พิธีบูชาพระบรมอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์
และพิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทย
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
พิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทย พระบรมอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์ (ปรับปรุงใหม่)
พิธีบูชาพระบรมอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์
และพิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทย
พิธีบูชาพระบรมอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์ และพิธีไหว้ครูแพทย์แผนไทย
การไหว้ครูนับเป็นวัฒนธรรมไทยแบบหนึ่ง เป็นขนบธรรมเนียมอันดีงามในส่วนที่เกี่ยวกับกิริยามารยาท สัมมาคารวะ และมีส่วนที่จะโน้มน้าวจิตใจมนุษย์ให้รักษาคุณความดี รักษาวิทยาการสืบเนื่องไปด้วยดี ทั้งยังจูงใจให้เป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง
ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียน เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย
กำหนดวัน และเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่นๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่า เวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
2. ดอกเข็ม มีความหมายว่า ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
3. ดอกมะเขือ มีความหมายว่า การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
4. ข้าวตอก มีความหมายว่า ข้าวเปลือกเรารับประทานไม่ได้ แต่ถ้าเอาไปคั่ว เป็นข้าวตอก สามารถนำมาปรุงเป็นกระยาสารทรับประทานได้หรือรับประทานเปล่าๆก็ได้เช่นกัน เปรียบได้กับการที่ครู "คั่ว" นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ "คั่ว" คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ "แตกฉาน" สามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
นอกจากนี้แล้วยังมีพิธีไหว้ครูในสายอาชีพ เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป
1. พระฤๅษีอมรประสิทธิ์
2. พระฤๅษีนารถ
3. พระฤๅษีสัชชนาลัย
4. พระฤๅษีตาไฟ
5. พระฤๅษีตาวัว
6. พระฤๅษีกัศยปะ
7. พระฤๅษีสิงขะ
8. พระฤๅษีกไลยโกฐ
ขั้นตอนในการไหว้ครู
1. จุดธูปเทียนชัยบูชาพระรัตนตรัย
2. จุดธูปเทียนบูชาบรมครูชีวกโกมารภัจจ์
3. อาจารย์ผู้ทำพิธี ประกอบพิธี กล่าวชุมนุมเทวดา และบูชาพระบรม
ความมุ่งหมายพิธีไหว้ครู
1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียน เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4. เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครู
1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5. เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย
กำหนดวัน และเดือนที่นิยมประกอบพิธีไหว้ครู การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์ ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์ ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่นๆ จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู นอกจากนี้ยังถือกันว่า เวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์ เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครู ตามแบบโบราณนิยมให้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูในเดือนคู่ เช่น เดือน 4 เดือน 6 เดือน 8 เดือน 10 เดือน 12 และเดือนยี่ (2) แต่มีข้อยกเว้นเดือนเดียวคือ เดือน 9 อนุโลมให้จัดพิธีได้ เพราะถือกว่า 9 เป็นเลขมงคลของไทยสืบมา ในบางครั้งตามคติโบราณ ยังต้องระบุจันทรคติเพิ่มขึ้นด้วย โดยพิจารณาอีกว่าตรงกับวันขึ้นแรมข้างใด จะนิยมวันพฤหัสบดีข้างขึ้น นับว่าเป็นมงคลยิ่ง เพราะข้างขึ้นถือว่าเป็น "วันฟู" เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง
พิธีไหว้ครู หรือการไหว้ครู นี้มีหลายอย่าง เมื่อก่อนตอนเป็นนักเรียน พวกเราคงจำกันได้นะคะว่าทำกันอย่างไร และมีดอกไม้อะไรบ้าง เช่น
1. หญ้าแพรก มีความหมายว่า ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุว่าของครูบาอาจารย์2. ดอกเข็ม มีความหมายว่า ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม
3. ดอกมะเขือ มีความหมายว่า การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง
4. ข้าวตอก มีความหมายว่า ข้าวเปลือกเรารับประทานไม่ได้ แต่ถ้าเอาไปคั่ว เป็นข้าวตอก สามารถนำมาปรุงเป็นกระยาสารทรับประทานได้หรือรับประทานเปล่าๆก็ได้เช่นกัน เปรียบได้กับการที่ครู "คั่ว" นักเรียนคนใดคนหนึ่ง กล่าวคือ "คั่ว" คือการเคี่ยวเข็ญ ว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอนนั่นเอง วิชาความรู้ของนักเรียนเหล่านั้นจะ "แตกฉาน" สามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
นอกจากนี้แล้วยังมีพิธีไหว้ครูในสายอาชีพ เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป
นอกจากไหว้พระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์แล้ว ยังมีพระบรมครูของแพทย์แผนโบราณดั้งเดิม คือพระฤๅษี ซึ่งเป็นผู้ค้นพบคุณค่ายาสมุนไพรต่างๆ ได้แก่
1. พระฤๅษีอมรประสิทธิ์
2. พระฤๅษีนารถ
3. พระฤๅษีสัชชนาลัย
4. พระฤๅษีตาไฟ
5. พระฤๅษีตาวัว
6. พระฤๅษีกัศยปะ
7. พระฤๅษีสิงขะ
8. พระฤๅษีกไลยโกฐ
2. ผอบ สำหรับใส่แป้งดินสอพองผสมน้ำหอม เพื่อใช้ในขั้นตอนที่อาจารย์เจิมหน้าผากให้ลูกศิษย์ เจิมหนังสือ หรือตำรา และอุปกรณ์ในการรักษา
3. หนังสือหรือตำรา ควรใช้ทั้งตำราเก่าๆ ที่ใช้ได้ผลมาแล้ว และตำราใหม่ๆ เพื่อประกอบพิธีไหว้ครูโดยอาจารย์จะมอบวิชาความรู้ให้กับลูกศิษย์ทั้งวิชาดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา และความรู้วิทยาการใหม่ๆ
4. ขันน้ำมนต์ พร้อมเทียนชัยสำหรับทำน้ำมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นน้ำมนต์ที่เกิดจากพระพุทธมนต์ ใช้ประพรมให้ลูกศิษย์ เพื่อเป็นสิริมงคล
6. บายศรีปากชาม ต้องมี ๑ คู่ คือวางไว้ข้างซ้ายและข้างขวา ในการบูชาพระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์นี้ ไม่ต้องใช้ไข่ แต่ในพิธีอื่นอาจจะใช้ก็ได้ บายศรีเป็นของใช้ในพิธีมงคลของไทยเพื่อแสดงถึงผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่รับขวัญให้ผู้น้อย
7. อุปกรณ์การทำยา นำมาเจิมเพื่อเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าอุปกรณ์ที่ผ่านการไหว้ครูมาแล้ว เมือนำไปใช้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. มีดหมอ จำเป็นต้องมี เพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรักษาและจัดหาสมุนไพรของหมอโบราณ การนำมีดหมอมาทำพิธีครอบครูพร้อมกับตำราเพื่อเป็นการแสดงว่า ครู อาจารย์ ได้มอบวิชาให้ลูกศิษย์จนหมด
9. ฆ้องชัย สำหรับตีขั้นจังหวะในพิธีเพื่อให้ทราบว่าจบตอน ขึ้นตอนใหม่หรือเชิญครูบาอาจารย์ บางแห่งให้โห่สามลาพร้อมลั่นฆ้องชัย 3 ครั้ง ก่อนเริ่มพิธีเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย
11. ข้าวตอก ถั่วเขียว งาขาว นำมาใช้เพราะเป็นสิ่งที่เจริญเติบโตง่าย ปลูกง่าย เปรียบได้กับให้ลูกศิษย์เจริญรุ่งเรือง
12. ยาสมุนไพร ใช้สมุนไพรเท่าที่หาได้ โดยให้มีส่วนที่นำมาทำยาสมุนไพรครบทั้ง 5 คือ ลำต้น ผล ดอก ใบ ราก เพื่อเป็นตัวแทนยาสมุนไพรทั้งหลายที่ใช้ประกอบการรักษา
13. นม เนย น้ำผึ้ง น้ำชา น้ำเปล่า ใช้ในการบูชาพระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ และพระบรมครูทั้งหลายซึ่งเป็นฤาษีอาจจะรับประทานอาหารที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมไว้หลายๆ อย่าง
14. อาหารหวาน จัดเป็นอาหารหลัก เพราะพระบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ เป็นผู้ทรงศีล ไม่บริโภคเนื้อสัตว์
15. ผลไม้ 7 อย่าง ไม่กำหนดชนิดของผลไม้ จะเป็นชนิดใดก็ได้ตามฤดูกาล สาเหตุที่ใช้ผลไม้เพราะท่านอาจารย์อวย เกตุสิงห์ ได้แนะนำไว้ว่า ในการทำพิธีบูชาพระบรมครูไม่ควรเบียดเบียนสัตว์ (สำหรับอาหารนี้บางแห่งใช้เป็นหัวหมู หรือไก่ก็มี)
17. หมาก พลู บุหรี่ เป็นประเพณีไทยแต่โบราณในการต้อนรับแขกผู้มาเยือน จะต้องมีของเหล่านี้ไว้สำหรับต้อนรับ
18. อ้อย ฟักทอง ฟักเขียว เผือก มัน เป็นพืชที่หาได้ง่ายในสมัยก่อน และเป็นอาหารหลักสำหรับดำรงชีพ
19. อ้อยแดง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นง่าย หาง่าย รสหวานกลมกล่อม จึงนำมาใช้เพื่อเป็นสิริมงคลกับลูกศิษย์ คือ ให้ลูกศิษย์รับถ่ายทอดวิชาได้ง่ายขึ้น ทำให้มีลูกศิษย์จำนวนมากขึ้นและมีความรักใคร่กลมเกลียวกัน
21. ขนมชั้น เป็นขนมของไทยที่นิยมใช้เป็นขนมในพิธีมงคล เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจริญรุ่งเรืองไปเป็นชั้นๆ ถึงชั้นลูก ชั้นหลาน
22. ขนมต้มแดง ต้มขาว มีรสหวาน ลักษณะกลม ใช้ในงานพิธีมงคล เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้สามัคคีกันไม่ปีนเกลียวกัน
23. ข้าวตอก จัดว่าเป็นพืชที่เป็นสิริมงคล เพราะเมื่อถุกไฟเวลาคั่ว จะแตกบานเต็มที่ ให้ความหมายถึง สติปัญญา ที่แตกฉานของลูกศิษย์
1. จุดธูปเทียนชัยบูชาพระรัตนตรัย
2. จุดธูปเทียนบูชาบรมครูชีวกโกมารภัจจ์
3. อาจารย์ผู้ทำพิธี ประกอบพิธี กล่าวชุมนุมเทวดา และบูชาพระบรม
ครูฯ
4. อาจารย์ผู้ทำพิธี ประกอบพิธีเจิมหนังสือ อุปกรณ์การทำยาต่างๆ
5. อาจารย์ทำพิธี ครอบครูให้ลูกศิษย์ โดยเจิมหน้าผาก เจิมมือ มอบหนังสือ มีดหมอให้ลูกศิษย์ (วิธีการรับของจากครู ต้องรับโดยไม่ให้ตกจากมือแล้วเก็บเข้าที่ให้เหมือนเดิม เปรียบเทียบได้กับเป็นการรับวิชาจากอาจารย์มาให้ได้มากที่สุด ถูกต้องที่สุด ไม่ตกหล่น) หลังจากนั้นอาจารย์ให้พรและประพรมน้ำมนต์
6. ตัวแทนศิษย์นำพานดอกไม้ ธูปเทียนไหว้ครู
7. กล่าวประกาศคำไหว้ครู
8. ครูให้โอวาท
วันทิตะวา นะมามิ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัพพะโลกา อาจาริยัง พกาพรหมาทิพรหมมัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง สิทธิตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง นะมามิ ปสิทธิ ภะวันตุ เม
ข้าพเจ้า (ออกนามผู้ประกอบพิธี) ขอประณตน้อมพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ระลึกสักการะพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณธรรมเจ้าคุณ พระสังฆะเจ้า ปิ่นเกล้าแห่งไตรสะระณาคม คุณท่านท้าวพกาพรหม ท้าวรักษาประชาบดี เทวะเมธีแพทย์ อัศวิน องค์เทพบดินทร์อิศวรสิทธิศักดิ์ ทวยเทพารักษ์ ทุกสถาน คุณพระอุปัชฌาอาจารย์ คุณท่านบิดามารดา ผู้มีอุปาการะคุณอนันต์ ครูผู้เฒ่าแต่ก่อนเก่าปัจจุบัน ครูพระธรรมกัมมัฏฐาน ครูเวชศาสตร์ ครูยา ครูนวด ครูมหาเถรตำเย ครูตำรับ ครูตำรา ครูอักขระขอมและไทย ครูเลขและครูยันต์ จนจบหมด ขออัญเชิญมาชุมนุมโดยญาณจิต เพื่อสถิตเป็นองค์สักขีพยาน ในพิธีการเคารพอาจารย์แพทย์แผนไทย ตามนัยจารีตโบราณ ณ กาลบัดนี้
ระหว่างนี้จะมีการปอกผ่าเครื่องบัดพลีถวาย และปักธูปตามของที่ตั้งอย่างละ 1 ดอก
ข้าพเจ้า ขออาราธนาพระอาจารย์ ท่านมหาเถรตำแย จงมาเป็นประธานพร้อมด้วยพระอาจารย์ฤทธิยาธร พระฤๅษีอมรสิทธิดาบส พระฤๅษีนารท พระฤๅษีประลัยโกฏ พระอาจารย์โรคามฤตินทร์ พระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ และพระอาจารย์ทางแพทยศาสตร์ทุกสาขา ขออาราธนารับสังเวยอันมีเครื่องกระยาบวช เครื่องหอมจุลจันทร์ บายศรีบัดพลีพฤกษาพลาหาร นำมาอุทิศแด่ครู ขอครูอย่าเลยละ เชิญรับเครื่องบูชาสักการะส่วนอุทิศจำนง สิ่งประสงค์คลาด เกิน หรือขาดไปบ้าง ขออย่าสร่างซึ่งเมตตา จงกรุณาอภัยโทษ โปรดรับเครื่องบูชาสักการะสิ่งเหล่านี้ ขอน้อมถวายอาจารย์ทุกทิศา ซึ่งประสิทธิเวชศาสตร์วิทยา
ข้าพเจ้าจำนงเจตนา จัดสักการะบูชาเป็นประจำปี อันเป็นคารวะเวชพิธีตามประเพณีของแพทย์ไทยแต่โบราณกาล
อิติปิโส ภะคะวา ข้าพเจ้าขออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอยู่เหนือเศียรเกล้า ขอเชิญพระพรหมมาอยู่เหนือบ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่เหนือบ่าขวา ขอเชิญพญานาคมาเป็นสร้อยสังวาลข้าพเจ้าจะทำการสิ่งใด ภูตพรายอย่าได้เบียดเบียน อย่าได้ประมาทพลาดพลั้ง
ขอเชิญครูแต่หนหลัง ฤาษีทั้ง 108 ตน เดชะคุณครูบาอาจารย์อันเลิศล้ำ คุณครูอยู่ ณ ที่ใดๆ ขอจงมาช่วยอวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งปวง พุทธังประสิทธิ มหาประสิทธิ ธัมมังประสิทธิ มหาประสิทธิ สังฆังประสิทธิ มหาประสิทธิ
โอม นะโม นมัสการ ข้าพเจ้าไหว้คุณพระอาจารย์ทั้งหมด ตั้งแต่คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆะเจ้า คุณท้าวมหาพรหมและพระอิศวร ทั้งคุณดิน คุณน้ำ คุณลม คุณไฟ คุณอนุโลมปฏิโลม คุณอัสสาสะ คุณปัสสาสะ คุณนิวาสะ คุณอากาศ เป็นที่สุดปริโยสาน อีกทั้ง คุณเทพเจ้า ตั้งแต่ พระอาทิตย์ พระจันทร์พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุบดี พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระนางเมฆขลา ทั้งหมู่วิทยาธร ผู้เสด็จจรในอากาศ คุณพระฤาษีผู้ประสิทธิ์ประสาท สรรพเวช สรรพยา สรรพนวด สรรพผดุงครรภ์ สรรพท่าฤษีดัดตน
ข้าพเจ้าขอนมัสการ ขอให้ข้าพเจ้าเชี่ยวชาญทั้งคุณเวชศาสตร์ คุณเภสัช คุณนวด คุณผดุงครรภ์ คุณท่าฤษีดัดตนขอให้มีอิทธิเดโชชัย ทั้งคุณตำรับ คุณตำรา คุณแพทย์แผนไทย อีกทั้งคุณอักขระ พระคาถาที่มีฤทธิ์ เชิญมาสถิตย์สถาพร สิทธิ สัพพะสุขัง ภะวันตุ เม
ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าอัญชลี พระฤาษีผู้ทรงญาน
แปดองค์เธอมีฌาณ โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้ครูอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้า
สาปสรรค์ซึ่งว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูโกมารภัจจ์ ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิ์พร
อนึ่งตั้งอัญชลี นบพระศรีศาสดา เป็นปิ่นในโลกา อีกธรรมาทั้งหมู่สงฆ์ เป็นประทีปส่องหมู่สัตว์ ให้เห็นชัดมิให้หลง แนะนำในทางตรง ควรจำนงเป็นสรณา ปกเกศกันอุบาทว์ อันประมาทมากนิทรา สรรพโทษอย่าพาธา ด้วยพระเดชจงเกียจกัน บิดาคุณมารดา ครูอุปัชฌาย์อันสอนธรรม อีกคุณกระษัตริย์ อันทรงเดชล้นพ้นประมาณ เทพ พระสยมภู (พระอิศวร) ทั้งอินทร์พรหมทุกสถาน จงสรรบันดาลญาณ โปรดประทานแต่โดยดี ด้วยข้าจะขอกล่าว ในเรื่องราวพระคัมภีร์ สืบไว้ในธาตรี จนถึงที่สูนย์กัลปา
หมอเอยจงฟังสารโบราณท่านได้กล่าวมา เป็นแพทย์ไม่ศึกษา ฉันทศาสตร์ให้เรืองรมย์ ไม่รูกำเนิดไข้ แต่ยาได้ก็ชื่นชม รักษาด้วยอารมณ์ ประโยชน์ลาภอันพึงใจ หมอนั้นท่านเปรียบปาน ดังตาบอดกำเนิดใน ดันถือทิฏฐิใจ ไม่เห็นโทษในกองกรรม วางยาแต่คราวเดียว
ไม่ต้องโรคยับระยำ ดังโตมราตำ ตลอดยอดอุราใน ยาผิดเป็นสองครั้ง ดังยกทุ่มเข้ากองไฟ ถ้าวางยานั้นผิดไป ครบถ้านเป็นสามครา ดังต้องอสุนีสาย มาฟาดกายให้มรณา กายยับด้วยพิษยา กำเริบโรคทวีไป หมอนั้นครั้นสิ้นชนม์ จะไปทนกำเนิดใน นรกอันยิ่งไฟ ทั้งหม้อน้ำทองแดงมี หมู่นายนิรบาล ประชุมเชิญด้วยยินดี เครื่องโทษบรรดามี จะยกให้เป็นรางวัล
เป็นแพทย์จงเพียรเรียน ให้รอบรู้จงครบครัน ที่อยู่ฤดูวัน อายุปันและเวลา สำแลงแสลงไข้ โรคอันใดจะเป็นมา รู้ไข้ให้รู้ยา รักษาตามกำเนิดใน กาดำประจำโรค โรคดังกาอันตาไว เงือดเงื้อธนูไป ก็หลีกหลบด้วยเร็วพลัน ยายิ่งธนูปาน สิงหราชก็เพียงกัน โรคดังมฤควัญฌ์ จะลี้ลับหลบไปเอง โรคมีตามพงษา เป็นเวลาบุราณเพรง โทษกำหนดเกรง จะยายากด้วยแรงกรรม
แพทย์ใดชำนาญรู้ กำเนิดโรคและยายำ ยาไข้ด้วยใจทำ เที่ยงแน่แท้ในทางบุญ ทั้งลาภก็ยิ่งลาภ และทั้งคุณก็ยิ่งคุณ ทำบุญก็ได้บุญ ประเสริฐเลิศวิชาชาญ จักเป็นที่เสน่หา ถ้วนทุกหน้า ย่อมกราบกราน ไกลใกล้ก็ไม่นาน จะไปสู่ ไปง้องอน เป็นที่จะสรรเสริญ เจริญใจทั้งให้พร ครั้นถึงซึ่งม้วยมรณ์ จะได้ไปในสวรรค์ เสวยทิพย์สิ่งสุข แสนสนุกทุกวี่วัน คัมภีร์ท่านรำพัน ประกาศไว้แต่หลังมา
สัพเพเดชานุภาเวนะ ขอพระอาจารย์เจ้าจงโปรดประทาน โดยเตชุญาณ อวยพรประสิทธิผล ให้เป็นมิ่งมงคลแก่ตัวข้าพเจ้า สมดังมโนปรารถนา บรรดาวัตถุว่านยา ซึ่งท่านท้าวพกาพรหม ทรงสาปสิทธิประทานไว้ทุกสิ่งสรรพ เมื่อข้าพเจ้าหยิบจับ จัดปรุงประกอบเป็นโอสถ ขอจงปรากฏเป็นยาศักดิ์สิทธิ์วิเศษชัยยะ ชนะโรคภัยทั้งหลาย ขอให้บำบัดโรคหายโดยเร็วพลัน ขอให้ข้าพเจ้าเป็นแพทย์แผนไทยสำคัญเลื่องชื่อ ประชาชนนับถือ นิยมทั่วทุกทิศ ขอให้องค์สักขีพิธีกิจ ทรงเสริมประสิทธิ์ ร่วมประสาทพร อวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ณ กาลบัดนี้
สัพเพเทวา พหูชะนา ปิโย เทวามนุสสานัง ปิโย พรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปันนานัง ปิณินทรียัง นะมามิหัง วุวัณณมุกขัง วิระจิตตัง มหาโวตรเม อิตถียัง ปุริสัง ปิยัง มะมะ ชัยยะกัมมัง ประสิทธิ เม
ศิลปวิทยาไม่ว่าแขนงใดก็ตามต้องมีครูฉันใด ผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็ย่อมต้องมีครูฉันนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ไม่ว่าจะเป็น สาขาเวชกรรม (การตรวจ การวินิจฉัยโรค การบำบัด หรือการป้องกันโรค ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย) ก็ดี หรือสาขาเภสัชกรรม (เตรียมยา การผลิตยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา ตามกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย) ก็ดี ต่างมีครูร่วมกัน โดยเฉพาะฤๅษีครูแพทย์ และหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งบูรพาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทยนับถือกันว่า เป็น "ปฐมครู"
การศึกษาเพื่อให้เข้าใจ "การแพทย์แผนไทย" นั้น จำเป็นต้องเข้าใจระบบ และวิธีคิดของ "แพทย์แผนไทย" ซึ่งมีศูนย์รวมของจิตใจอยู่ที่ "ครู" ก่อน ในบทไหว้ครูอันเป็นบทเริ่มต้น ของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์แพทย์แผนไทย ที่สำคัญเล่มหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นร่องรอยอิทธิพล ของความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในตำราแพทย์โบราณของไทย ดังนี้
ข้าขอประณมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าอัญชลี พระฤๅษีผู้ทรงญาณ
แปดองค์เธอมีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรมเมศวร์ทุกชั้นฟ้า
สาปสรรค์ซึ่งหว้านยา ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิ์พร
คัดตามต้นฉบับจากแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๔๖๖ หน้า ๑
ในบทไหว้ครูตอนต้นที่ว่า "พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา" และ "ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์" นั้น ผู้นิพนธ์ได้สะท้อนคติความเชื่อ ของสังคมทางพระพุทธศาสนาไว้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) และเรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ส่วนในตอน "ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรมเมศวร์ทุกชั้นฟ้า" และ "...พระฤๅษีผู้ทรงญาณ แปดองค์เธอมีฌาน..." ซึ่งเป็นการสรรเสริญพระอิศวร พระพรหม ว่า เป็นผู้ประทานสมุนไพรใบยาให้แก่มวลมนุษยชาติ และสรรเสริญฤๅษี 8 ตน (ฤๅษีอาเตรยะ ฤๅษีหาริด ฤๅษีอัคนิเวศ ฤๅษีกาศยป ฤๅษีเภท ฤๅษีจรกะ ฤๅษีสุศรุต และฤๅษีวาคภัฏ) ซึ่งถือว่า เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ อันเกิดแก่มนุษย์ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพล ของคติความเชื่อ ทางศาสนาพราหมณ์ อันมีรากเหง้ามาจากคัมภีร์พระเวท โดยเฉพาะคัมภีร์อาถรรพเวท ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดตำราการแพทย์ ของอินเดียโบราณ
ฤๅษีครูแพทย์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำ ฤๅษี ว่า "นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ" คำนี้มาจากคำ ฤๅษิ ซึ่งแปลว่า ผู้เห็น โดยนัยหมายถึง ผู้ที่แลเห็น ด้วยความรู้พิเศษ อันเกิดจากฌาน สามารถแลเห็นได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
แพทย์แผนโบราณบูชาฤๅษี 8 ตน เป็นปฐมครูผู้ประสาทวิชาการแพทย์ และเภสัชกรรมแผนโบราณสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เห็นได้จากบทไหว้ครู ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ที่คัดมาข้างต้น
ประวัติบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์
แพทย์แผนไทยนับถือและยกย่องหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นปฐมครูผู้รอบรู้ ในศาสตร์ด้านการแพทย์แผนโบราณทุกแขนง หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ และเป็นหมอประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกทั้งหลาย ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นเรื่องราวประวัติการแพทย์สมัยพุทธกาล ที่ยังคงทิ้งร่องรอยไว้ในพระไตรปิฎก ดังความใน "วินัย มหาวัคค์ จีวรขันธกะ" สรุปความได้ดังนี้
หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรชายของนางสาลวดี ผู้เป็นนางบำเรอชั้นสูงแห่งกรุงราชคฤห์ นครหลวงแคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เมื่อนางสาลวดีตั้งครรภ์ เกรงว่า จะเกิดผลกระทบกับหน้าที่การงาน จึงอ้างว่า ป่วย และพักงาน จนให้กำเนิดบุตรชาย แล้วสั่งให้สาวใช้เอาทารกนั้น ไปทิ้งที่กองขยะในตอนกลางคืน ในตอนเช้า เจ้าชายอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ เสด็จไปเฝ้าพระราชบิดา ขณะเสด็จผ่านบริเวณนั้น ทอดพระเนตรเห็นฝูงกาล้อมเป็นกลุ่มอยู่ จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่โดยเสด็จด้วยเข้าไปดู เมื่อทรงทราบว่า มีคนนำเด็กทารกมาทิ้ง จึงรับสั่งถามมหาดเล็กนั้นว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ มหาดเล็กทูลตอบว่า ยังมีชีวิตอยู่ จึงทรงรับสั่งให้นำทารกนั้น กลับเข้าไปในพระราชวัง
4. อาจารย์ผู้ทำพิธี ประกอบพิธีเจิมหนังสือ อุปกรณ์การทำยาต่างๆ
5. อาจารย์ทำพิธี ครอบครูให้ลูกศิษย์ โดยเจิมหน้าผาก เจิมมือ มอบหนังสือ มีดหมอให้ลูกศิษย์ (วิธีการรับของจากครู ต้องรับโดยไม่ให้ตกจากมือแล้วเก็บเข้าที่ให้เหมือนเดิม เปรียบเทียบได้กับเป็นการรับวิชาจากอาจารย์มาให้ได้มากที่สุด ถูกต้องที่สุด ไม่ตกหล่น) หลังจากนั้นอาจารย์ให้พรและประพรมน้ำมนต์
6. ตัวแทนศิษย์นำพานดอกไม้ ธูปเทียนไหว้ครู
7. กล่าวประกาศคำไหว้ครู
8. ครูให้โอวาท
เริ่มพิธีไหว้ครู
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
( ว่าพร้อมกัน 3 จบ)
คำบูชาพระรัตนตรัย
(ว่าพร้อมกัน)
พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะบูชา มะหาปัญโญ
สังฆบูชา มะหาโภคะวะโห ติโลกะนาโถ อะภิปูชะยามะ
สังฆบูชา มะหาโภคะวะโห ติโลกะนาโถ อะภิปูชะยามะ
(กราบ 3 ครั้ง)
พิธีบูชาครู
การประกอบพิธีบูชาครูธรรมดาทั่วไป
อาจารย์ผู้ทำพิธีจุดธูปเทียนบูชา กล่าวคำพระไตรสรณคมน์
ปฏิญาณตน ถือศีล 5
จุดธูป และเทียนชัยหน้าที่บูชาพระอาจารย์
(กราบ 3 ครั้ง)
ชุมนุมเทวดา
สัคเค กาเม จรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน,
ทีเปรัฎเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต,
ภุมมาจายันตุ เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะ คันธัพพะนาคา,
ติฎฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุฯ
ธัมมัสสะวะนะกาโร อยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโร อยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโร อยัมภะทันตา
บทนำถวาย
วันทิตะวา นะมามิ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัพพะโลกา อาจาริยัง พกาพรหมาทิพรหมมัง สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง สิทธิตะถาคะโต สิทธิเตโช ชะโย นิจจัง สิทธิลาโภ นิรันตะรัง นะมามิ ปสิทธิ ภะวันตุ เม
คำถวายอัญเชิญผู้ศักดิ์สิทธิ์
ข้าพเจ้า (ออกนามผู้ประกอบพิธี) ขอประณตน้อมพร้อมด้วยกาย วาจา ใจ ระลึกสักการะพระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณธรรมเจ้าคุณ พระสังฆะเจ้า ปิ่นเกล้าแห่งไตรสะระณาคม คุณท่านท้าวพกาพรหม ท้าวรักษาประชาบดี เทวะเมธีแพทย์ อัศวิน องค์เทพบดินทร์อิศวรสิทธิศักดิ์ ทวยเทพารักษ์ ทุกสถาน คุณพระอุปัชฌาอาจารย์ คุณท่านบิดามารดา ผู้มีอุปาการะคุณอนันต์ ครูผู้เฒ่าแต่ก่อนเก่าปัจจุบัน ครูพระธรรมกัมมัฏฐาน ครูเวชศาสตร์ ครูยา ครูนวด ครูมหาเถรตำเย ครูตำรับ ครูตำรา ครูอักขระขอมและไทย ครูเลขและครูยันต์ จนจบหมด ขออัญเชิญมาชุมนุมโดยญาณจิต เพื่อสถิตเป็นองค์สักขีพยาน ในพิธีการเคารพอาจารย์แพทย์แผนไทย ตามนัยจารีตโบราณ ณ กาลบัดนี้
(ถ้าเป็นพิธีใหญ่ กราบ 3 ครั้ง โห่ 3 ลา ลั่นฆ้องชัย)
ระหว่างนี้จะมีการปอกผ่าเครื่องบัดพลีถวาย และปักธูปตามของที่ตั้งอย่างละ 1 ดอก
คำถวายอาราธนาพระอาจารย์เจ้า
(ว่าพร้อมกัน)
ข้าพเจ้าจำนงเจตนา จัดสักการะบูชาเป็นประจำปี อันเป็นคารวะเวชพิธีตามประเพณีของแพทย์ไทยแต่โบราณกาล
(ถ้าเป็นพิธีใหญ่ กราบ 3 หน ลั่นฆ้องชัย โห่ 3 ลา)
โองการชุมนุมครูโดยย่อ
(ว่าพร้อมกัน)
อิติปิโส ภะคะวา ข้าพเจ้าขออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอยู่เหนือเศียรเกล้า ขอเชิญพระพรหมมาอยู่เหนือบ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่เหนือบ่าขวา ขอเชิญพญานาคมาเป็นสร้อยสังวาลข้าพเจ้าจะทำการสิ่งใด ภูตพรายอย่าได้เบียดเบียน อย่าได้ประมาทพลาดพลั้ง
ขอเชิญครูแต่หนหลัง ฤาษีทั้ง 108 ตน เดชะคุณครูบาอาจารย์อันเลิศล้ำ คุณครูอยู่ ณ ที่ใดๆ ขอจงมาช่วยอวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งปวง พุทธังประสิทธิ มหาประสิทธิ ธัมมังประสิทธิ มหาประสิทธิ สังฆังประสิทธิ มหาประสิทธิ
(ตีฆ้อง 1 ครั้ง)
โองการสรรเสริญคุณโดยย่อ
(ว่าพร้อมกัน)
โอม นะโม นมัสการ ข้าพเจ้าไหว้คุณพระอาจารย์ทั้งหมด ตั้งแต่คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆะเจ้า คุณท้าวมหาพรหมและพระอิศวร ทั้งคุณดิน คุณน้ำ คุณลม คุณไฟ คุณอนุโลมปฏิโลม คุณอัสสาสะ คุณปัสสาสะ คุณนิวาสะ คุณอากาศ เป็นที่สุดปริโยสาน อีกทั้ง คุณเทพเจ้า ตั้งแต่ พระอาทิตย์ พระจันทร์พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุบดี พระแม่ธรณี พระแม่คงคา พระนางเมฆขลา ทั้งหมู่วิทยาธร ผู้เสด็จจรในอากาศ คุณพระฤาษีผู้ประสิทธิ์ประสาท สรรพเวช สรรพยา สรรพนวด สรรพผดุงครรภ์ สรรพท่าฤษีดัดตน
ข้าพเจ้าขอนมัสการ ขอให้ข้าพเจ้าเชี่ยวชาญทั้งคุณเวชศาสตร์ คุณเภสัช คุณนวด คุณผดุงครรภ์ คุณท่าฤษีดัดตนขอให้มีอิทธิเดโชชัย ทั้งคุณตำรับ คุณตำรา คุณแพทย์แผนไทย อีกทั้งคุณอักขระ พระคาถาที่มีฤทธิ์ เชิญมาสถิตย์สถาพร สิทธิ สัพพะสุขัง ภะวันตุ เม
(ตีฆ้อง 1 ครั้ง)
บทไหว้บรมครู
(ว่าพร้อมกัน)
ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าอัญชลี พระฤาษีผู้ทรงญาน
แปดองค์เธอมีฌาณ โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้ครูอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้า
สาปสรรค์ซึ่งว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูโกมารภัจจ์ ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิ์พร
บทไหว้ครูในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
(ว่าพร้อมกัน)
อนึ่งตั้งอัญชลี นบพระศรีศาสดา เป็นปิ่นในโลกา อีกธรรมาทั้งหมู่สงฆ์ เป็นประทีปส่องหมู่สัตว์ ให้เห็นชัดมิให้หลง แนะนำในทางตรง ควรจำนงเป็นสรณา ปกเกศกันอุบาทว์ อันประมาทมากนิทรา สรรพโทษอย่าพาธา ด้วยพระเดชจงเกียจกัน บิดาคุณมารดา ครูอุปัชฌาย์อันสอนธรรม อีกคุณกระษัตริย์ อันทรงเดชล้นพ้นประมาณ เทพ พระสยมภู (พระอิศวร) ทั้งอินทร์พรหมทุกสถาน จงสรรบันดาลญาณ โปรดประทานแต่โดยดี ด้วยข้าจะขอกล่าว ในเรื่องราวพระคัมภีร์ สืบไว้ในธาตรี จนถึงที่สูนย์กัลปา
ชื่อธาตุวิวรณ์ อุทาหรณ์แห่งโรคา เป็นมูลโรคนานา มีทุกท่าทุกประการ ให้แพทย์พึงสดับ ตามตำรับเราโวหาร ตรองตรึกนึกชำนาญ กำหนดแน่อย่ากังขา คัมภีร์แพทย์ย่อมสูญหาย ระส่ำระสายช้านานมา เพราะมารผลาญพารา อยุธยาด้วยกูลกาล
แพทย์เก่าเล่าก็ตาย ก็เสื่อมหายวิชาชาญ ยังแต่ผู้เยาว์ญาณ ตั้งโวหารกำเริบรู้ ดังกาอันเทียมหงษ์ ใครจะปลงว่าเคียงคู่ ดูหมิ่นประมาทครู ตู่ตำราว่าฉุยไป รู้น้อยพลอยพูดโผง ดุจโอ่งน้ำครึ่งใบ แบกกลอกกระฉอกไหว บ่รู้โรคว่าถูกผิด จิตโลภเห็นแก่ลาภ บ่เกรงบาปทุจริต งมงาย แก้จนดับจิต วางยาผิดลงเรือนไป เรียนรู้บ่คงเรียน รู้ผิดเพี้ยนไม่เข้าใจ บ่รู้ประเภทไข้ ซึ่งตายเป็น งมงายรักษา อวดโอ้ล้วนแต่หาย จึงความตายมาตำตา รู้แต่ตำรับยา ประเภทไข้บ่ได้เรียน โรคเป็นกับโรคตาย เล่ห์ดังหนามมาบ่งเสี้ยน รู้บ่งเห็นแนบเนียน บ่รู้บ่งส่งหัวหนาม
เวชศาสตร์เสื่อมสูญหาย ยังแต่เกล็ดย่อย่นความ ผู้รู้ก็เสื่อมทราม ย่อมเบาความประมาทหมิ่น เภทโรคมีมิตรึก อย่าพึงนึกว่าหายสิ้น โรคเป็นตามแผ่นดิน วางยาพล้ำซ้ำพลอยตาย ผู้แพทย์จิตโลภทรัพย์ กำหนดรับว่าพลันหาย ตายเป็น บ่ใช้กาย คัมภีร์แพทย์ยิ่งเสื่อมไป ดุจดวงวิเชียรรัตน์ที่มัวหมองบ่ผ่องใส จักสืบให้ทรงไว้ หวังแผ่เผื่อเพื่อเมตตา เพื่อแพทย์อนาคต ผู้รู้น้อยถอยปัญญา รู้แจ้งแห่งโรคา ดังแว่นตาสอดส่องเห็น ให้รู้นิสัยโลก ทั้งหมู่โรคเวลาเป็น ฤดูที่ร้อนเย็น แพทย์พึงเห็นดังกล่าวมา
ข้าขอนมัสการ แพทย์แผนโบราณท่านบัญชา สุณาตุสะวะณา ซึ่งถ้อยคำปราชญ์ปางก่อน จงตั้งจิตกำหนด อย่าผิดเพี้ยนซึ่งคำสอน จำได้จะถาวร เป็นที่พักที่พำนัก
แพทย์เก่าเล่าก็ตาย ก็เสื่อมหายวิชาชาญ ยังแต่ผู้เยาว์ญาณ ตั้งโวหารกำเริบรู้ ดังกาอันเทียมหงษ์ ใครจะปลงว่าเคียงคู่ ดูหมิ่นประมาทครู ตู่ตำราว่าฉุยไป รู้น้อยพลอยพูดโผง ดุจโอ่งน้ำครึ่งใบ แบกกลอกกระฉอกไหว บ่รู้โรคว่าถูกผิด จิตโลภเห็นแก่ลาภ บ่เกรงบาปทุจริต งมงาย แก้จนดับจิต วางยาผิดลงเรือนไป เรียนรู้บ่คงเรียน รู้ผิดเพี้ยนไม่เข้าใจ บ่รู้ประเภทไข้ ซึ่งตายเป็น งมงายรักษา อวดโอ้ล้วนแต่หาย จึงความตายมาตำตา รู้แต่ตำรับยา ประเภทไข้บ่ได้เรียน โรคเป็นกับโรคตาย เล่ห์ดังหนามมาบ่งเสี้ยน รู้บ่งเห็นแนบเนียน บ่รู้บ่งส่งหัวหนาม
เวชศาสตร์เสื่อมสูญหาย ยังแต่เกล็ดย่อย่นความ ผู้รู้ก็เสื่อมทราม ย่อมเบาความประมาทหมิ่น เภทโรคมีมิตรึก อย่าพึงนึกว่าหายสิ้น โรคเป็นตามแผ่นดิน วางยาพล้ำซ้ำพลอยตาย ผู้แพทย์จิตโลภทรัพย์ กำหนดรับว่าพลันหาย ตายเป็น บ่ใช้กาย คัมภีร์แพทย์ยิ่งเสื่อมไป ดุจดวงวิเชียรรัตน์ที่มัวหมองบ่ผ่องใส จักสืบให้ทรงไว้ หวังแผ่เผื่อเพื่อเมตตา เพื่อแพทย์อนาคต ผู้รู้น้อยถอยปัญญา รู้แจ้งแห่งโรคา ดังแว่นตาสอดส่องเห็น ให้รู้นิสัยโลก ทั้งหมู่โรคเวลาเป็น ฤดูที่ร้อนเย็น แพทย์พึงเห็นดังกล่าวมา
ข้าขอนมัสการ แพทย์แผนโบราณท่านบัญชา สุณาตุสะวะณา ซึ่งถ้อยคำปราชญ์ปางก่อน จงตั้งจิตกำหนด อย่าผิดเพี้ยนซึ่งคำสอน จำได้จะถาวร เป็นที่พักที่พำนัก
(จบบทไหว้ครูพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์)
บทไหว้ครู ในพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์
(ว่าพร้อมกัน)
หมอเอยจงฟังสารโบราณท่านได้กล่าวมา เป็นแพทย์ไม่ศึกษา ฉันทศาสตร์ให้เรืองรมย์ ไม่รูกำเนิดไข้ แต่ยาได้ก็ชื่นชม รักษาด้วยอารมณ์ ประโยชน์ลาภอันพึงใจ หมอนั้นท่านเปรียบปาน ดังตาบอดกำเนิดใน ดันถือทิฏฐิใจ ไม่เห็นโทษในกองกรรม วางยาแต่คราวเดียว
ไม่ต้องโรคยับระยำ ดังโตมราตำ ตลอดยอดอุราใน ยาผิดเป็นสองครั้ง ดังยกทุ่มเข้ากองไฟ ถ้าวางยานั้นผิดไป ครบถ้านเป็นสามครา ดังต้องอสุนีสาย มาฟาดกายให้มรณา กายยับด้วยพิษยา กำเริบโรคทวีไป หมอนั้นครั้นสิ้นชนม์ จะไปทนกำเนิดใน นรกอันยิ่งไฟ ทั้งหม้อน้ำทองแดงมี หมู่นายนิรบาล ประชุมเชิญด้วยยินดี เครื่องโทษบรรดามี จะยกให้เป็นรางวัล
เป็นแพทย์จงเพียรเรียน ให้รอบรู้จงครบครัน ที่อยู่ฤดูวัน อายุปันและเวลา สำแลงแสลงไข้ โรคอันใดจะเป็นมา รู้ไข้ให้รู้ยา รักษาตามกำเนิดใน กาดำประจำโรค โรคดังกาอันตาไว เงือดเงื้อธนูไป ก็หลีกหลบด้วยเร็วพลัน ยายิ่งธนูปาน สิงหราชก็เพียงกัน โรคดังมฤควัญฌ์ จะลี้ลับหลบไปเอง โรคมีตามพงษา เป็นเวลาบุราณเพรง โทษกำหนดเกรง จะยายากด้วยแรงกรรม
แพทย์ใดชำนาญรู้ กำเนิดโรคและยายำ ยาไข้ด้วยใจทำ เที่ยงแน่แท้ในทางบุญ ทั้งลาภก็ยิ่งลาภ และทั้งคุณก็ยิ่งคุณ ทำบุญก็ได้บุญ ประเสริฐเลิศวิชาชาญ จักเป็นที่เสน่หา ถ้วนทุกหน้า ย่อมกราบกราน ไกลใกล้ก็ไม่นาน จะไปสู่ ไปง้องอน เป็นที่จะสรรเสริญ เจริญใจทั้งให้พร ครั้นถึงซึ่งม้วยมรณ์ จะได้ไปในสวรรค์ เสวยทิพย์สิ่งสุข แสนสนุกทุกวี่วัน คัมภีร์ท่านรำพัน ประกาศไว้แต่หลังมา
คำขอประสาทพร
(ว่าพร้อมกัน)
สัพเพเดชานุภาเวนะ ขอพระอาจารย์เจ้าจงโปรดประทาน โดยเตชุญาณ อวยพรประสิทธิผล ให้เป็นมิ่งมงคลแก่ตัวข้าพเจ้า สมดังมโนปรารถนา บรรดาวัตถุว่านยา ซึ่งท่านท้าวพกาพรหม ทรงสาปสิทธิประทานไว้ทุกสิ่งสรรพ เมื่อข้าพเจ้าหยิบจับ จัดปรุงประกอบเป็นโอสถ ขอจงปรากฏเป็นยาศักดิ์สิทธิ์วิเศษชัยยะ ชนะโรคภัยทั้งหลาย ขอให้บำบัดโรคหายโดยเร็วพลัน ขอให้ข้าพเจ้าเป็นแพทย์แผนไทยสำคัญเลื่องชื่อ ประชาชนนับถือ นิยมทั่วทุกทิศ ขอให้องค์สักขีพิธีกิจ ทรงเสริมประสิทธิ์ ร่วมประสาทพร อวยชัยให้แก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ณ กาลบัดนี้
สัพเพเทวา พหูชะนา ปิโย เทวามนุสสานัง ปิโย พรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปันนานัง ปิณินทรียัง นะมามิหัง วุวัณณมุกขัง วิระจิตตัง มหาโวตรเม อิตถียัง ปุริสัง ปิยัง มะมะ ชัยยะกัมมัง ประสิทธิ เม
จบพิธีการไหว้ครูอาจารย์แพทย์
(พิธีใหญ่กราบ 3 หน ลั่น ฆ้องชัยโห่ 3 ลา)
รอให้ธูปหมดดอก (สมมุติว่าครูรับประทานเสร็จแล้ว)
จึงลาเครื่องสังเวย
วิธีลาเครื่องสังเวยที่ถวายอาจารย์
(เพื่อเป็นยาและเป็นมงคล)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
( ว่าพร้อมกัน 3 จบ)
เสสัง เภสัชชะ มังคะลัง ยาจามะ
(ว่าพร้อมกัน 3 จบ)
แปลศัพท์
พระสยมภู (พระอิศวร) สุณาตุสะวะณา (ฟังคำพูด), โตมรา (หอกซัด), เกียจกัน (ป้องกัน), พาธา (เบียดเบียน), อสุนีสาย (สายฟ้า), ยายาก (รักษายาก), ยา (รักษา), เพรง (เก่าก่อน), ยายำ (เครื่องยา), มฤควัญฌ์ (แบบ), หมัน (คน หรือสัตว์)
บูรพาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทย
ศิลปวิทยาไม่ว่าแขนงใดก็ตามต้องมีครูฉันใด ผู้ประกอบโรคศิลปะ ก็ย่อมต้องมีครูฉันนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ไม่ว่าจะเป็น สาขาเวชกรรม (การตรวจ การวินิจฉัยโรค การบำบัด หรือการป้องกันโรค ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย) ก็ดี หรือสาขาเภสัชกรรม (เตรียมยา การผลิตยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา ตามกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย) ก็ดี ต่างมีครูร่วมกัน โดยเฉพาะฤๅษีครูแพทย์ และหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งบูรพาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทยนับถือกันว่า เป็น "ปฐมครู"
การศึกษาเพื่อให้เข้าใจ "การแพทย์แผนไทย" นั้น จำเป็นต้องเข้าใจระบบ และวิธีคิดของ "แพทย์แผนไทย" ซึ่งมีศูนย์รวมของจิตใจอยู่ที่ "ครู" ก่อน ในบทไหว้ครูอันเป็นบทเริ่มต้น ของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์แพทย์แผนไทย ที่สำคัญเล่มหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นร่องรอยอิทธิพล ของความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในตำราแพทย์โบราณของไทย ดังนี้
ข้าขอประณมหัตถ์ พระไตรรัตนนาถา
ตรีโลกอมรมา อภิวาทนาการ
อนึ่งข้าอัญชลี พระฤๅษีผู้ทรงญาณ
แปดองค์เธอมีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา
ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรมเมศวร์ทุกชั้นฟ้า
สาปสรรค์ซึ่งหว้านยา ประทานทั่วโลกธาตรี
ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์
เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชน
ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล
ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิ์พร
คัดตามต้นฉบับจากแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๔๖๖ หน้า ๑
ในบทไหว้ครูตอนต้นที่ว่า "พระไตรรัตนนาถา ตรีโลกอมรมา" และ "ไหว้ครูกุมารภัจ ผู้เจนจัดในคัมภีร์" นั้น ผู้นิพนธ์ได้สะท้อนคติความเชื่อ ของสังคมทางพระพุทธศาสนาไว้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) และเรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา
ส่วนในตอน "ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรมเมศวร์ทุกชั้นฟ้า" และ "...พระฤๅษีผู้ทรงญาณ แปดองค์เธอมีฌาน..." ซึ่งเป็นการสรรเสริญพระอิศวร พระพรหม ว่า เป็นผู้ประทานสมุนไพรใบยาให้แก่มวลมนุษยชาติ และสรรเสริญฤๅษี 8 ตน (ฤๅษีอาเตรยะ ฤๅษีหาริด ฤๅษีอัคนิเวศ ฤๅษีกาศยป ฤๅษีเภท ฤๅษีจรกะ ฤๅษีสุศรุต และฤๅษีวาคภัฏ) ซึ่งถือว่า เป็นผู้รอบรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ อันเกิดแก่มนุษย์ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพล ของคติความเชื่อ ทางศาสนาพราหมณ์ อันมีรากเหง้ามาจากคัมภีร์พระเวท โดยเฉพาะคัมภีร์อาถรรพเวท ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดตำราการแพทย์ ของอินเดียโบราณ
ฤๅษีครูแพทย์
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำ ฤๅษี ว่า "นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ" คำนี้มาจากคำ ฤๅษิ ซึ่งแปลว่า ผู้เห็น โดยนัยหมายถึง ผู้ที่แลเห็น ด้วยความรู้พิเศษ อันเกิดจากฌาน สามารถแลเห็นได้ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
แพทย์แผนโบราณบูชาฤๅษี 8 ตน เป็นปฐมครูผู้ประสาทวิชาการแพทย์ และเภสัชกรรมแผนโบราณสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน เห็นได้จากบทไหว้ครู ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ที่คัดมาข้างต้น
แพทย์แผนไทยนับถือและยกย่องหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า เป็นปฐมครูผู้รอบรู้ ในศาสตร์ด้านการแพทย์แผนโบราณทุกแขนง หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ และเป็นหมอประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกทั้งหลาย ประวัติของหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นเรื่องราวประวัติการแพทย์สมัยพุทธกาล ที่ยังคงทิ้งร่องรอยไว้ในพระไตรปิฎก ดังความใน "วินัย มหาวัคค์ จีวรขันธกะ" สรุปความได้ดังนี้
หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรชายของนางสาลวดี ผู้เป็นนางบำเรอชั้นสูงแห่งกรุงราชคฤห์ นครหลวงแคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) เมื่อนางสาลวดีตั้งครรภ์ เกรงว่า จะเกิดผลกระทบกับหน้าที่การงาน จึงอ้างว่า ป่วย และพักงาน จนให้กำเนิดบุตรชาย แล้วสั่งให้สาวใช้เอาทารกนั้น ไปทิ้งที่กองขยะในตอนกลางคืน ในตอนเช้า เจ้าชายอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ เสด็จไปเฝ้าพระราชบิดา ขณะเสด็จผ่านบริเวณนั้น ทอดพระเนตรเห็นฝูงกาล้อมเป็นกลุ่มอยู่ จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่โดยเสด็จด้วยเข้าไปดู เมื่อทรงทราบว่า มีคนนำเด็กทารกมาทิ้ง จึงรับสั่งถามมหาดเล็กนั้นว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ มหาดเล็กทูลตอบว่า ยังมีชีวิตอยู่ จึงทรงรับสั่งให้นำทารกนั้น กลับเข้าไปในพระราชวัง
ด้วยเหตุที่มหาดเล็กทูลตอบว่า ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง ผู้คนจึงเรียกเด็กคนนี้ว่า ชีวก (แปลว่า ยังมีชีวิต) และเพราะเจ้าชายอภัยทรงเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรม คนทั้งหลายจึงเรียกเด็กคนนี้ ว่า โกมารภัจจ์ (แปลว่า ที่พระกุมารทรงเลี้ยงไว้) และเรียกรวมกันเป็น ชีวกโกมารภัจจ์
เมื่อเติบโตขึ้น ชีวกตัดสินใจศึกษาวิชาแพทย์ จึงหนีเจ้าชายอภัย ออกเดินทางไปยังเมืองตักกสิลา และเลือกศึกษากับทิศาปาโมกข์ ทางด้านการแพทย์ ชีวกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และปรนนิบัติครูบาอาจารย์ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และสติปัญญาดี จึงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ทั้งยังมีประสบการณ์ฝึกหัด ตามที่อาจารย์สอน หลังจากศึกษากับอาจารย์ครบ ๗ ปี ก็ได้เรียนรู้จนหมดสิ้น หากเทียบกับนักศึกษาผู้อื่นต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง ๑๖ ปี
เมื่อได้ศึกษาความรู้จากอาจารย์จนหมดสิ้นแล้ว จึงเข้าไปหาอาจารย์ และถามถึงที่สุดแห่งความรู้ อาจารย์รู้อยู่แก่ใจว่า ชีวกเรียนดี และมีความรู้ดี แต่ต้องการทดสอบให้แน่ใจ จึงให้ชีวกถือเสียม ไปสำรวจหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใช้เป็นยาไม่ได้ โดยให้เดินทางหาอยู่ ๔ วัน วันละทิศ ทิศละ ๑ โยชน์ รอบเมืองตักกสิลา ชีวกรับคำสั่งอาจารย์ ออกสำรวจจนทั่วเมือง ตามที่อาจารย์กำหนดให้ แต่ไม่พบสิ่งใด ที่ใช้เป็นยาไม่ได้ จึงกลับมารายงานให้อาจารย์ทราบ อาจารย์จึงบอกว่า เรียนสำเร็จแล้ว ถึงที่สุดแห่งวิชาแล้ว ความรู้เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอให้ใช้เป็นวิชาชีพได้แล้ว
เมื่อกลับถึงกรุงราชคฤห์แล้ว เจ้าชายอภัยจึงนำหมอชีวกเข้าถวายตัว ต่อพระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารโปรดให้หมอชีวก รักษาโรคริดสีดวงทวาร ที่ทรงป่วยมาเป็นแรมปีแล้ว หมอชีวกได้ตรวจพระอาการ แล้วถวายการรักษา ด้วยการพอกยาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระโรคก็หายสนิท จึงได้รับพระราชทานรางวัล และโปรดตั้งให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกทั้งปวงด้วย หมอชีวกรับพระราชทานสนองพระคุณ และปฏิบัติตนเป็นอุบาสก ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ในพระไตรปิฎก ได้มีบันทึกผลงานการรักษาโรค ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง ได้แก่ การรักษาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ซึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรัง ด้วยการผ่าตัดที่ศีรษะ การผ่าตัดรักษาโรคลำไส้ขอดของลูกเศรษฐี ชาวกรุงพาราณสี การรักษาพระโรคผอมเหลือง ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต (ผู้ครองกรุงอุชเชนี) การผ่าตัดบาดแผลที่พระบาท ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดจากพระเทวทัตกลิ้งหินให้ทับพระองค์ และสะเก็ดหินแตกมาถูก ทำให้ห้อพระโลหิต
พระอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์มีคุณูปการทั้งในด้านอาณาจักรและพุทธจักร พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานเอตทัคคะให้แก่หมอชีวก เมื่อคราวประทับอยู่ที่วัดเชตวัน กรุงสาวัตถี โดยได้รับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสกผู้เป็นสาวกของตถาคต ซึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสในบุคคล ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเลิศ"
เมื่อเติบโตขึ้น ชีวกตัดสินใจศึกษาวิชาแพทย์ จึงหนีเจ้าชายอภัย ออกเดินทางไปยังเมืองตักกสิลา และเลือกศึกษากับทิศาปาโมกข์ ทางด้านการแพทย์ ชีวกตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และปรนนิบัติครูบาอาจารย์ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และสติปัญญาดี จึงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ทั้งยังมีประสบการณ์ฝึกหัด ตามที่อาจารย์สอน หลังจากศึกษากับอาจารย์ครบ ๗ ปี ก็ได้เรียนรู้จนหมดสิ้น หากเทียบกับนักศึกษาผู้อื่นต้องใช้เวลาในการศึกษาถึง ๑๖ ปี
เมื่อได้ศึกษาความรู้จากอาจารย์จนหมดสิ้นแล้ว จึงเข้าไปหาอาจารย์ และถามถึงที่สุดแห่งความรู้ อาจารย์รู้อยู่แก่ใจว่า ชีวกเรียนดี และมีความรู้ดี แต่ต้องการทดสอบให้แน่ใจ จึงให้ชีวกถือเสียม ไปสำรวจหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใช้เป็นยาไม่ได้ โดยให้เดินทางหาอยู่ ๔ วัน วันละทิศ ทิศละ ๑ โยชน์ รอบเมืองตักกสิลา ชีวกรับคำสั่งอาจารย์ ออกสำรวจจนทั่วเมือง ตามที่อาจารย์กำหนดให้ แต่ไม่พบสิ่งใด ที่ใช้เป็นยาไม่ได้ จึงกลับมารายงานให้อาจารย์ทราบ อาจารย์จึงบอกว่า เรียนสำเร็จแล้ว ถึงที่สุดแห่งวิชาแล้ว ความรู้เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอให้ใช้เป็นวิชาชีพได้แล้ว
ในพระไตรปิฎก ได้มีบันทึกผลงานการรักษาโรค ของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง ได้แก่ การรักษาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ซึ่งป่วยเป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรัง ด้วยการผ่าตัดที่ศีรษะ การผ่าตัดรักษาโรคลำไส้ขอดของลูกเศรษฐี ชาวกรุงพาราณสี การรักษาพระโรคผอมเหลือง ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต (ผู้ครองกรุงอุชเชนี) การผ่าตัดบาดแผลที่พระบาท ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดจากพระเทวทัตกลิ้งหินให้ทับพระองค์ และสะเก็ดหินแตกมาถูก ทำให้ห้อพระโลหิต
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต และสมุนไพร
|
No comments:
Post a Comment