เภสัชกรรมไทย
การทำยาเม็ดปั๊มมือ
ยาตอกเม็ด
การเคลือบยาเม็ด
การสุมยา-น้ำมันไพล
ยาน้ำ-ยาดม-ลูกประคบ
ยาขี้ผึ้ง-แชมพู
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เภสัชกรรมไทย
การทำยาเม็ดปั๊มมือ
ยาตอกเม็ด
การเคลือบยาเม็ด
การสุมยา-น้ำมันไพล
ยาน้ำ-ยาดม-ลูกประคบ
ยาขี้ผึ้ง-แชมพู
การฆ่าฤทธิ์-ยาต้ม-ยาชง
การทำยาเม็ดแบบปั๊มมือ
หรือแบบพิมพ์มือ
(พิมพ์ทองเหลือง)
เครื่องปั๊มยาด้วยมือ
แบบพิมพ์ทองเหลือง
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. เครื่องปั๊มยาด้วยมือ
(แบบพิมพ์มือ
เป็นพิมพ์ทองเหลือง)
2. แผ่นกระจกใส 1 แผ่น
3. กาต้มน้ำขนาดใหญ่
4. กะละมังขนาดใหญ่,
2. แผ่นกระจกใส 1 แผ่น
3. กาต้มน้ำขนาดใหญ่
4. กะละมังขนาดใหญ่,
ขนาดกลาง
5. ผ้าสะอาดผืนเล็ก
6. ถาดใส่ยาเม็ม
7. ยาผง
8. แป้งมัน
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
1. นำน้ำเดือดเทราดพิมพ์มือทองเหลือง และกระจกแผ่นใส เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้งหนึ่ง ทิ้งให้ระเหยแห้งก่อนนำยามาพิมพ์มือ
2. วางกระจกแผ่นใสบนโต๊ะ
5. ผ้าสะอาดผืนเล็ก
6. ถาดใส่ยาเม็ม
7. ยาผง
8. แป้งมัน
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
1. นำน้ำเดือดเทราดพิมพ์มือทองเหลือง และกระจกแผ่นใส เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด และใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดอีกครั้งหนึ่ง ทิ้งให้ระเหยแห้งก่อนนำยามาพิมพ์มือ
2. วางกระจกแผ่นใสบนโต๊ะ
และวางพิมพ์มือทองเหลือง
บนกระจกแผ่นใส
วิธีทำยาเม็ด
1. กวนแป้งมันกับน้ำให้ใส
วิธีทำยาเม็ด
1. กวนแป้งมันกับน้ำให้ใส
(เป็นแป้งเปียกใส)
ในปริมาณที่พอเหมาะกับยาผง
2. นำยาผงมาผสมกับแป้งเปียก
2. นำยาผงมาผสมกับแป้งเปียก
คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
3. นำยาที่ผสมแล้วมาพอ
3. นำยาที่ผสมแล้วมาพอ
ประมาณ แผ่เป็นแผ่นกระจก
แล้วนำพิมพ์มือทองเหลือง
กดลงบนยา
4. กดยาที่พิมพ์แล้วออกจาก
พิมพ์ทองเหลือง ใส่ลงในถาด
ที่เตรียมไว้
5. นำยาที่พิมพ์เสร็จ
5. นำยาที่พิมพ์เสร็จ
เข้าตู้อบอุณหภูมิ 50 – 55 องศา
เซลเซียส ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง
6. เก็บยาเม็ดใส่ขวดโหลแก้ว
6. เก็บยาเม็ดใส่ขวดโหลแก้ว
สะอาด ปิดฝาให้มิดชิด
หมายเหตุ ยาพิมพ์เม็ด (พิมพ์มือทองเหลือง) ถ้ายาเป็นผงมีความเหนียวมากอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องใช้ แป้งมันในการผสมยานั้น เพียงแต่ผสมกับน้ำต้มสุก ก็นำมาพิมพ์เม็ดได้ ผงยาที่ต้องผสมแป้งมัน ในการทำเม็ดแบบพิมพ์มือ ได้แก่
1. ยาเม็ดฟ้าทลายโจร
2. ยามหานิล
และยาเม็ดอื่นๆ
(ถ้าสนใจดูการทำยาลูกกลอน-
หมายเหตุ ยาพิมพ์เม็ด (พิมพ์มือทองเหลือง) ถ้ายาเป็นผงมีความเหนียวมากอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องใช้ แป้งมันในการผสมยานั้น เพียงแต่ผสมกับน้ำต้มสุก ก็นำมาพิมพ์เม็ดได้ ผงยาที่ต้องผสมแป้งมัน ในการทำเม็ดแบบพิมพ์มือ ได้แก่
1. ยาเม็ดฟ้าทลายโจร
2. ยามหานิล
และยาเม็ดอื่นๆ
(ถ้าสนใจดูการทำยาลูกกลอน-
ยาเม็ดปั๊มมือในเว็บไซต์
https://youtu.be/SJPVFDnQCxo )
ยาตอกเม็ดฟ้าทลายโจร
การเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล
ยาเม็ดฟ้าทลายโจร
วัตถุส่วนประกอบ
1. ฟ้าทลายโจร (ผง) 2,000 กรัม
2. แป้งมัน 100 กรัม
3. แป้งมัน
(ทำแป้งเปียก 10%) 150 กรัม
4. ผงทัลคัม 70 กรัม
5. แมกนีเซียม สเตียเรต 60 กรัม
ขั้นตอนการผลิต
1. นำฟ้าทลายโจร (ผง)
และแป้งมัน (ในข้อ 1 และ ข้อ 2)
ซึ่งผ่านแร่ง แล้วมาผสมให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำเย็น 1,500 กรัม
ลงในแป้งมัน 150 กรัม
(ทำเป็นแป้งเปียก 10%)
โดยการกวนจนเป็นสีขาว
ข้นเหนียว ผ่านน้ำเดือด
3. นำแป้งเปียกและผงฟ้าทลายโจร ซึ่งผสมแป้งมันแล้วมาผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปผ่านแร่งเบอร์ 14 นำแกรนูลที่ได้ไปอบแห้ง ที่อุณหภูมิไม่เกิน 55 องศา จากนั้นนำแกรนูลที่อบแห้งแล้วมาผ่านแร่งเบอร์ 18
4. ผสมผงฟ้าทลายโจรที่เป็นแกรนูลให้เข้ากันกับทัลคัม และแมกนีเซียม สเตียเรต
5. นำผงยาที่ผสมแล้วไปตอกเม็ด และควบคุมน้ำหนักเม็ดยาให้ได้มาตรฐาน
6. นำยาเม็ดที่ตอกได้เข้าตู้อบ
ที่อุณหภูมิ 50 – 55 องศาเซลเซียส
ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง
7. ทดสอบการแตกตัวของ
เม็ดยา ไม่ควรเกิน 30 นาที
เครื่องเคลือบยาเม็ด
(Sugar coating)
วัตถุประสงค์ของการเคลือบยาเม็ด เพื่อ
2. ป้องกันตัวยาหรือสารสำคัญ
3. ให้เม็ดยามีรูปกลมมนสะดวก
4. ความสวยงามของเม็ดยา
5. แยกตัวยาสองชนิดที่ไม่เข้ากัน
6. ควบคุมการออกฤทธิ์ของ
2. เอาใบทองหลางใบมน
1. ไพลสด 3 กิโลกรัม
2. น้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร
5. ใส่ข้อ 5, 6, 8, 9 ผสมลงไป
สนใจดูการทำน้ำมันไพล
สนใจดูวิธีทำลูกประคบสด
สนใจดูวิธีทำลูกประคบแห้ง
1. นำสมุนไพรข้อ 1, 2, 3, 4 ใส่ภาชนะรวมกัน ไปกวนในน้ำร้อนซึ่งตั้งไฟเดือดจนละลายหมด ตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
2. นำข้อ 5, 6, 7, 8 ใส่ลงไป คนให้เข้ากันดี
3. บรรจุขวดที่เตรียมไว้ ในขณะที่ยายังอุ่นๆ อยู่ (ควรเก็บในที่มืด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสี)
วัตถุส่วนประกอบ
1. หัวแชมพู 1000 กรัม
2. ว่านหางจระเข้ 1000 กรัม
3. ผงฟอง 100 กรัม
4. ผงข้น 100 กรัม
5. ลาโนลิน 100 กรัม
6. หัวน้ำหอม 15 ซี.ซี.
7. น้ำ 1000 กรัม
8. สี
ขั้นตอนการทำ
1. นำว่านหางจระเข้
3. เทผงฟองทีละน้อย
วัตถุประสงค์ของการเคลือบยาเม็ด เพื่อ
1. กลบรส สี หรือกลิ่นที่ไม่น่า
รับประทานของยาเม็ด
2. ป้องกันตัวยาหรือสารสำคัญ
ไม่ให้เสื่อมสลายเร็ว
3. ให้เม็ดยามีรูปกลมมนสะดวก
ในการกลืน
4. ความสวยงามของเม็ดยา
ทำให้น่ารับประทาน
5. แยกตัวยาสองชนิดที่ไม่เข้ากัน
โดยชนิดหนึ่งเป็นยาเม็ดแกน
ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นส่วน
ที่เคลือบข้างนอก
6. ควบคุมการออกฤทธิ์ของ
ยาเม็ด อันเนื่องมาจากการ
ระคายเคือง เช่น ยาสหัศธารา
ระคายเคืองต่อหลอดอาหาร
และกระเพาะอาหาร หรือ
อาจเนื่องจากต้องการให้
ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ เช่น
ยาริดสีดวงทวาร
วัตถุส่วนประกอบ
1. ยาเม็ดลูกกลอน
2. แป้งทัลคัม
3. น้ำตาลทราย
4. น้ำ
5. กัมอาคาเซีย
6. เชคแลค
7. แอลกอฮอล์
8. ขี้ผึ้งคานูบา
9. ขี้ผึ้งขาว
10. คาร์บอนเตทตระคลอไรด์
11. สี
เครื่องมือ
1. เครื่องเคลือบยาเม็ด (ถังเคลือบยาเม็ด)
2. เครื่องขัดเงายาเม็ด
วิธีการเคลือบยาเม็ด
1. นำยาลูกกลอนที่แห้งดีแล้ว ใส่ในเครื่องเคลือบยาเม็ด แล้วเทเชคแลค ซึ่งละลายด้วยแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน เชคแลค 40 ส่วน แอลกอฮอล์ 60 ส่วน ในขณะที่ถังหมุนไปเรื่อยๆ เชคแลคจะเคลือบเม็ดยาลูกกลอน เมื่อใช้ลมเย็นเป่าเชคแลคจะแห้งติดผิว และป้องกันไม่ให้เม็ดยาแตก เมื่อเชคแลคแห้งดี ให้ร่อนเอาเม็ดที่เกาะติดกันออก ทำซ้ำอีก 1 หรือ 2 ครั้ง
2. ลบมุม อุดรู และปิดร่องของเม็ดลูกกลอนด้วยน้ำแป้งทัลคัม ซึ่งผสมด้วย กัมอาคาเซีย และน้ำตาลตามอัตราส่วนแป้งทัลคัม 20 – 35% กัมอาคาเชีย 5 – 10% น้ำตาล 40 – 50% และน้ำ 20 –30% โดยต้มให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ใช้น้ำแป้งในข้อ 2 เทลงบนเม็ดยาขณะที่ถังกำลังหมุน พร้อมโปรยผงทัลคัมลงไปเป็นระยะๆ ดูให้พอเหมาะ ขณะเดียวกันใช้ลมร้อนอุณหภูมิ 60 – 70 องศาเซลเซียส เป่าบนเม็ดยาตลอด เพื่อให้น้ำแป้งแห้งติดเม็ดยา เมื่อแห้งดีแล้วให้ร่อนเอาเม็ดที่ติดกันออก ทำซ้ำประมาณ 8 – 10 ครั้ง เม็ดลูกกลอนในขั้นสุดท้ายจะเป็นสีขาวเหมือนแป้งทัลคัม
4. เคลือบสีรองพื้น ด้วยการเติมสีในปริมาณเพียงเล็กน้อยในน้ำแห้งทัลคัม เคลือบโดยการเทน้ำสีลงในขณะที่เครื่องเคลือบหมุนไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยให้เม็ดยาแห้งสนิท แล้วจึงเคลือบครั้งต่อไป เคลือบซ้ำ 3 – 4 ครั้ง
5. เคลือบสีที่ต้องการ โดยใช้น้ำเชื่อมทำจากน้ำตาล 2 ส่วน น้ำ 1 ส่วน แล้วเติมสีให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ เคลือบซ้ำตามวิธีเดิม จนได้สีสวยงาม
6. เคลือบเงาเพื่อให้ดีสดใสขึ้น โดยใช้ขี้ผึ้งคานูบาผสมขี้ผึ้งขาว ผสมในอัตราส่วน 4%, 0.4% ตามลำดับ ละลายในคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ 95% แล้วนำมาใส่ในเครื่องขัดเงายาเม็ด ให้หมุนไปเรื่อยๆ จนเม็ดยาเงา
เครื่องเคลือบ /ขัดเงายาเม็ด
วัตถุส่วนประกอบ
1. ยาเม็ดลูกกลอน
2. แป้งทัลคัม
3. น้ำตาลทราย
4. น้ำ
5. กัมอาคาเซีย
6. เชคแลค
7. แอลกอฮอล์
8. ขี้ผึ้งคานูบา
9. ขี้ผึ้งขาว
10. คาร์บอนเตทตระคลอไรด์
11. สี
เครื่องมือ
1. เครื่องเคลือบยาเม็ด (ถังเคลือบยาเม็ด)
2. เครื่องขัดเงายาเม็ด
วิธีการเคลือบยาเม็ด
1. นำยาลูกกลอนที่แห้งดีแล้ว ใส่ในเครื่องเคลือบยาเม็ด แล้วเทเชคแลค ซึ่งละลายด้วยแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน เชคแลค 40 ส่วน แอลกอฮอล์ 60 ส่วน ในขณะที่ถังหมุนไปเรื่อยๆ เชคแลคจะเคลือบเม็ดยาลูกกลอน เมื่อใช้ลมเย็นเป่าเชคแลคจะแห้งติดผิว และป้องกันไม่ให้เม็ดยาแตก เมื่อเชคแลคแห้งดี ให้ร่อนเอาเม็ดที่เกาะติดกันออก ทำซ้ำอีก 1 หรือ 2 ครั้ง
2. ลบมุม อุดรู และปิดร่องของเม็ดลูกกลอนด้วยน้ำแป้งทัลคัม ซึ่งผสมด้วย กัมอาคาเซีย และน้ำตาลตามอัตราส่วนแป้งทัลคัม 20 – 35% กัมอาคาเชีย 5 – 10% น้ำตาล 40 – 50% และน้ำ 20 –30% โดยต้มให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. ใช้น้ำแป้งในข้อ 2 เทลงบนเม็ดยาขณะที่ถังกำลังหมุน พร้อมโปรยผงทัลคัมลงไปเป็นระยะๆ ดูให้พอเหมาะ ขณะเดียวกันใช้ลมร้อนอุณหภูมิ 60 – 70 องศาเซลเซียส เป่าบนเม็ดยาตลอด เพื่อให้น้ำแป้งแห้งติดเม็ดยา เมื่อแห้งดีแล้วให้ร่อนเอาเม็ดที่ติดกันออก ทำซ้ำประมาณ 8 – 10 ครั้ง เม็ดลูกกลอนในขั้นสุดท้ายจะเป็นสีขาวเหมือนแป้งทัลคัม
4. เคลือบสีรองพื้น ด้วยการเติมสีในปริมาณเพียงเล็กน้อยในน้ำแห้งทัลคัม เคลือบโดยการเทน้ำสีลงในขณะที่เครื่องเคลือบหมุนไปเรื่อยๆ แล้วปล่อยให้เม็ดยาแห้งสนิท แล้วจึงเคลือบครั้งต่อไป เคลือบซ้ำ 3 – 4 ครั้ง
5. เคลือบสีที่ต้องการ โดยใช้น้ำเชื่อมทำจากน้ำตาล 2 ส่วน น้ำ 1 ส่วน แล้วเติมสีให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ เคลือบซ้ำตามวิธีเดิม จนได้สีสวยงาม
6. เคลือบเงาเพื่อให้ดีสดใสขึ้น โดยใช้ขี้ผึ้งคานูบาผสมขี้ผึ้งขาว ผสมในอัตราส่วน 4%, 0.4% ตามลำดับ ละลายในคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ 95% แล้วนำมาใส่ในเครื่องขัดเงายาเม็ด ให้หมุนไปเรื่อยๆ จนเม็ดยาเงา
การสุมยา
การสุมยา คือ การนำยาที่ได้ปรุงเป็นตำรับแล้ว มาใส่รวมกันในหม้อดินปิดฝาหม้อให้มิดชิด นำไปสุมไฟร้อนจัด (สุมไฟด้วยฟืน) จนยากลายเป็นสีดำ (เป็นถ่านสีดำ)
ขั้นตอนการสุมยา
1. นำยามหานิลที่ได้ปรุงเป็นตำรับแล้ว แยกตัวยาที่เป็นแก่น ลูก ราก ใบ ออกเป็นประเภทๆ สับยาเป็นชิ้นเล็กๆ
ขั้นตอนการสุมยา
1. นำยามหานิลที่ได้ปรุงเป็นตำรับแล้ว แยกตัวยาที่เป็นแก่น ลูก ราก ใบ ออกเป็นประเภทๆ สับยาเป็นชิ้นเล็กๆ
2. เอาใบทองหลางใบมน
คั่วในกระทะจนเกรียม
เก็บใส่ภาชนะไว้ (ไม่ต้องสุม)
3. นำยาที่สับแล้วพวกแก่นไม้
3. นำยาที่สับแล้วพวกแก่นไม้
รากไม้ และลูกมะกอก
ใส่ลงในหม้อดินก่อน และ
ใส่ยาอื่นๆ ตามลงไป
(เพื่อให้ยาสุกทั่วกันทั้งหม้อ)
4. ใช้กระดาษฟางสีขาว ชุบน้ำพอหมาดๆ ปิดบนฝาหม้อดินให้มิดชิด (เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟลุกไหม้ตัวยาในหม้อดิน) นำไปสุมไฟร้อนจัด (สุมไฟด้วยฟืน)
5. เมื่อสุมยาจนเป็นสีดำ (ถ่านสีดำ)
4. ใช้กระดาษฟางสีขาว ชุบน้ำพอหมาดๆ ปิดบนฝาหม้อดินให้มิดชิด (เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟลุกไหม้ตัวยาในหม้อดิน) นำไปสุมไฟร้อนจัด (สุมไฟด้วยฟืน)
5. เมื่อสุมยาจนเป็นสีดำ (ถ่านสีดำ)
ทั่วทั้งหม้อแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น
6. เทยาออกจากหม้อดิน
6. เทยาออกจากหม้อดิน
นำไปบดรวมกับ
ใบทองหลางใบมน (ที่คั่วแล้ว)
7. ร่อนยาให้ได้ผงละเอียด
-------------------------------------------------------
การทำยามหานิลแท่งทอง
(เวชกรรมไทย เล่ม 2)
สนใจ เชิญคลิ้กเข้าไปดูที่เว็บไซต์นี้
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2016/08/2.html
https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2016/08/2.html
-------------------------------------------------------
ยาเข้าน้ำมัน (น้ำมันไพล)
วัตถุส่วนประกอบ 1. ไพลสด 3 กิโลกรัม
2. น้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร
(หรือใช้น้ำมันพืชอื่นๆ)
3. เมนทอล 50 กรัม
4. น้ำมันระกำ 600 ซี.ซี.
5. น้ำมันเขียว 100 ซี.ซี.
6. น้ำมันยูคาลิปตัส 100 ซี.ซี.
7. ชินนามอน 20 ซี.ซี.
8. น้ำมันกานพลู 20 ซี.ซี.
9. น้ำมันแก้ว 450 กรัม
10. การบูร 350 กรัม
ขั้นตอนการทำ
1. นำไพลสดมาปอกเปลือก หั่นเป็นแผ่นบางๆ
2. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน ค่อยๆ ใส่ไพลลงทอด ทีละน้อย เมื่อไพลกรอบเกรียมดีแล้วจึงตักออกทิ้งไป ทอดไพลจนหมดทิ้งไว้ให้เย็น (น้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร ทอดแล้วได้ความเข้มข้นของน้ำมันไพลประมาณ 1 ลิตร)
3. กรองน้ำมันไพลที่เคี่ยวได้
3. เมนทอล 50 กรัม
4. น้ำมันระกำ 600 ซี.ซี.
5. น้ำมันเขียว 100 ซี.ซี.
6. น้ำมันยูคาลิปตัส 100 ซี.ซี.
7. ชินนามอน 20 ซี.ซี.
8. น้ำมันกานพลู 20 ซี.ซี.
9. น้ำมันแก้ว 450 กรัม
10. การบูร 350 กรัม
ขั้นตอนการทำ
1. นำไพลสดมาปอกเปลือก หั่นเป็นแผ่นบางๆ
2. เอาน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน ค่อยๆ ใส่ไพลลงทอด ทีละน้อย เมื่อไพลกรอบเกรียมดีแล้วจึงตักออกทิ้งไป ทอดไพลจนหมดทิ้งไว้ให้เย็น (น้ำมันมะพร้าว 2 ลิตร ทอดแล้วได้ความเข้มข้นของน้ำมันไพลประมาณ 1 ลิตร)
3. กรองน้ำมันไพลที่เคี่ยวได้
ใส่ภาชนะไว้
4. ละลายเมนทอลและการบูร
4. ละลายเมนทอลและการบูร
ในน้ำมันระกำ แล้วจึงใส่
น้ำมันไพลลงไป
5. ใส่ข้อ 5, 6, 8, 9 ผสมลงไป
คนให้เข้ากันดี
6. บรรจุขวดที่เตรียมไว้
6. บรรจุขวดที่เตรียมไว้
-------------------------------------------------------
คลิ๊กเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ
คณะเภสัช มหาวิทยาลัยมหิดล
https://youtu.be/0kP1APHZqjI
วัตถุส่วนประกอบ
1. กระวาน 50 กรัม
2. กานพลู 50 กรัม
3. สมุลแว้ง 50 กรัม
4. อบเชยเทศ 50 กรัม
5. ชะเอมเทศ 50 กรัม
6. การบูร 10 กรัม
7. เมนทอล 5 กรัม
8. น้ำ 7 ลิตร
ขั้นตอนการทำ
1. ตำหรือบดด้วยยาข้อ 1 – 5
2. นำชะมดเช็ดปริมาณเล็กน้อยใส่ในใบพลูซ้อนหลายๆ ชั้น ลนไฟเทียนให้ไหลในตัวยาผสมให้เข้ากันดี ดมกลิ่นให้ได้กลิ่นหอมตามต้องการ
4. เอายาที่ห่อไว้แล้ว จุ่มลงในข้อ 6 ให้เปียกชุ่มพอประมาณ จึงใส่ในถ้ำยาดม ปิดฝาให้สนิท
1. ไพลสด 2 ส่วน
2. ผิวมะกรูดสด 1 ส่วน
3. ตะไคร้สด 1 ส่วน
4. ใบมะขามสด 1 ส่วน
5. ขมิ้นอ้อยสด 1 ส่วน
6. พิมเสน 10 ส่วน
7. การบูร 10 ส่วน
ขั้นตอนการทำ
1. นำสมุนไพรข้อ 1, 2, 3, 4 และ 5 หั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ
2. ใส่พิมเสน การบูร ผสมรวมกัน
3. นำมาห่อเป็นลูกประคบ
ยาน้ำ (ยาธาตุอบเชย)
ตัวยาสมุนไพรที่ใช้ทำยาธาตุอบเชย
วัตถุส่วนประกอบ
1. กระวาน 50 กรัม
2. กานพลู 50 กรัม
3. สมุลแว้ง 50 กรัม
4. อบเชยเทศ 50 กรัม
5. ชะเอมเทศ 50 กรัม
6. การบูร 10 กรัม
7. เมนทอล 5 กรัม
8. น้ำ 7 ลิตร
ขั้นตอนการทำ
1. ตำหรือบดด้วยยาข้อ 1 – 5
พอแหลก
2. ใส่น้ำลงในหม้อต้มให้เดือด
2. ใส่น้ำลงในหม้อต้มให้เดือด
ใส่ตัวยาที่เตรียมไว้ลงไปต้ม
เคี่ยวให้เหลือประมาณ 5 ลิตร
3. ยกหม้อลง ใช้ผ้าขาวบาง
3. ยกหม้อลง ใช้ผ้าขาวบาง
กรองเอากากยาออก
4. ใส่เมนทอลและการบูรลงไป
4. ใส่เมนทอลและการบูรลงไป
คนจนละลายปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น
และให้ตกตะกอน
5. บรรจุภาชนะที่เตรียมไว้
5. บรรจุภาชนะที่เตรียมไว้
ขวดบรรจุยาดม
การห่อยาดมก่อนบรรจุขวด
ส้มโอมือ
ขวดยาดมส้มโอมือ
ยาดมส้มโอมือ
วัตถุส่วนประกอบ
1. ยาหอมบำรุงหัวใจ 2 ส่วน
2. ยาหอมห้าเจดีย์ 2 ส่วน
3. ผิวมะกรูดแห้ง (บดหยาบ)
4. เปลือกสมุลแว้ง (บดหยาบ)
5. เปลือกอบเชยเทศ (บดหยาบ)
6. ส้มมือแห้ง (บดหยาบ)
7. ชะมดเช็ด
8. พิมเสน
9. เมนทอล
ขั้นตอนการทำ
1. ผสมข้อ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
1. ยาหอมบำรุงหัวใจ 2 ส่วน
2. ยาหอมห้าเจดีย์ 2 ส่วน
3. ผิวมะกรูดแห้ง (บดหยาบ)
4. เปลือกสมุลแว้ง (บดหยาบ)
5. เปลือกอบเชยเทศ (บดหยาบ)
6. ส้มมือแห้ง (บดหยาบ)
7. ชะมดเช็ด
8. พิมเสน
9. เมนทอล
ขั้นตอนการทำ
1. ผสมข้อ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน
แล้วนำข้อ 3, 4, 5 และ 6 อย่างละ
พอประมาณมาผสมรวมกัน
2. นำชะมดเช็ดปริมาณเล็กน้อยใส่ในใบพลูซ้อนหลายๆ ชั้น ลนไฟเทียนให้ไหลในตัวยาผสมให้เข้ากันดี ดมกลิ่นให้ได้กลิ่นหอมตามต้องการ
3. นำผ้าสำลีมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 8 ซม.
ยาว 8 ซม.ตักเนื้อยา 1 ช้อนยา ห่อด้วยผ้าสาลู
เป็นก้อนกลม ผูกด้ายให้แน่น
นำพิมเสนกับเมนทอลมาผสมกัน
นำพิมเสนกับเมนทอลมาผสมกัน
ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 เขย่าให้เข้ากัน
จนละลายหมด (ละลายเป็นน้ำมัน)
4. เอายาที่ห่อไว้แล้ว จุ่มลงในข้อ 6 ให้เปียกชุ่มพอประมาณ จึงใส่ในถ้ำยาดม ปิดฝาให้สนิท
ลูกประคบและตัวยาสมุนไพร
ลูกประคบและตัวยาสมุนไพร
ลูกประคบ
ยาประคบ (ลูกประคบ)
วัตถุส่วนประกอบ 1. ไพลสด 2 ส่วน
2. ผิวมะกรูดสด 1 ส่วน
3. ตะไคร้สด 1 ส่วน
4. ใบมะขามสด 1 ส่วน
5. ขมิ้นอ้อยสด 1 ส่วน
6. พิมเสน 10 ส่วน
7. การบูร 10 ส่วน
ขั้นตอนการทำ
1. นำสมุนไพรข้อ 1, 2, 3, 4 และ 5 หั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ
2. ใส่พิมเสน การบูร ผสมรวมกัน
3. นำมาห่อเป็นลูกประคบ
-------------------------------------------------------
สนใจดูวิธีทำลูกประคบสด
คลิ๊กเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของนักศีกษา
คณะเภสัช มหาวิทยาลัย
สนใจดูวิธีทำลูกประคบแห้ง
ไว้จำหน่าย คลิ๊กเข้าไปดูได้ที่
เว็บไซต์ข้างล่างนี้
วัตถุส่วนประกอบ
1. วาสลิน (Vasalin) 420 กรัม
2. Wool Fat 12 กรัม
3. ขี้ผึ้ง (Bee Wax) 50 กรัม
4. พาราฟินชนิดแข็ง
(Hard Paraffin) 13 กรัม
5. เมนทอล (Menthol) 75 กรัม
6. น้ำมันยูคาลิปตัส
(Eucalyptus Oil) 30 ซี.ซี.
7. เมทิล ซาลิซิเลต
(Methyl Salicylate) 45 ซี.ซี.
8. เสลดพังพอน
(สกัดด้วย Alcohol) 30 ซี.ซี.
ขั้นตอนการทำ
1. นำสมุนไพรข้อ 1, 2, 3, 4 ใส่ภาชนะรวมกัน ไปกวนในน้ำร้อนซึ่งตั้งไฟเดือดจนละลายหมด ตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
2. นำข้อ 5, 6, 7, 8 ใส่ลงไป คนให้เข้ากันดี
3. บรรจุขวดที่เตรียมไว้ ในขณะที่ยายังอุ่นๆ อยู่ (ควรเก็บในที่มืด เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสี)
แชมพูว่านหางจระเข้
1. หัวแชมพู 1000 กรัม
2. ว่านหางจระเข้ 1000 กรัม
3. ผงฟอง 100 กรัม
4. ผงข้น 100 กรัม
5. ลาโนลิน 100 กรัม
6. หัวน้ำหอม 15 ซี.ซี.
7. น้ำ 1000 กรัม
8. สี
ขั้นตอนการทำ
1. นำว่านหางจระเข้
มาปอกเปลือก เอาไปล้างน้ำ
แล้วปั่นละเอียดให้ได้ 1 กก.
2. ใส่น้ำ 1000 กรัม ผสมกับ
2. ใส่น้ำ 1000 กรัม ผสมกับ
ว่านหางจระเข้ 1000 กรัม
นำไปต้ม
3. เทผงฟองทีละน้อย
คนให้ละลาย ใส่ลาโนลินลงผสม
4. นำแชมพูที่ต้มแล้วกรอง ใส่สี
4. นำแชมพูที่ต้มแล้วกรอง ใส่สี
ทิ้งให้เย็น ใส่ผงข้นลงผสม
ใส่หัวน้ำหอม
ถ้าต้องการชม เว็บไซต์ข้างล่าง
5. บรรจุขวด
-------------------------------------------------------
เชิญคลิ๊กดูได้ ปราชญ์ชาวบ้าน
สอนแพทย์แผนไทย
ให้ทำแชมพูลูกมะกรูดไว้ใช้เอง
ยาต้ม เป็นรูปแบบการปรุงยาสมุนไพรที่ใช้มานาน เป็นการใช้น้ำเป็นตัวทำละลายยาสมุนไพร ข้อดีของยาต้ม คือ ดูดซึมง่าย ออกฤทธิ์เร็ว วิธีการเตรียมง่ายและสะดวก มีข้อเสีย คือ รสชาติและกลิ่นอาจรับประทานยากสำหรับบางคน และยาต้มเก็บไว้ไม่ได้นานขึ้นราง่าย ถ้าต้องการเก็บไว้จะต้องใช้สารกันบูด
วิธีการเตรียมยาต้ม
1. น้ำและภาชนะ
น้ำที่ใช้ต้มยาควรเป็นน้ำสะอาด ใส ไม่มีกลิ่น รส ปริมาณยาโดยปกติจะใส่น้ำพอท่วมยา ภาชนะที่ใช้ต้มยาควรเป็นหม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก เพราะจะทำให้สารแทนนินซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้
2. การเตรียมยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรที่ใช้ต้มควรหั่นเป็นชิ้น ขนาดพอดี ถ้าเป็นแก่นก็หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าๆ กัน ถ้าเป็นใบใหญ่ เช่น ชุมเห็ดเทศ ให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ถ้าใบเล็ก เช่น ฟ้าทลายโจร กระเพรา ก็ใช้ทั้งใบขนาดไม่ควรเล็กเกินไป เพราะทำให้กรองยาต้มยากและเวลาต้มอาจจะไหม้ได้
3. การต้ม
เติมน้ำสะอาดลงในตัวยา ให้น้ำท่วมตัวยา ใช้ไฟขนาดกลางต้มให้เดือดหลังจากเดือดแล้วไฟอ่อนลง ใช้เวลาต้ม 10 – 15 นาที ต้องคอยดูแลและคนสม่ำเสมอ อย่าให้ยาไหม้ (การต้มยาไทย ส่วนใหญ่จะต้ม 3 เอา 1 คือ ใส่น้ำ 3 ส่วน ของปริมาณที่ต้องการใช้ และต้มให้เหลือ 1 ส่วน หรือต้มรับประทานจนยาจืด ไม่เกิน 7 – 10 วัน ควรอุ่น เช้า – เย็น ทุกวัน) ยาต้มควรรับประทานเวลาท้องว่าง (ก่อนอาหาร) จำนวนครั้งละปริมาณที่กำหนดในวิธีใช้ยา
วิธีการเตรียมยา
ยาชงส่วนใหญ่เป็นการนำส่วนของสมุนไพร เช่น ใบหญ้าหนวดแมว, ใบชุมเห็ดเทศ, กลีบรองดอกของกระเจี๊ยบมาล้างให้สะอาดและผึ่งลมให้แห้ง (บางอย่างนำไปคั่วหรือย่างไฟ) เติมน้ำเดือดลงในสมุนไพรแห้งนั้น ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 5 นาทีก็ใช้ได้ อย่าทิ้งยาชงไว้นานเกินไป จะทำให้สรรพคุณ กลิ่น และรสของยาเปลี่ยนแปลง
การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า),
การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า) หรือการสะตุ หมายถึงการทำให้ตัวยานั้นๆ
มีฤทธิ์อ่อนลง หรือฆ่าพิษซึ่งเราไม่ต้องการให้อ่อนลง หรือให้เสื่อมฤทธิ์ไป เช่น
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
1. นำฝาหม้อดินตั้งบนเตาไฟ ให้ร้อนจัด เอาชาดผง
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
2. นำน้ำประสานทองมาตำให้ละเอียด แล้วโรยลงในกระทะบางๆ ให้ทั่วกระทะ จนน้ำประสานทองฟูเป็นแผ่นขาว มีลักษณะคล้ายแผ่นข้าวเกรียบ
3. ตักออกมาใส่ขวดโหลแก้ว
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
1. เอากระทะเหล็กตั้งไฟให้ร้อนจัด
2. นำสารส้มมาตำให้ละเอียด แล้วโรยลงในกระทะบางๆ ให้ทั่วกระทะ เมื่อสารส้มถูกความร้อน จะละลายเป็นน้ำเล็กน้อย และเมื่อแห้งได้ที่แล้ว ก็จะฟูเป็นแผ่นขาวขึ้นมา
3. ตักออกมาใส่ขวดโหลแก้ว ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝาขวดโหล
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
การใช้เครื่องบรรจุแคปซูล
https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/09/blog-post.html
-------------------------------------------------------------
อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ
หม้อต้มยาสมุนไพร และเฉลว
วิธีการเตรียมยาต้ม
1. น้ำและภาชนะ
น้ำที่ใช้ต้มยาควรเป็นน้ำสะอาด ใส ไม่มีกลิ่น รส ปริมาณยาโดยปกติจะใส่น้ำพอท่วมยา ภาชนะที่ใช้ต้มยาควรเป็นหม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เช่น เหล็ก เพราะจะทำให้สารแทนนินซึ่งจะมีผลต่อฤทธิ์ของยาได้
2. การเตรียมยาสมุนไพร
ยาสมุนไพรที่ใช้ต้มควรหั่นเป็นชิ้น ขนาดพอดี ถ้าเป็นแก่นก็หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าๆ กัน ถ้าเป็นใบใหญ่ เช่น ชุมเห็ดเทศ ให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ถ้าใบเล็ก เช่น ฟ้าทลายโจร กระเพรา ก็ใช้ทั้งใบขนาดไม่ควรเล็กเกินไป เพราะทำให้กรองยาต้มยากและเวลาต้มอาจจะไหม้ได้
3. การต้ม
เติมน้ำสะอาดลงในตัวยา ให้น้ำท่วมตัวยา ใช้ไฟขนาดกลางต้มให้เดือดหลังจากเดือดแล้วไฟอ่อนลง ใช้เวลาต้ม 10 – 15 นาที ต้องคอยดูแลและคนสม่ำเสมอ อย่าให้ยาไหม้ (การต้มยาไทย ส่วนใหญ่จะต้ม 3 เอา 1 คือ ใส่น้ำ 3 ส่วน ของปริมาณที่ต้องการใช้ และต้มให้เหลือ 1 ส่วน หรือต้มรับประทานจนยาจืด ไม่เกิน 7 – 10 วัน ควรอุ่น เช้า – เย็น ทุกวัน) ยาต้มควรรับประทานเวลาท้องว่าง (ก่อนอาหาร) จำนวนครั้งละปริมาณที่กำหนดในวิธีใช้ยา
ยาชง
ยาชง
ยาชง เป็นรูปแบบหนึ่งที่เตรียมง่าย ส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาสมุนไพรแห้ง และเติมน้ำร้อนเป็นตัวทำละลาย ข้ออีของยาชง คือ ดูดซึมง่าย มักมีกลิ่นหอม และรสชาติดี วิธีการเตรียมยา
ยาชงส่วนใหญ่เป็นการนำส่วนของสมุนไพร เช่น ใบหญ้าหนวดแมว, ใบชุมเห็ดเทศ, กลีบรองดอกของกระเจี๊ยบมาล้างให้สะอาดและผึ่งลมให้แห้ง (บางอย่างนำไปคั่วหรือย่างไฟ) เติมน้ำเดือดลงในสมุนไพรแห้งนั้น ทิ้งไว้ประมาณ 3 – 5 นาทีก็ใช้ได้ อย่าทิ้งยาชงไว้นานเกินไป จะทำให้สรรพคุณ กลิ่น และรสของยาเปลี่ยนแปลง
การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า),
การสะตุ
การฆ่าฤทธิ์ (การฆ่า) หรือการสะตุ หมายถึงการทำให้ตัวยานั้นๆ
มีฤทธิ์อ่อนลง หรือฆ่าพิษซึ่งเราไม่ต้องการให้อ่อนลง หรือให้เสื่อมฤทธิ์ไป เช่น
- การฆ่าฤทธิ์ชาดก้อน
- (การฆ่าชาดก้อน)
- การฆ่าฤทธิ์รงค์ทอง
- (การฆ่ารงค์ทอง)
- การฆ่าฤทธิ์ชะมดเช็ด
- (การฆ่าชะมดเช็ด)
- การสะตุน้ำประสานทอง
- การสะตุสารส้ม
- การสะตุเกลือ
(การฆ่าชาดก้อน)
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
- ชาดก้อน นำมาบดให้ละเอียด (ชาดผง)
- น้ำมะกรูด (ถ้าหาน้ำมะกรูดไม่ได้ ให้ใช้น้ำมะนาวแทน)
- ฝาหม้อดิน
- ไม้พาย (ขนาดเล็ก)
- เตาถ่าน
- ขวดโหลแก้ว
1. นำฝาหม้อดินตั้งบนเตาไฟ ให้ร้อนจัด เอาชาดผง
ใส่ในหม้อดิน พอสมควร
2. บีบน้ำมะกรูดครั้งที่ 1 ให้ชุ่มชาดผง
2. บีบน้ำมะกรูดครั้งที่ 1 ให้ชุ่มชาดผง
ตั้งไฟ คนไปเรื่อยๆ จนแห้ง ทำครบ 3 ครั้ง
ชาดผงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงอมดำ
(สีเข้มกว่าเดิม)
3. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ขูดออกจากฝาหม้อดิน
3. ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ขูดออกจากฝาหม้อดิน
เก็บใส่ไว้ในขวดโหลแก้วปิดฝา
การฆ่าฤทธิ์รงค์ทอง
การฆ่าฤทธิ์รงค์ทอง
(การฆ่ารงค์ทอง)
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
- รงค์ทอง
- น้ำมะนาว
- ใบตอง (หรืออาจใช้ใบพลู,
- ใบบัวหลวง, ใบข่า,
- อย่างใดอย่างหนึ่งแทนก็ได้)
- เตาถ่าน
- ตะแกรง
- ขวดโหลแก้ว
- นำรงค์ทองมาบดให้ละเอียด บดกับน้ำมะนาวปั้นเป็นก้อน แล้วห่อด้วยใบตอง 7 ชั้น
- นำไปปิ้งให้กรอบ
- ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ไว้ในขวดโหลปิดฝา
ใส่ลงในกระทะคั่วไฟจนกรอบ อย่าให้ไหม้ก็ใช้ได้เช่นกัน
(การฆ่าชะมดเช็ด)
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
- ชะมดเช็ด
- ใบพลูสด
- เทียนไข
- ถ้วยแก้ว
- นำชะมดเช็ดใส่ลงในใบพลูสด (ซ้อนหลายๆ ใบ)
- เอาไปลนเทียนไข จนเหลว เอียงใบพลูให้ชะมดไหลลงไปในถ้วยแก้ว
- นำมาผสมปรุงยา
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
1. เอากระทะเหล็กตั้งไฟให้ร้อนจัด
- น้ำประสานทอง
- กระทะเหล็ก
- ตะหลิว
- เตาถ่าน
- ขวดโหลแก้ว
1. เอากระทะเหล็กตั้งไฟให้ร้อนจัด
2. นำน้ำประสานทองมาตำให้ละเอียด แล้วโรยลงในกระทะบางๆ ให้ทั่วกระทะ จนน้ำประสานทองฟูเป็นแผ่นขาว มีลักษณะคล้ายแผ่นข้าวเกรียบ
3. ตักออกมาใส่ขวดโหลแก้ว
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
- สารส้ม
- กระทะเหล็ก
- ตะหลิว
- เตาถ่าน
- ขวดโหลแก้ว
1. เอากระทะเหล็กตั้งไฟให้ร้อนจัด
2. นำสารส้มมาตำให้ละเอียด แล้วโรยลงในกระทะบางๆ ให้ทั่วกระทะ เมื่อสารส้มถูกความร้อน จะละลายเป็นน้ำเล็กน้อย และเมื่อแห้งได้ที่แล้ว ก็จะฟูเป็นแผ่นขาวขึ้นมา
3. ตักออกมาใส่ขวดโหลแก้ว ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนปิดฝาขวดโหล
การสะตุเกลือ
วัตถุส่วนประกอบ และอุปกรณ์
- เกลือ
- หม้อดิน
- ทัพพี
- เตาถ่าน
- ขวดโหลแก้ว
- เอาหม้อดินตั้งไฟให้ร้อนจัด
- นำเกลือมาตำให้แหลกละเอียด แล้วเทใส่หม้อดิน ปิดฝาไว้
- เมื่อเกลือสุกและแห้งดีแล้ว ยกลงจากเตา
- ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น ตักใส่ขวดโหลแก้วปิดฝา
-------------------------------------------------------
https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/09/blog-post_14.html
เครื่องปั้นเม็ดยาลูกกลอน
https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/09/by-toptech-02-9555745.html
การสะตุดินสอพอง มหาหิงคุ์
สารส้ม เกลือ การประสะรงทอง
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม
กองประกอบโรคศิลปะ
Credit: ภาพนำมาจาก internet
ซึ่ง share กันใน Google, Face Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน
และผู้สนใจ ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง
และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ
ตรวจทานแล้ว
No comments:
Post a Comment