
7. รสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำดับพิษร้อน
แสลงกับโรค ลมจุกเสียดแน่น ลมป่วง
8. รสเค็ม สรรพคุณ มีฤทธิ์ซึมซาบไปตามผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง โรคพรรดึก ถ่ายชำระน้ำเหลือง ชำระเมือกมันในลำไส้ ฟอกโลหิต แก้เสมหะเหนียว
แสลงกับโรค อุจจาระธาตุพิการ โรคบิดมูกเลือด กระเพาะอาหารเป็นแผล
9. รสเปรี้ยว สรรพคุณ แก้เสมหะพิการ แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้ท้องผูก ระบายอุจจาระ ฟอกโลหิต แก้กระหายน้ำ
แสลงกับโรค น้ำเหลืองเสีย ท้องเสียและไข้ต่างๆ
หมายเหตุ นอกจากนี้ในตำราเวชศึกษา ยังเพิ่มรสจืด อีกหนึ่งรส สรรพคุณ แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน แก้ทางเตโชธาตุ ไม่แสลงกับโรคใด
-----------------------------
ตัวอย่างของตัวยารสต่างๆ
ตัวยารสฝาด สำหรับสมาน ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ลูกเบญกานี รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง แก้ปวดมดลูก สมานบาดแผล
2. ทับทิมทั้ง 5 รสฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล
3. ลูกสมอพิเภกแก่ รสฝาด แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้บิด และแก้โรคตา
4. สีเสียดทั้ง 2 รสฝาด สมานบาดแผล และคุมธาตุ แก้ท้องร่ บิด แก้ลงแดง แก้อติสาร แก้บาดแผล ล้างบาดแผลที่ถูกไฟ
5. ฝรั่งทั้ง 5 รสฝาดเย็น ถอนพิษบาดแผล แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด และปวดเบ่ง
6. เปลือกนนทรี หรือเปลือกต้นตาเสือ รสฝาด กล่อมเสมหะ และโลหิต แก้บิดมูกเลือด ปิดธาตุ สมานบาดแผล ขับประจำเดือน รัดมดลูก ขับลมผาย แก้ท้องร่วง
7. เปลือกขี้อาย รสฝาด แก้อุจจาระเป็นฟอง แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง แก้ปวดเบ่ง คุมธาตุ ชะล้างบาดแผล
8. เปลือกเพกา รสฝาด ดับพิษโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย สมานบาดแผล ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ
9. เปลือกลูกมังคุด รสฝาด สมานบาดแผล แก้บิด แก้ลงท้อง ท้องเดิน ล้างแผล
10. ลูกกราย รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษ คุมธาตุ สมานบาดแผล แก้ท้องร่วง
1. ลูกเบญกานี 2. ทับทิมทั้ง 5 3. ลูกสมอพิเภก 4. สีเสียดทั้ง 2
4.1) สีเสียดไทย 4.2) สีเสียดเทศ 5. ฝรั่งทั้ง 5
6. เปลือกนนทรี
7. เปลือกขี้อ้าย 8. เปลือกเพกา
9. เปลือกลูกมังคุด
10. ลูกกราย ----------------------------
ตัวยารสหวาน ซึมซาบไปตามเนื้อ ตัวยาและสรรพคุณ เช่น
1. ดอกคำไทย รสหวาน บำรุงโลหิต แก้แสบร้อน คันตามผิวหนัง แก้บิด แก้ไตพิการ
2. ดอกคำฝอย รสหวาน บำรุงโลหิตและน้ำเหลือง ให้เป็นปกติ แก้แสบร้อน ตามผิวหนัง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู
3. งวงตาลโตนด รสหวานเย็น แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ บำรุงดวงจิตให้ชื่นบาน
4. ตานหม่อน รสหวานเย็น แก้พิษตานซาง ขับไส้เดือน บำรุงเนื้อหนังให้ชุ่มชื่น คุมธาตุ
5. อ้อย กลิ่นหอม รสหวานเย็น น้ำอ้อยแดง รสหวานขมเล็กน้อย แก้เสมหะ และหืดไอ กระจายเสมหะ ขับปัสสาวะ
6. รากชะเอมจีน (ชะเอมเทศ) ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา แก้น้ำลายเหนียว
7. รากชะเอมไทย รสหวาน แก้โรคในคอ แก้ลม แก้รัตตะปิตตะโรค
8. เหง้าสับปะรด รสหวาน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการแก้นิ่ว แก้หนองใน ขับระดูขาว
9. ราก และดอกมะพร้าว รสหวาน แก้ลงท้อง แก้อ่อนเพลียแก้ปากเปื่อย แก้ไข้ตานซาง แก้ไข้กำเดา
10. ดอกอังกาบ รสหวาน แก้สตรีระดูขัด บำรุงไฟธาตุ แก้ไข้
1. ดอกคำไทย 2. ดอกคำฝอย
3. งวงตาลโตนด
4. ตานหม่อน 5. น้ำอ้อย
6. รากชะเอมจีน (ชะเอมเทศ)
7. รากชะเอมไทย
8. เหง้าสับปะรด
9. ราก และดอกมะพร้าว
10. ดอกอังกาบ
----------------------------
ตัวยารสเมาเบื่อ แก้พิษ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ใบกระท่อม เมาเบื่อขมฝาด แก้บิดปวดมวน แก้ปวดท้องแก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
2. กัญชา รสเมา เจริญอาหาร ชูกำลัง ทำให้ใจขลาดกลัว
3. ใบลำโพง รสเมา แก้พิษฝี แก้ปวด แก้บวม แก้อักเสบ แก้หอบหืด
3.1 ดอกลำโพง รสเมาหวาน แก้หอบหืด
3.2 เมล็ดลำโพง รสเมามัน แก้ไข้พิษ ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย
(เวลาใช้ต้องทำให้น้ำมันในเมล็ดหมดไป)
3.3 น้ำมันจากเมล็ด รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อน หิด เหา
3.4 รากลำโพง รสเมาหวาน แก้พิษกาฬทั้งปวง ดับพิษร้อน แก้พิษร้อน แก้ปวก แก้บวม แก้อักเสบ แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้พยาธิ 4. สะแกทั้ง 5 รสเบื่อเมา ขับพยาธิ และไส้เดือน แก้โรคตานขโมย แก้ฝีตานซาง 5. ลูกกระเบียน / ลูกกระเบา รสเมาเบื่อ ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน แก้มะเร็ง คุดทะราด โรคเรื้อน กุฏฐัง
6. ลูกสะบ้าต่างๆ รสเมาเบื่อ (เผา) แก้พิษไข้ ทาแก้พยาธิทั้งปวง
7. รากขันทองพยาบาท รสเมาเบื่อ แก้พิษลม แก้ประดง แก้พยาธิต่างๆ
8. รากทองพันชั่ง รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อนผื่นคัน ดับพิษไข้ แก้โรคผิวหนัง และมะเร็ง
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5 รสเบื่อเอียน ขับพยาธิในลำไส้ รู้ถ่ายเองปิดเอง โรคผิวหนังทุกชนิด
10. เถากระไดลิง รสเมาเบื่อ แก้พิษทั่งปวง แก้ไข้เซื่องซึม ขับเหงื่อ
1. ใบกระท่อม
2. กัญชา
3. ใบลำโพง
3.1 ดอกลำโพง
3.1 ดอกลำโพง
ลูกลำโพง 3.2 เมล็ดลำโพง
ภาพ ลำโพง ใบ ดอก ลูก เมล็ด หมายเหตุ น้ำมันในเมล็ด ราก (ไม่มีภาพให้ดู) 4. สะแกทั้ง 5
4. สะแกทั้ง 5
6. ลูกกระเบียน
5. ลูกกระเบา
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้ามอญ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ 6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าดำ 6. ลูกสะบ้าต่างๆ
6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าลาย 6. ลูกสะบ้าต่างๆ ลูกสะบ้าเลือด
7. รากขันทองพยาบาท
ทองพันขั่ง
8. รากทองพันชั่ง
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5
9. ชุมเห็ดเทศทั้ง 5
10. เถากระไดลิง
---------------------------- ตัวยารสขม แก้ทางโลหิต และดี ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เถาบอระเพ็ด รสขมเย็น แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้โลหิตบำรุงน้ำดี เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
2. เถามะระ รสขมเย็น บำรุงน้ำดี แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ
3. ลูกกระดอม รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ให้เจริญอาหาร
4. เถาชิงช้าชาลี รสขม แก้ไข้เหนืออันเกิด เพื่อโลหิต แก้ไข้ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เลือดในกายเย็น แก้สะอึก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับน้ำย่อยอาหาร
5. เถาขี้กาแดง รสขม บำรุงน้ำดี ถ่ายล้างเสมหะให้ตก ดับพิษเสมหะและโลหิต
6. เปลือกต้นสะเดา รสขมฝากเย็น แก้บิดมูกเลือด
7. มะกาเครือ หรือสะไอเครือ รสขม แก้เสมหะเป็นพิษ แก้บิด แก้พยาธิ แก้ปวดเบ่ง ขับเสมหะ ขับฟอกโลหิตระดู
8. ใบ และลูกมะแว้งเครือ รสขม บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้เสมหะ
9. ลูกประคำดีควาย รสขม แก้กาฬภายใน ดับพิษตานซาง
1. เถาบอระเพ็ด
2. เถามะระ
3. ลูกกระดอม
4. เถาชิงช้าชาลี
5. เถาขี้กาแดง
6. เปลือกสะเดา
7. มะกาเครือ หรือสะไอเครือ
8. ใบ และลูกมะแว้งเครือ
9. ลูกประคำดีควาย
10. ดีสัตว์ต่างๆ ดีหมี
10. ดีสัตว์ต่างๆ
ดีงูเหลือม
10. ดีสัตว์ต่างๆ
ดีจระเข้
10. ดีสัตว์ต่างๆ ----------------------------
ตัวยารสเผ็ดร้อน แก้ลม ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ลูกจันทน์เทศ รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง ชูไฟธาตุ แก้ธาตุพิการ เจริญอาหาร รัดมดลูก
2. ดอกจันทน์ รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ปวดท้อง ชูไฟธาตุ
3. ลูกกระวาน รสเผ็ดร้อน กระจายเสมหะ โลหิต แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับลมในท้อง
4. กานพลู รสเผ็ดร้อน กระจายลมเสมหะอันข้น แก้เสมหะอันเกิดในกองโลหิต และ แก้รัตตะปิตตะโรค และกระทำให้อาหารงวด แก้ปวดท้อง แก้รำมะนาด
5. รากพาดไฉน รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะ ขับลมผาย
6. หัวเตาเกียด รสเผ็ดร้อน แก้โรคตับปอดพิการ แก้ตับทรุด ฟอกเสมหะ
7. พริกหอม รสเผ็ดร้อน ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้
8. พริกหาง รสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง ขับลม ขับปัสสาวะ ขับหนอง
9. ขิงแห้ง รสเผ็ดร้อนหวาน แก้พรรดึก กระจายลม แก้จุกเสียด ขับเหงื่อ แก้ไข้ตรีโทษ
10. หัวกระชาย รสเผ็ดร้อน แก้มุตกิด แก้โรคในปาก แก้ลมอันเกิดแต่กองหทัยวาตะ 1. ลูกจันทน์
2. ดอกจันทน์
3. ลูกกระวาน
5. รากพาดไฉน
6. หัวเต่าเกียด
7. พริกหอม
8. พริกหาง
9. ขิงแห้ง
10. หัวกระชาย ---------------------------- ตัวยารสมัน แก้เส้นเอ็น ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เมล็ดงา รสมัน บำรุงไขมัน และแก้เส้นเอ็น แก้เมื่อย บำรุงกำลัง
2. เมล็ดถั่วเขียว รสมัน แก้ร้อนภายใน แก้ขัดข้อ บำรุงเนื้อ และกระดูก บำรุงกำลัง
3. เมล็ดถั่วลันเตา รสมัน แก้ตับพิการ และม้ามย้อย บำรุงกำลัง
4. เมล็ดถั่วลิสง รสมัน บำรุงไขมัน บำรุงเส้นเอ็น ขับผายลม บำรุงกำลัง
5. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ รสมัน แก้โรคผิวหนัง ทำลายตุ่มตาปลา
6. แก่นกันเกรา รสมัน บำรุงไขข้อ แก้ปวดเมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ
7. หัวแห้ว รสมัน บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
8. หัวถั่วพู รสมัน บำรุงกำลัง แก้น้ำดีพิการ แก้ไข้
9. น้ำนมแพะ รสมัน บำรุงธาตุไฟ แก้จุกเสียด แก้หืดไอ บำรุงกำลัง
10. เลือดแรด รสมันคาว บำรุงโลหิต แก้ช้ำใน กระจายโลหิต 1. เมล็ดงา
2. เมล็ดถั่วเขียว
3. เมล็ดถั่วลันเตา
4. เมล็ดถั่วลิสง
5. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
6. แก่นกันเกรา
7. หัวแห้ว
8. หัวถั่วพู
9. น้ำนมแพะ
10. เลือดแรด
----------------------------
ตัวยารสหอมเย็น บำรุงหัวใจ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. เกสรทั้ง 5 รสหอมเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้จับ ไข้เพื่อลม ให้เจริญอาหาร แก้โรคตา และบำรุงหัวใจ
2. หญ้าฝรั่น รสหอมเย็น ชูกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้ชื่นใจ
3. รากแฝกหอม รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ แก้ไข้เพื่อดี
4. น้ำดอกไม้เทศ รสหอมเย็น บำรุงหัวใจให้ผ่องใส
5. ต้นเตยหอม รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
6. รากชะลูด รสหอมเย็น แก้ไข้อ่อนเพลีย แก้ลมบาดทะจิต
7. กฤษณา รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้ไข้
8. กระลำพัก รสหอมเย็น แก้พิษเสมหะ โลหิต บำรุงตับ ปอด หัวใจ แก้ธาตุพิการ
9. ขอนดอก รสหอมเย็น แก้ไข้เพื่อตรีโทษ บำรุงครรภ์รักษา บำรุงตับ ปอด และหัวใจ
10. พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ รสหอมเย็น แก้เสมหะ แก้ลม แก้หอบ หืด แก้โรคตา ดอกมะลิ
ดอกพิกุล
ดอกบุนนาค
ดอกสารภี
เกสรบัวหลวง
1. เกสรทั้ง 5 (มะลิ พิกุล บุนนาค สารภี เกสรบัวหลวง)
2. หญ้าฝรั่น
3. รากแฝกหอม
4. น้ำดอกไม้เทศ
5. ต้นเตยหอม
6. รากชะลูด
7. กฤษณา
8. กระลำพัก 9. ขอนดอก
10. พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ เกล็ดสีขาวขุ่น หรือออกเหลืองแดง กลิ่นหอมเย็นฉุนเล็กน้อย
------------------------------ ตัวยารสเค็ม ซึบซาบไปตามผิวหนัง ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. แก่นแสมทะเล รสเค็ม แก้กระษัย ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา ขับลม
2. เปลือกต้นลำพู รสเค็ม แก้โรคผิวหนัง แผลเปื่อย
3. เปลือกต้นตะบูน รสเค็ม แก้บิด แก้ท้องร่วง สมาน แก้ไอ
4. เปลือกต้นมะเกลือ รสเค็ม แก้กระษัย แก้พยาธิ แก้ตานซาง
5. โคกกระสุน รสเค็ม ขับปัสสาวะ ขับมุตกิด แก้ไตพิการ
6. ดินประสิว รสเค็ม ขับปัสสาวะ ถอนพิษ ขับลมในเส้น
7. ใบกระชาย รสเค็ม แก้โรคในปาก ลำคอ แก้โลหิต
8. ใบหอมแดง รสเค็ม แก้ไข้หวัด แก้โรคตา แก้ฟกบวมซ้ำ
9. เกลือทั้ง 5 รสเค็ม แก้ไข้พรรดึก แก้ท้องมาน แก้เสมหะแก้บิดมูกเลือด บำรุงน้ำเหลือง
10. เนาวหอย เผา รสเค็มกร่อย ขับลมในลำไส้ ชะล้างลำไส้ แก้โรคกระษัย แก้ไตพิการ ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงกระดูก
1. แก่นแสมทะเล
2. เปลือกต้นลำพู
3. เปลือกต้นตะบูน
4. เปลือกต้นมะเกลือ
5. โคกกระสุน
6. ดินประสิว
7. ใบกระชาย 8. ใบหอมแดง
เกลือทะเล วิธีทำเกลือทั้ง 5
1. เกลือสมุทร (เกลือสมุทรี) เอาเกลือทะเลบดละเอียด กับน้ำมูตรโค อย่างละครึ่งผสมกัน กวน
3 วัน จนแห้ง จะได้เกลือสมุทร รสเค็มฉุนร้อน แก้ระส่ำระส่าย ทำให้อาหารงวด เจริญธาตุทั้ง 4 แก้พรรดึก แก้ดีเดือด แก้เสมหะพิการ บำรุงน้ำเหลือง
2. เกลือสินเธาว์ เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำนมโค อย่างละครึ่งผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้ง จะได้เกลือสินเธาว์
รสเค็มมัน ทำลายพรรดึก แก้ระส่ำระส่าย สมุฏฐานตรีโทษ แก้นิ่ว
3. เกลือพิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำผึ้ง อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้งจะได้เกลือพิก รสเค็มหวาน ทำให้เสียงไพเราะ ชุ่มคอ แก้ไอ
4. เกลือวิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำสุรา อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน
จนแห้งจะได้เกลือวิก รสเค็มร้อน แก้อภิญญานธาตุ แก้โรคในท้อง ไส้พองท้องใหญ่
ทำให้ร่างกายชุ่มชื่น
5. เกลือฟอง (ฝ่อ) เอาเกลือทะเลบดละเอียด กับน้ำมันงา หรือ น้ำมันเปรียง อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้งจะได้เกลือฟอง (ฝ่อ) รสเค็มมัน แก้เสียดท้อง บำรุงไฟธาตุ แก้กุมารโรค และพรรดึก แก้มูกเลือด
9. เกลือทั้ง 5
อ้างอิง ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
เปลือกหอยกาบ
เปลือกหอยขม
เปลือกหอยแครง
เปลือกหอยนางรม
เปลือกพิมพการัง
เปลือกหอยตาวัว
เปลือกหอยจุ๊บแจง
เปลือกหอยมุก
เปลือกหอยสังข์
10. เนาวหอย เผา
(หอยกาบ หอยขม หอยแครง หอยนางรม หอยพิมพการังหอยตาวัว หอยจุ๊บแจง หอยมุก หอยสังข์ ) ------------------------------
ตัวยารสเปรี้ยว กัดเสมหะ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ใบส้มป่อย รสเปรี้ยว ชำระล้างเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต
2. ใบโทงเทง รสเปรี้ยว แก้เจ็บคอ แก้ฝีในคอ แก้น้ำลายพิการ
3. ใบมะขาม รสเปรี้ยว แก้คูถเสมหะ ฟอกโลหิต
4. ใบส้มเสี้ยว รสเปรี้ยว แก้เสมหะ ฟอกโลหิตสตรี
5. ใบมะยม รสเปรี้ยว แก้เสมหะ ถอนพิษ แก้ไข้เพื่อเสมหะ
6. ลูกมะดัน รสเปรี้ยว ล้างเสมหะ ฟอกโลหิต
7. ลูกมะเขือขื่น รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
8. ลูกมะอึก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว
9. น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า รสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้ลม ฟอกโลหิต
10. รากมะกล่ำทั้ง 2 รสเปรี้ยว บำรุงเสียง แก้ศอเสมหะ แก้ลมในลำไส้
1. ใบส้มป่อย
2. ใบโทงเทง
3. ใบมะขาม
4. ใบส้มเสี้ยว
5. ใบมะยม
6. ลูกมะดัน
7. ลูกมะเขือขื่น
8. ลูกมะอึก
9. น้ำมะนาว
9. น้ำมะกรูด
9. น้ำส้มซ่า
10. มะกล่ำต้น
10. มะกล่ำเครือ
10. รากมะกล่ำทั้ง 2 (มะกล่ำต้น มะกล่ำเครือ) -----------------------------
ตัวยารสจืด แก้เสมหะ และปัสสาวะ ตัวยา และสรรพคุณ เช่น
1. ต้นผักกาดน้ำ รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว
2. หญ้าถอดปล้อง รสจืด ขับปัสสาวะ แก้มุตกิด
3. ราก และตาไม้ไผ่ป่า รสจืด ขับปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
4. รากต่อไส้ รสจืด แก้ปัสสาวะ และแก้ไตพิการ
5. ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค รสจืด ขับปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว แก้กระษัยกล่อน
6. รากไทรย้อย รสจืด ขับปัสสาวะ แก้กระษัยไตพิการ
7. รากแตงหนู รสจืด แก้ปัสสาวะพิการ แก้เสมหะ
8. แก่นปรู แส้ม้าทลาย รสจืด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้พิษประดง แก้เสมหะพิการ
9. ต้นขลู่ รสจืด แก้กระษัยกล่อน แก้ปัสสาวะพิการ
10. เถาตำลึง รสจืดเย็น แก้ไข้ที่มีพิษ แก้โรคตา ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ 1. ต้นผักกาดน้ำ
2. หญ้าถอดปล้อง
3. ราก และตาไม้ไผ่ป่า
4. รากต่อไส้
5. ตะไคร้น้ำ
5. ตะไคร้หางนาค
6. รากไทรย้อย
7. รากแตงหนู
8. แก่นปรู
9. ต้นขลู่
10. เถาตำลึง
รสยาประจำธาตุ (รสยาแก้ตามธาตุ)
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ในร่างกายของมนุษย์เรานั้น ประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน 20
ธาตุน้ำ 12 ธาตุลม 6 และธาตุไฟ 4 เมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดพิการ หรือเจ็บป่วยขึ้น
คัมภีร์แพทย์แผนโบราณได้จัดรสยาไว้แก้ดังนี้
1. ปถวีธาตุ (ธาตุดิน 20) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสฝาด รสหวาน รสมัน และรสเค็ม
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ 12) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเปรี้ยว รสขม และรสเมาเบื่อ
3. วาโยธาตุ (ธาตุลม 6) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสขุม และรสเผ็ดร้อน
4. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ 4) เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเย็น รสจืด
หมายเหตุ การจัดรสยาแก้ให้ถูกต้องตามธาตุ ดังที่กล่าวมาแล้ว จึงจะทำให้โรค หรืออาการเจ็บป่วยไข้หายหรือบรรเทาลงได้ |
------------------------------
รสยาแก้ตามวัย (แก้ตามอายุ)
ในที่นี้แบ่งช่วงอายุออกเป็น 3 วัย
แต่ละวัยเกิดโรคแตกต่างกัน
และใช้รสยาแก้ต่างกัน ดังนี้ คือ
1. ปฐมวัย (วัยเด็ก)
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 16 ปี วัยเด็ก
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 16 ปี วัยเด็ก
เป็นโรคเพื่อเสมหะ (สมุฏฐานอาโป)
ควรใช้ยารสหวาน รสเปรี้ยว รสขม
2. มัชฌิมวัย
(วัยกลาง หรือวัยหนุ่มสาว)
ตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึงอายุ 32 ปี
ตั้งแต่อายุ 16 ปี จนถึงอายุ 32 ปี
เป็นโรคเพื่อโลหิต และดี (คือสมุฏฐานอาโป)
ควรใช้ยารสเปรี้ยวฝาด รสเปรี้ยว เค็มและรสขม
3. ปัจฉิมวัย (วัยผู้เฒ่าหรือวัยคนแก่)
ตั้งแต่อายุ 32 ปี จนถึงอายุ 64 ปี หรือจนสิ้นอายุขัย
ตั้งแต่อายุ 32 ปี จนถึงอายุ 64 ปี หรือจนสิ้นอายุขัย
เป็นโรคเพื่อลมกำเริบ (คือสมุฏฐานวาโย)
มีอาโปแทรก คือ เสมหะกับเหงื่อแทรก
ควรใช้ยารสขม รสร้อน รสเค็ม รสฝาด รสหอม
-----------------------------
รสยาแก้ตามฤดู
ฤดูในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะ 3 นั้น
คือ ใน 1 ปี มี 3 ฤดู ๆ ละ 4 เดือน
และถือว่าเป็นฤดูแห่งกองโรค คือ
เกิดเป็นโรคปิตตะ โรควาตะ
และเสมหะ ตามลำดับ จึงจัดรสยาแก้ไว้ดังนี้
1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)
เกิดโรคเพื่อเตโชธาตุพิการ โรคปิตตะพิการ
คือ ดีพิการ ควรใช้ยารสเย็น และจืด
2. สันตฤดู (ฤดูฝน)
เกิดโรคเพื่อวาโยธาตุพิการ คือ โรควาตะ
โรคลม ควรใช้ยารสร้อน และรสสุขุม
3. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว)
เกิดโรคเพื่ออาโปธาตุพิการ คือ
สมุฏฐานเสมหะ
ควรใช้ยารสสุขุม หรือรสเปรี้ยว
------------------------------
รสยาแก้ตามกาล
รสยาแก้ตามกาลเวลา หรือตามยามนี้
จัดไว้โดยมุ่งหมายเพื่อให้คนไข้ได้
รับประทานยา (กินยา) ให้ทันหรือตรงกับ
สมุฏฐานของโรค ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาหรือ
กาลนั้นๆ ในคัมภีร์กล่าวไว้ทั้งหมดกาล 3
และกาล 4 จะได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษา
ได้ทราบทั้ง 2 กาล คือ
กาล 3
คือ กลางวัน แบ่งออกเป็น 3 ยาม
กลางคืนแบ่งออกเป็น 3 ยาม คือ
1. ยามที่ 1 นับแต่ 06.00 น. ถึง 10.00 น.
หรือนับแต่ 18.00 น. ถึง 22.00 น.
เกิดโรคเพื่อเสมหะ
ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว
2. ยามที่ 2 นับแต่ 10.00 น. ถึง 14.00 น.
หรือนับแต่ 22.00 น. ถึง 02.00 น.
เกิดโรคเพื่อโลหิต และดี
ใช้น้ำยากระสายยารสขม
3. ยามที่ 3 นับแต่ 14.00 น. ถึง 18.00 น.
หรือนับแต่ 02.00 น. ถึง 06.00 น.
เกิดโรคเพื่อลม ใช้น้ำกระสายยารสร้อน
-----------------------------
กาล 4
คือ ท่านแบ่งไว้เป็นกลางวัน 4
คือ ท่านแบ่งไว้เป็นกลางวัน 4
กลางคืน 4 ตอน ดังนี้
1. ยามที่ 1 นับแต่ (ย่ำรุ่ง) 6.00 น. ถึง 9.00 น.
หรือนับแต่ 18.00 ถึง 21.00 น.
เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ
2. ยามที่ 2 นับแต่ 9.00 น. ถึง 12.00 น.
หรือนับแต่ 21.00 น. ถึง 24.00 น.
เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต
3. ยามที่ 3 นับแต่ 12.00 น. ถึง 15.00 น.
หรือนับแต่ 00.00 น. ถึง 03.00 น.
เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดดี
4. ยามที่ 4 นับแต่ 15.00 น. ถึง 18.00 น.
หรือนับแต่ 03.00 น. ถึง 06.00 น.
เป็นสมุฏฐานวาโย พิกัดวาตะ (ลม)
----------------------------
ความรู้พื้นฐาน
ประวัติการแพทย์แผนไทย
จรรยาแพทย์
และจรรยาเภสัช
หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html
เภสัชกรรมไทย เภสัชวัตถุ
ประเภทพืชวัตถุ จำพวกต้น
(กรรณิกา-คางแดง)
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
------------------------------------------------------------
อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
สาขาเภสัชกรรรม กองประกอบโรคศิลปะ
Credit: ภาพนำมาจาก internet
ซึ่ง share กันใน Google, Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน
และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง
และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ
Actually, I am facing some difficulties to understand the meaning of the blog. If you have any short video film related to your blog, then I would request you to share here. It would be great help.เห็ด หลิน จื อ
ReplyDelete