Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Wednesday, January 22, 2014

เภสัชกรรมไทย สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน (ชุมเห็ดไทย-มะคำดีควาย)

เภสัชกรรมไทย
สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน 
(ชุมเห็ดไทย-มะคำดีควาย)




จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เภสัชกรรมไทย
สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน 
(ชุมเห็ดไทย-มะคำดีควาย)

ชุมเห็ดไทย
 

ชุมเห็ดไทย

ชื่อท้องถิ่น ชุมเห็ดนา, ชุมเห็ดเล็ก, ชุมเห็ดควาย (ภาคกลาง), ลับมืนน้อย (ภาคเหนือ), ชุมเห็ดเขาควาย, เล็บมื่นน้อย (ภาคอีสาน), พรมดาน (สุโขทัย) ง่วงนอน

ลักษณะของพืช ชุมเห็ดไทยเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกแขนงมาก ใบประกอบด้วย ใบย่อย 3 ใบ มีขนาดเล็กรูปกลมมนดอกสีเหลืองขนาดเล็ก ฝักเล็กแบนยาว เมล็ดรูปทรงกระบอก

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดแห้งที่ผ่านการคั่วแล้ว

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงที่ฝักแห้งเป็นสีน้ำตาล

รส และสรรพคุณยาไทย กลิ่นหอม เป็นยาระบาย และขับปัสสาวะ

วิธีใช้ เมล็ดชุมเห็ดไทยใช้เป็นยารักษา

1. อาการท้องผูก ใช้เมล็ดแห้งคั่ว 2 ช้อนคาว ถึง 2 ช้อนครึ่ง (จำนวน 10 – 13 กรัม)ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม ดื่มแล้วอาจมีอาการ

2. อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เมล็ดแห้งคั่ว วันละ 1 – 3 ช้อนคาว (จำนวน 5 – 15 กรัม)ใส่น้ำ 1 ลิตร แล้วตั้งไฟต้มให้เหลือ 600 มิลลิลิตร แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 200 มิลลิลิตร หลังอาหาร

--------------------------------------------------------

ดีปลี

ดีปลี

ชื่อท้องถิ่น ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ประดงข้อ, ปานนุ (ภาคกลาง)

ลักษณะของพืช ดีปลีไม้เลื้อย ใบรูปไข่ โคนมนปลายแหลม เป็นใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า และบางกว่าเล็กน้อย ดอกไม้เป็นรูปทรงกระลอกปลายมน เมื่อแก่กลายเป็นผลสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่แห้ง (หมอยาเรียก ดอกดีปลี)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง

รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อนขม บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด


วิธีใช้ ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการ ดังนี้

1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง และแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติโดยใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ
 (ประมาณ 10 – 15 ดอก) ต้มเอาน้ำดื่ม 
ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้

2. อาการไอ และขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้ง ประมาณครึ่งผล ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ

-------------------------------------------------------

ตำลึง

     


ตำลึง

ชื่อท้องถิ่น ผักแคบ (ภาคเหนือ), แคเด๊าะ ( กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) 




ลักษณะของพืช ตำลึงเป็นไม้เถามีอายุอยู่ได้หลายปี เมื่ออายุมากเถาจะใหญ่ และแข็ง เถาสีเขียว ตามข้อมีมือเกาะใบออกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ข้างในมีเกสรสีเหลือง ผลคล้ายลูกแตงกวา แต่ขนาดเล็กกว่าผลดิบสีเขียว และมีลายขาว เมื่อสุกเต็มที่สีแดงสด ปลูกเป็นผักขึ้นตามริมรั้วบ้านตามชนบททั่วไป 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สด และสมบูรณ์ 

รส และสรรพคุณยาไทย รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยที่ทำให้ปวดแสบร้อน และคัน 

วิธีใช้ เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
----------------------------------------------------------

ตะไคร้ 

  

ตะไคร้ 

ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรบ, เหลอะเกรย (เขมร – สุรินทร์), ห่อวอตะโป๋ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), หัวสิงไค (เขมร – ปราจีนบุรี)


ลักษณะของพืช ตะไคร้เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็นกอ ใบยาวเรียว ปลายแหลมสีเขียวออกเทา และมีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาว มีดอกเล็กฝอยจำนวนมาก ผลมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยติดดอก และผล ตะไคร้ปลูกง่ายเจริญงอกงามในดินแทบทุกชนิด

ส่วนมี่ใช้เป็นยา ลำต้น และเหง้าแก่ สดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้า และลำต้นแก่

รส และสรรพคุณยาไทย รสปร่ากลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ ทำให้เจริญอาหาร แก้คาว

วิธีใช้ ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ดังนี้

1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุดเสียด ใช้ลำต้นแก่สดๆ ทุบพอแหละ ประมาณ 1 กำมือ (ราว 40 – 60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร

2. อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง 
(แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ให้ใช้ต้นแก่สด
วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40 – 60 กรัม 
แห้งหนัก 20 – 30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 
ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร หรือ
ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไฟอ่อนๆ 
พอเหลือง ชงเป็นชาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา 
พอปัสสาวะสะดวกแล้วจึงหยุดยา

-----------------------------------------------------------


เทียนบ้าน
เทียนบ้าน
ชื่อท้องถิ่น เทียนดอก, เทียนไทย, เทียนสวน (ภาคกลาง)


ลักษณะของพืช เทียนบ้านเป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ 
และมีขนเล็กน้อย ใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นหยักละเอียด
ดอกมีทั้งเดี่ยว และเป็นดอกรวม 2 – 3 ดอก มีหลายสี 
ผลรูปรี มีเมล็ดกลมอยู่ใน แก่แล้วแตกได้เอง

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสา ดอกสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์

รส และสรรพคุณยาไทย ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว ตำพอกเล็บขบ และปวดตามนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าถอนพิษ 
ปวดแสบ ปวดร้อน

วิธีใช้ ใช้ใบสด และดอกสด ประมาณ 1 กำมือ ตำละเอียด และพอก ทาบริเวณที่เป็นฝี และแผลพุพอง วันละ 3 ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า และร่างกายส่วนอื่นๆ)
----------------------------------------------------------

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง


ชื่อท้องถิ่น หญ้ามันไก่, ทองพันชั่ง (ภาคกลาง) 
ลักษณะของพืช ทองพันชั่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมักเป็นสี่เหลี่ยม ใบรียาว ปลายแหลม ท้ายแหลม ดอกออกเป็นช่อสีขาว พบเป็นไม้ประดับทั่วไป 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือราก (สด หรือแห้ง) 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ใบเก็บช่วงที่สมบูรณ์เต็มที่ 

รส และสรรพคุณยาไทย ใบสด รสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ รากป่นละเอียดแช่เหล้า 7 วัน ทาแก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน 

วิธีใช้ ใบสด หรือรากสด หรือแห้งของทองพันชั่ง ใช้รักษากลากเกลื้อน โดยใช้ใบ 5 – 8 ใบ หรือราก 2 – 3 ราก (จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์ 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
----------------------------------------------------------

ทับทิม





ทับทิม

ชื่อท้องถิ่น พิลา (หนองคาย), พิลาขาว, มะก่องแก้ว (น่าน), 
มะเก๊าะ (ภาคเหนือ) 
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกผลแห้ง 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่ผลแก่ ใช้เปลือก ผลตากแดดให้แห้ง 

รส และสรรพคุณยาไทย รสฝาด เป็นยาฝาดสมาน 

วิธีใช้ เปลือกทับทิมใช้เป็นยาแก้ท้องเดิน และบิด มีวิธีใช้ดังนี้ 

1. อาการท้องเดิน ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ใน 4 ของผล ฝนกับน้ำฝน หรือน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใส แล้วดื่มน้ำต้มก็ได้ 

2. บิด (มีอาการปวดเบ่ง และมีมูก หรืออาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งของทับทิม ครั้งละ 1 กำมือ (3 – 5 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง อาจใช้กานพลู หรืออบเชย แต่งกลิ่นให้น่าดื่มก็ได้

----------------------------------------------------------

น้อยหน่า



ลูกตาย

น้อยหน่า

ชื่อท้องถิ่น น้อยแน่ (ภาคใต้), มะนอแน่ มะแน่ (ภาคเหนือ), มะออจ้า มะโอจ่า (เงี้ยว ภาคเหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี), หน่อเกล๊าแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), หมักเขียบ (ภาคอีสาน) 

ลักษณะของพืช น้อยหน่าเป็นพืชยืนต้น ใบเดี่ยวติดกับลำต้นใบรูปรี ปลายแหลมหรือมน ดอกเล็ก 4 กลีบ สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอม ลูกกลม มีตุ่มนูนรอบผล เนื้อสีขาว รสหวาน เมล็ดสีดำ 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดและเมล็ด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบสด และเมล็ด 

รส และสรรพคุณยาไทย ใบแก้กลากเกลื้อน และฆ่าเหา ชาวชนบทมักเอาลูกตายมาฝนกับเหล้ารักษาแผล 

วิธีใช้ ใบสด และเมล็ดน้อยหน่าใช้ฆ่าเหา โดยเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าว 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศรีษะแล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา ตาอักแสบได้)
-------------------------------------------------------------

บอระเพ็ด



บอระเพ็ด


ชื่อท้องถิ่น เครือเขาฮอ จุ่งจะลิง (ภาคเหนือ), เจตมูลหนาม (หนองคาย), หางหนู (อุบลราชธานี), ตัวเจตมูลย่าน เถาหัวด้วน (สระบุรี), เจ็ดหมุนย่าน (ภาคใต้) 


ลักษณะของพืช บอระเพ็ดเป็นไม้เลื้อย มีปุ่มตามลำต้นกระจายทั่วไป ใบรูปเหมือนใบโพธิ์ ดอกออกเป็นช่อขนาดเล็กมาก สีเหลืองอมเขียว 

ส่วนที่ใช้เป็นยา เถาหรือลำต้นสด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเถาแก่ 

รส และสรรพคุณยาไทย รสขมจัด เย็น มีสรรพคุณ ระงับความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ช่วยเจริญอาหาร 

วิธีใช้ ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้ 

1. อาการไข้ ใช้เถา หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบ (30 – 40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หรือเวลามีอาการ 

2. อาการเบื่ออาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ขนาด และวิธีการเช่นเดียวกับแก้ไข้
--------------------------------------------------------

บัวบก



บัวบก

ชื่อท้องถิ่น ผักหนอก (ภาคเหนือ), ประหนะเอขาเต๊าะ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) 


ลักษณะของพืช บัวบกเป็นพืชเลื้อย สูงขนาด 1 ฝ่ามือ มีรากงอกออกมาตามข้อของ ลำต้น ก้านใบงอกตรงจากดิน ใบสีเขียว รูปกลมรีเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ดอกสีม่วงแดงเข้ม ใช้ข้อที่มีรากงอกมาปลูก 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นสด และใบสด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ 

รส และสรรพคุณยาไทย กลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า 

วิธีใช้ บัวบกใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเอาบักบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด และตำให้ละเอียด คั้นน้ำ และเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้
-------------------------------------------------------------

ปลาไหลเผือก







ปลาไหลเผือก

ชื่อท้องถิ่น แฮพันชั้น ตุงสอ (ภาคเหนือ), คะนาง ชะนาง (ตราด), หยิกบ่อถองเอียนด่อน (ภาคอีสาน), ตรึงบาดาล (ปัตตานี), กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี), เพียก (ภาคใต้) 

ลักษณะของพืช ปลาไหลเผือก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยแข็ง เรียวปลายแหลม ดอกเป็นช่อใหญ่ยาว สีเหลืองน้ำตาล ผลสีน้ำตาลรูปไข่ 

ส่วนที่ใช้เป็นยา รากแห้ง (รากกลมยาว เป็นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งสีขาว) 

รส และสรรพคุณยาไทย รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย รากเป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด 


วิธีใช้ ใช้รากแห้งของปลาไหลเผือกแก้ไข้ได้ โดยใช้ครั้งละ 1 กำมือ (หนัก 8 – 15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า และเย็น หรือเวลามีอาการ

-------------------------------------------------------

ฝรั่ง


ฝรั่ง

ชื่อท้องถิ่น มะนั่น, มะก้วยกา (ภาคเหนือ), บักสีดา (ภาคเหนือ), 
ย่าหมู, ยามู (ใต้), มะปุ่น (สุโขทัย, ตาก), มะแกว (แพร่) 

ลักษณะของพืช ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้นๆ ใบเดี่ยวสีเขียว ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม รูปใบรี ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลม โคนใบมน ออกดอกเป็น ช่อละ 2 – 3 ดอก ดอกย่อยสีขาวมีเกสตัวผู้มาก เป็นฝอย ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกสีเขียวอ่อนปนเหลือง เนื้อในสีขาว มีกลิ่นเฉพาะ มีเมล็ดมาก 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแก่สด หรือลูกอ่อน 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบในช่วงแก่เต็มที่ หรือลูกขณะยังอ่อน 

รส และสรรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย 

วิธีใช้ ลูกอ่อน และใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องเดินได้ผลดีใช้เป็นยาแก้อาหาร ท้องเดินแบบไม่รุนแรงที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค โดยใช้ใบแก่ 10 – 15 ใบ ปิ้งไฟแล้วชงน้ำรับประทาน หรือใช้ผลอ่อนๆ 1 ผล ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย

------------------------------------------------------

ผักคราดหัวแหวน



ผักคราดหัวแหวน

ชื่อท้องถิ่น ผักคราด ผักตุ้มหู (ใต้) ผักเผ็ด (เหนือ) อึ้งฮวยเกี้ย (จีน)
ชื่อสามัญ Toothache plant
ชื่อวิทยาศาสตร์  Spilanthes acmella  (L.) Murr.

ลักษณะของพืช เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซ.ม. ลำต้นอวบน้ำเล็กน้อย อาจมีสีม่วงปนแดง ต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่โคนใบมน ขอบใบหยักฟันเลื่อยหยาบๆ ดอกออกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นรูปกรวยคว่ำ กลีบดอกอยู่ที่ริมๆ มีสีเหลืองขนาดเล็กยื่นออกมา ส่วนดอกที่อยู่ภายในมีขนาดเล็กมาก และมีสีเหลืองเช่นกัน

ส่วนที่ใช้ ดอกสด

ช่วงเวลาที่เก็บ ดอกสดที่สมบูรณ์เต็มที่

รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ด  สรรพคุณ
1. ยาพื้นบ้านใช้แก้ปวดฟัน ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้ไอ 
2 . ตำรายาไทยใช้ต้นสดตำผสมเหล้าหรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้

วิธีใช้  รักษาอาการปวดฟัน ใช้ดอกสดปริมาณพอเหมาะ ตำกับเกลือ อมหรือกัดไว้ บริเวณที่ปวด

--------------------------------------------------------


ผักบุ้งทะเล


ผักบุ้งทะเล

ชื่อท้องถิ่น ละบูเลาห์ (มลายู – นราธิวาส) 


ลักษณะของพืช ผักบุ้งทะเลไม้เลื้อย ลำต้นทอดตามดินได้ยาวมาก ใบรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน เนื้อใบหนา และกรอบน้ำ หักง่าย ดอกเหมือนดอกผักบุ้ง ผลเล็ก และกลม 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ และเถาสด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์เต็มที่ 

รส และสรรพคุณยาไทย ถอนพิษลมเพลมพัด (อาการบวมเปลี่ยนที่เป็นตามอวัยวะ ทั่วไป) ทำเป็นยาต้มอาบแก้คันตามผิวหนัง มีการบันทึกว่า ยางมีพิษ รับประทานแล้วเมา คลื่นไส้ วิงเวียน 

วิธีใช้ การใช้ผักบุ้งทะเลรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย (โดยเฉพาะพิษของแมงกะพรุน) ทำได้โดยเอาใบ และเถา 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่บวมแดงบ่อยๆ

-------------------------------------------------------------

เพกา
 
ฝักเพกา

เมล็ดในเพกา

เพกา
ชื่อท้องถิ่น มะลิดไม้ ลิดไม้ มะลิ้นไม้ (ภาคเหนือ), ลิ้นฟ้า (เลย) 


ลักษณะของพืช เพกาเป็นไม้ยืนต้นสูง มีใบย่อยจำนวนมาก ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ดอกเป็นช่อสีม่วงแดง ฝักแบนยาวคล้ายดาบ ภายในมีเมล็ดแบน มีปีกบางใส 

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแห้ง 

รส และสรรพคุณยาไทย ไม่มีข้อมูล 

วิธีใช้ เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน “น้ำจับเลี้ยง” ของคนจีนที่ดื่มแก้ร้อนใน และเมล็ดใช้เป็นยาแก้ไอ และขับเสมหะ โดยใช้เมล็ด ครั้งละ 1/2 – 1 กำมือ (หนัก 1 1/2 – 3 กรัม) ใส่น้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อนพอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง 

------------------------------------------------------
 
พญายอ



พญายอ

ชื่อท้องถิ่น ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่), พญาปล้องดำ (ลำปาง), เสลดพังพอนตัวเมีย พญาปล้องทอง (กลาง), 
ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) 

ชื่อวิทยาศาสตร์Clinacanthus nutans

ลักษณะของพืช
เสลดพังพอนตัวเมีย เป็นไม้พุ่มแกมเลื้อย เถา และใบสีเขียว ไม่มีหนาม ใบยาวเรียว ปลายแหลมออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ดอกออกช่ออยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 – 6 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยกสีแดงอมส้ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

รส และสรรพคุณยาไทย รสจืด

วิธีใช้  ใบพญายอ รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้งต่อย ต่อ แตน เป็นต้น โดยเอาใบสด 10 – 15 ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าขาวพอชุ่มยาใช้น้ำ และกากทาพอกบริเวณที่บวมหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย
-----------------------------------------------------------

พลู

พลู

ชื่อท้องถิ่น เปล้าอ้วน ซีเก๊ะ (มลายู – นราธิวาส), พลูจีน (ภาคกลาง) 

ลักษณะของพืช พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ คล้ายใบโพธิ์ปลายใบแหลม หน้าใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบช่วงสมบูรณ์เต็มที่ 

รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ตามชนบทใช้ตำกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นลมพิษ คนแก่ใช้ทาปูนแดงรับประทานกับหมาก

วิธีใช้ ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย์ ได้ผลดีกับอาการแพ้ลักษณะลมพิษโดยเอาใบ 1 – 2 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิด จะทำให้แสบมาก
-----------------------------------------------------

ไพล


ไพล

ชื่อท้องถิ่น ปูลอย, ปูเลย (ภาคเหนือ), ว่านไฟ (ภาคกลาง), 
มิ้นสะล่าง (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน) 
ลักษณะของพืช ไพลเป็นไม้ลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใบเรียวยาว ปลายแหลม ดอกออกรวมกันเป็นช่อ อยู่บนก้านช่อดอกที่แทงจากเหง้า 

ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่จัด 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว 

รส และสรรพคุณยาไทย สรรพคุณ แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร 

วิธีใช้ เหง้าไพล ใช้เป็นยารักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ โดยใช้เหง้าประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้ากัน นำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อย และฟกช้ำ เช้า – เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้
--------------------------------------------------------

พริกไทย




พริกไทย

ชื่อท้องถิ่น  พริกน้อย (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ Pepper Black Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์  Piper nigrum L.

ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีรากฝอยออกตามข้อ ใช้ยึดเกาะ ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับ เนื้อใบแข็งดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ สีขาวแกมเขียว ผลกลมจัดเรียงตัวแน่นอยู่บนแกน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง

ส่วนที่ใช้ ผลแก่จัด แต่ยังไม่สุก (ตากแห้ง)

ช่วงเวลาที่เก็บ ผลแก่จัด

รส และสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยแต่งกลิ่นรส ถนอมอาหาร

วิธีใช้ ใช้ผลแก่แห้ง บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทาน
ครั้งละ 15 – 20 ผล (0.5–1 กรัม) หรือบดเป็นผงชงรับประทาน 
ช่วยขับลม แก้ท้องอืด   
(ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน)
----------------------------------------------------------

ฟักทอง






ฟักทอง

ชื่อท้องถิ่น น้ำเต้า (ภาคใต้), มะฟักแก้ว (ภาคเหนือ), มะน้ำแก้ว (เลย), หมักอื้อ (เลย – ปราจีนบุรี), หมากอี (ภาคอีสาน) 

ชื่อวิทยาศาสตร์Cucurbita maxima 'Kabocha Group'

ลักษณะของพืช พืชล้มลุกที่มีเถายาวเลื้อยไปตามดิน มีหนาวยาวที่ข้อ ใบสีเขียวมีหยัก 5 หยัก ผิวใบจับดูจะรู้สึกสาก ดอกสีเหลือง รูปกระดิ่ง ผลมีขนาดใหญ่ ลักษณะกลมแบน ผิวขรุขระเป็นพู เนื้อในสีเหลืองจนถึงเหลืองอมส้ม และเหลืองอมเขียว เมล็ดรูปไข่แบบจำนวนมาก 

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ดฟักทองแก่ 

รส และสรรพคุณยาไทย รสมัน ไม่มีระบุในสรรพคุณยาไทย แต่ยาจีนใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ 

วิธีใช้ ใช้เมล็ดฟักทองถ่ายพยาธิลำไส้ เหมาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืดโดยใช้เมล็ดฟังทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกผสมกับน้ำตาล และนม หรือน้ำตาลที่เติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตาม

--------------------------------------------------------


ฟ้าทลายโจร

ฟ้าทลายโจร

ชื่อท้องถิ่น ฟ้าทลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ), หญ้ากันงู (สงขลา), ฟ้าสาง (พนัสนิคม), เขยตายแม่ยายคลุม (โพธาราม), สามสิบดี (ร้อยเอ็ด), เมฆทลาย (ยะลา), ฟ้าสะท้าน (พัทลุง) 

ชื่อวิทยาศาสตร์Andrographis paniculata


ลักษณะของพืช ฟ้าทลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีขอบกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงเริ่มออกดอก 
ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน

รส และสรรพคุณยาไทย รสขม

วิธีใช้ ใบฟ้าทลายโจรใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาการเจ็บคอ 

มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้คือ

1. ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 – 3 กำมือ 
(แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) 
ต้มกับน้ำนาน 10 – 15 นาที ดื่มก่อนอาหาร
วันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ 
ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก

2. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด 
ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้ง และมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 – 6 เมล็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน

3. ยาดองเหล้า หรือนำใบฟ้าทะลายโจรแห้ง 
ขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ขวดแก้ว ใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี 
แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวด 
หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำ
เก็บไว้ในขวดที่มิดชิด และสะอาด รับประทาน
ครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก)
วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 
---------------------------------------------------------

มะเกลือ



มะเกลือ

ชื่อท้องถิ่น มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), 
หมักเกลือ (ตราด) 

ลักษณะของพืช มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่รี ปลายแหลม ดอกเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วยดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว ผลกลมสีเขียว แก่กลายเป็นสีดำ ยางลูกมะเกลือ ใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดำ 

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลดิบสด (ผลแก่ที่มีสีเขียว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้)

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา ผลดิบสด 

รส และสรรพคุณยาไทย รสเบื่อเมา สรรพคุณ ถ่ายพยาธิตัวตืด และพยาธิไส้เดือนตัวกลม 

วิธีใช้ ชาวบ้านรู้จักใช้ลูกมะเกลือพยาธิมานานแล้ว ผลดิบสดของมะเกลือ (ผลแก่ที่มีสีขาว ผลสุกสีเหลือง หรือผลสีดำห้ามใช้) ได้ผลดีสำหรับพยาธิปากขอ และพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) โดยใช้ผลสดสีเขียวไม่ช้ำไม่ดำจำนวนเท่ากับอายุคนใช้ (1 ปีต่อ 1 ผล) แต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้ที่มีอายุเกินกว่า 25 ปี ก็ใช้เพียง 25 ผล) นำมาตำโขลกพอแหลกแล้วผสมกับหัวกะทิ คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดก่อนรับประทานอาหารเช้า ถ้า 3 ชั่วโมง แล้วยังไม่ถ่ายให้ใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป 

------------------------------------------------------

มะขาม




มะขาม

ชื่อท้องถิ่น มะขามไทย (กลาง), ขาม (ใต้), คะลูบ (นครราชสีมา), ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี), อำเปียล (เขมร – สุรินทร์)


ลักษณะของพืช ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นหนาขรุขระ ใบประกอบด้วยใบย่อยเรียงกัน 10 – 15 คู่ บนก้านกลางใบ ดอกสีเหลืองส้ม มีจุดประสีแดง ออกเป็นช่อ ฝักมีเปลือกค่อนข้างแข็งแต่บาง และเปราะเนื้อในมีทั้งชนิดเปรี้ยว และชนิดหวาน เมล็ดแก่สีน้ำตาลไหม้ 

ส่วนที่เป็นยา เนื้อฝักแก่, เนื้อเมล็ดมะขามแก่ 

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาล 

รส และสรรพคุณยาไทย เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ เนื้อเมล็ดมะขามรสมัน ใช้ขับพยาธิ 

วิธีใช้ ส่วนต่างๆ ของมะขามเป็นยารักษา 

1. อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกเปรี้ยว 10 – 20 ฝัก (หนัก 70 – 150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือเติมน้ำคั้นใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม 

2. พยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่มรับประทานครั้งละ 20 – 30 เมล็ด 

3. อาการไอ มีเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร 

---------------------------------------------------------

มะขามแขก




มะขามแขก

ชื่อท้องถิ่น  ไม่มีข้อมูล

ชื่อวิทยาศาสตร์Senna alexandrina

ลักษณะของพืช มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กเป็นพุ่มใบคล้ายมะขามไทย แต่ยาวกว่า และปลายใบแหลมกว่าดอกเป็นช่อสีเหลือง คล้ายถั่วลันเตา แต่ป้อม และแบนกว่า

ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบแห้งและฝักแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เริ่มเก็บใบได้
ในช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)

รส และสรรพคุณยาไทย ใบ และฝักใช้เป็นยาถ่าย ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก

วิธีใช้ มะขามแขกเป็นยาถ่ายที่ดี ใช้รักษาอาการท้องผูก โดยใช้ใบแห้ง 1 – 2 กำมือ (หนัก 5 – 10 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้วิธีบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก 4 – 5 ฝัก ต้มกับน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น) มะขามแขกเหมาะกับคนที่ท้องผูกเป็นประจำ แต่ควรใช้เป็นครั้งคราว

---------------------------------------------------------

มะขามป้อม



มะขามป้อม


ชื่อท้องถิ่น สันยาส่า มั่งลู่ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), 
กำทวด (ราชบุรี), กันโตด (จันทบุรี)

ชื่อสามัญ Indian gooseberry Malacca tree
ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus emblica L.

ลักษณะของพืช เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 7 เมตร ปลายใบแหลมยาวรี สีเขียวแก่ ดอกเป็นดอกช่อหรือเป็นกระจุกเล็กๆ ดอกมีสีเหลืองอมเขียว ผลกลมเกลี้ยง ประมาณ 2 ซม. มีรอยแยกแบ่งเป็น 3 ซีกผลอ่อนสีเขียวออกเหลือง ผลแก่สีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้ ผลแก่สด

ช่วงเวลาที่เก็บ ผลแก่

รส และสรรพคุณยาไทย รสเปรี้ยวอมฝาด สรรพคุณ เป็นยาบำรุง ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด กระตุ้นน้ำลาย ละลายเสมหะ ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้คอแห้ง

วิธีใช้    แก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ใช้ผลแก่สดประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือ เคี้ยว
รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง

-------------------------------------------------------------


มะคำดีควาย





มะคำดีควาย


ชื่อท้องถิ่น ชะแช ซะเหบ่เด (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน), ประคำดีควาย (ภาคกลาง ภาคใต้), มะชัก ส้มป่อยแถม (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์Sapindus

ลักษณะของพืช มะคำดีควายเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบใหญ่ติดกับลำต้นแบบสลับ ประกอบด้วยใบย่อยรูปใบเรียวยาว หรือขอบใบค่อนข้างขนาดกัน ปลาย และโคนใบแหลม เนื้อใบ 2 ข้างไม่เท่ากัน ดอกเล็กสีขาวอมเหลือหรืออมเขียว ดอกเป็นช่อยาว ผลค่อนข้างกลมสีส้ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บช่วงผลแก่ และตากแดดจนแห้ง

รส และสรรพคุณยาไทย รสขม แก้กาฬภายใน แก้พิษไข้ ดับพิษร้อน ลูกต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็ก แก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้า และสระผมได้

วิธีใช้ ผลมะคำดีควาย ใช้รักษาชันตุที่หัวเด็กได้ โดยเอาผลมาประมาณ 5 ผล แล้วทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ บริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น จนกว่าจะหาย (ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา)




ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

---------------------------------------------
อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป 
 สาขาเภสัชกรรม
กองการประกอบโรคศิลปะ


Credit:  ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google,  Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ


ตรวจทานแล้ว






No comments:

Post a Comment